วันที่ 29 มีนาคม
  • เพลง We are the world เพลงเพื่อหาทุนในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในแอฟริกา ติดอันดับเพลงฮิตครั้งแรก

    เพลง We are the world เพลงเพื่อหาทุนในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในแอฟริกา ติดอันดับเพลงฮิตครั้งแรก

    23 มีนาคม พ.ศ. 2528 เพลง “We are the world” ติดอันดับเพลงฮิตครั้งแรก โดยเข้ามาในอันดับที่ 21 เพลงนี้เกิดจากการรวมตัวของศิลปินป๊อปของอเมริกา 46 คน ที่ร่วมกันร้องเพลงเพื่อหาทุนในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง ขาดแคลนอาหารในแอฟริกา โดยใช้ชื่อกลุ่ม U.S.A. for Africa และกลายเป็นเพลงที่กลายเป็นตำนานของวงการเพลงมาจนถึงปัจจุบัน โดยเพลงนี้เข้าห้องอัดเสียงเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2528 ...

    วันเกิด อากิระ คูโรซาวา (Akira Kurosawa) ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวญี่ปุ่น

    วันเกิด อากิระ คูโรซาวา (Akira Kurosawa) ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวญี่ปุ่น

    23 มีนาคม พ.ศ. 2453 วันเกิด อากิระ คูโรซาวา (Akira Kurosawa) ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวญี่ปุ่น ภาพยนตร์หลายเรื่องของคุโรซาวาขึ้นทำเนียบหนังคลาสสิคตลอดกาล อาทิเช่น Rashomon, Seven Samurai, Rhapsody in August, Throne of Blood, Dreams... IF a Work can’t have meaning to Japanese Audiences, I-as a Japanese artist-am Simply not Interested ...

    ประกาศให้อำเภอบึงกาฬเป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย

    ประกาศให้อำเภอบึงกาฬเป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย

    จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโพนพิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย...

  • เรือขนน้ำมัน แอกซอน วัลเดซ (Exxon Valdez) เกยตื้นบริเวณชายฝั่ง ปรินส์ วิลเลียม ซาวนด์

    เรือขนน้ำมัน แอกซอน วัลเดซ (Exxon Valdez) เกยตื้นบริเวณชายฝั่ง ปรินส์ วิลเลียม ซาวนด์

    24 มีนาคม พ.ศ. 2532 เรือขนน้ำมัน แอกซอน วัลเดซ (Exxon Valdez) เกยตื้นบริเวณชายฝั่ง ปรินส์ วิลเลียม ซาวนด์ ทางต้อนใต้ของอลาสกา น้ำมันประมาณ 11 ล้านแกลลอนแผ่กว้างเหนือท้องทะเล การกำจัดคราบน้ำมันประสบความล้มเหลว อีกทั้งลมและคลื่นพัดพา ส่งผลให้คราบน้ำมันกระจายกว้างกว่า 100 ไมล์ทะเล และครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งกว่า 700 ไมล์ นกและสัตว์ทะเลนับแสนตัว ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ ...

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัติประเทศไทยพร้อม ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัติประเทศไทยพร้อม ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร

    24 มีนาคม 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัติประเทศไทยพร้อม ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร พระคู่หมั้น และได้ทรงประทับบนเรือหลวงศรีอยุธยา ที่กองทัพเรือจัดถวาย เป็นเรือพระที่นั่งในคราวเสด็จพระราชดำเนิน จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นิวัติพระนคร ...

  • กษัตริย์ไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบีย ถูกลอบยิงเสียชีวิต

    กษัตริย์ไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบีย ถูกลอบยิงเสียชีวิต

    25 มีนาคม พ.ศ. 2518 กษัตริย์ไฟซาล (king Faisal bin Abd Al Aziz ค.ศ. 1906-1975) แห่งซาอุดิอาระเบีย ถูกลอบยิงเสียชีวิต ซึ่งคาดกันว่าเป็นผลมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ...

    วันเกิดของ เดวิด ลีน (David Lean) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ

    วันเกิดของ เดวิด ลีน (David Lean) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ

    25 มีนาคม 2451วันเกิดของ เดวิด ลีน (David Lean) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษที่ฝากผลงานภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ไว้หลายเรื่อง ภาพยนตร์ 2 เรื่องที่คว้าออสการ์ถึง 7 รางวัล รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและผู้กำกับยอดเยี่ยม คือ The Bridge on The River Kwai (พ.ศ. 2500) และ Lawrence of Arabia (พ.ศ. 2505) ซึ่ง 2 เรื่องนี้ถือว่าเป็นงานคลาสสิคของวงการภาพยนตร์โลก ผลงานชิ้นสุดท้ายคือเรื่อง A Passage to India (พ.ศ. 2527) เขาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง 7 ครั้ง และเป...

  • บีโทเฟน (Lidwig van Beethoven) ยอดอัจฉริยะทางดนตรีของโลกถึงแก่กรรม

    บีโทเฟน (Lidwig van Beethoven) ยอดอัจฉริยะทางดนตรีของโลกถึงแก่กรรม

    26 มีนาคม พ.ศ. 2370 บีโทเฟน (Lidwig van Beethoven ค.ศ. 1770-1827) ยอดอัจฉริยะทางดนตรีของโลกถึงแก่กรรม แม้เขาจะสูญเสียประสาทการได้ยิน (หูหนวก) เมื่อเริ่มแต่งซิมโฟนีหมายเลขสอง แต่เขาก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อีกมาก ผลงานซิโฟนีทั้งหมดของเขาเป็นผลงานที่มิอาจประเมินค่าได้ ...

  • วันเกิด ส.ศิวรักษ์ นักคิด-ปัญญาชนสยาม อดีตบรรณาธิการสำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์

    วันเกิด ส.ศิวรักษ์ นักคิด-ปัญญาชนสยาม อดีตบรรณาธิการสำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์

    27 มีนาคม พ.ศ. 2475 วันเกิด ส.ศิวรักษ์ นักคิด-ปัญญาชนสยาม เป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์ ช่วงปี พ.ศ. 2505 - 2512 ทำ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ นิตยสารรายเดือน ซึ่งถือเป็นเวทีทางปัญญาและแหล่งรวมปัญญาชนในยุคนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่ง ซึ่งท้าทายการควบคุมความเห็นและไม่สยบยอมกับอภิสิทธิ์ต่าง ๆ แม้จะเป็นของขัตติยราช ปาฐกถาพิเศษ เนื่องใน เนื่องในงานรำลึกทศวรรษพฤษภาประชาธรรม วันที่ 19 พฤษภาคม 2545 ...

  • วันเกิด แมกซิม กอร์กี้ ( Maxim gorky ค.ศ. 1868-1936 ) นักประพันธ์ชื่อดังหัวก้าวหน้าชาวรัสเซีย

    วันเกิด แมกซิม กอร์กี้ ( Maxim gorky ค.ศ. 1868-1936 ) นักประพันธ์ชื่อดังหัวก้าวหน้าชาวรัสเซีย

    28 มีนาคม พ.ศ. 2411 วันเกิด แมกซิม กอร์กี้ ( Maxim gorky ค.ศ. 1868-1936 ) นักประพันธ์ชื่อดังหัวก้าวหน้าชาวรัสเซีย ผู้สถาปนาวรรณกรรมแนวสมจริงทางสังคม ผลงานที่สร้างชื่อให้มากที่สุดคือ เรื่อง แม่ ...

    ประเทศตุรกี เปลี่ยนชื่อกรุง คอนสแตนติโนเปิล อดีตเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์และออตโตมัน เป็น อิสตันบูล

    ประเทศตุรกี เปลี่ยนชื่อกรุง คอนสแตนติโนเปิล อดีตเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์และออตโตมัน เป็น อิสตันบูล

    28 มีนาคม พ.ศ. 2473 เปลี่ยนชื่อกรุง คอนสแตนติโนเปิล อดีตเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์และออตโตมัน เป็น อิสตันบูล อันเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศตุรกี ตั้งอยู่ที่จุดใต้สุดของช่องแคบบอสพอรัส เป็นสะพานเชื่อมระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก เพราะเป็นเมืองเดียวในโลกที่ตั้งอยู่บนสองทวีปคือเอเชียและยุโรป ...

  • ร้อยโทวิลเลียม คัลเลย์ ถูกพิพากษาจากศาลทหารว่ามีความผิดในการร่วมฆาตกรรมหมู่ชาวเวียดนามใต้

    ร้อยโทวิลเลียม คัลเลย์ ถูกพิพากษาจากศาลทหารว่ามีความผิดในการร่วมฆาตกรรมหมู่ชาวเวียดนามใต้

    29 มีนาคม พ.ศ. 2514 ร้อยโทวิลเลียม คัลเลย์ (lieutenant William Calley) ถูกพิพากษาจากศาลทหารว่ามีความผิดในการร่วมฆาตกรรมหมู่ชาวเวียดนามใต้ เกือบ 500 คนที่หมู่บ้านมายลาย (My Lai) ในสงครามเวียดนาม โดยเข้าใจผิดว่าชาวบ้านในหมู่บ้านเป็นพวกเวียดกง หรือทหารของฝ่ายเวียดนามเหนือ ...

  • วันเกิดฟินเซนต์ ฟานก็อก (2396-2433) จิตรกรแนวโพสท์อิมเพรสชันนิสม์ชาวดัตช์

    วันเกิดฟินเซนต์ ฟานก็อก (2396-2433) จิตรกรแนวโพสท์อิมเพรสชันนิสม์ชาวดัตช์

    30 มีนาคม พ.ศ. 2530 วันเกิด ฟินเซนต์ ฟานก็อก หรือรู้จักในไทยในชื่อ วินเซ้นต์ แวน โก๊ะ (2396-2433) จิตรกรแนวโพสท์อิมเพรสชันนิสม์ชาวดัตช์ หนึ่งในศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 19 ผลงานสำคัญได้แก่ภาพ Sunflowers, Starry Night, Bedroom at Arles ...

  • วันเกิด ศรีบูรพา หรือในชื่อจริง กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ยุคแรกเริ่มของเมืองไทย

    วันเกิด ศรีบูรพา หรือในชื่อจริง กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ยุคแรกเริ่มของเมืองไทย

    31 มีนาคม พ.ศ. 2448 วันเกิด ศรีบูรพา หรือในชื่อจริง กุหลาบ สายประดิษฐ์ (พ.ศ. 2448-2517) นักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ยุคแรกเริ่มของเมืองไทย เจ้าของบทประพันธ์อมตะ แลไปข้างหน้า, จนกว่าเราจะพบกันอีก, ลูกผู้ชาย, สงครามชีวิตและ ข้างหลังภาพ โดยในโอกาสวาระครบ 100 ปีชาติกาล พ.ศ. 2548 ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่นของโลก ในฐานะผู้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศไทยและสร้างสันติภาพทั่วโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ...

    เหตุระเบิดโรงแรมลี การ์เด้น พลาซ่า โฮเต็ล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

    เหตุระเบิดโรงแรมลี การ์เด้น พลาซ่า โฮเต็ล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

    เมื่อเวลา13.20 น. วันที่ 31 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีการแจ้งเกิดเสียงระเบิดบริเวณภายในศูนย์การค้าโรงแรม ลี การ์เด้น พลาซ่า โฮเต็ล ใจกลางย่านธุรกิจ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าเกิดจากถังก๊าซระเบิด หรือการลอบก่อเหตุร้าย โดยขณะเกิดเหตุทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติและประชาชน ที่กำลังจับจ่ายซื้อสินค้าวิ่งหนีกันชุลมุน ทรัพย์สินมีเสื้อผ้า โทรศัพท์ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ขณะที่หน่วยกู้ซีพและพยาบาลได้ฉีดน้ำเพื่อลดควันและกลิ่นก๊าซ เพื่อรีบช่วยเหลือคนเจ็บส่ง รพ.เป็นการด่วน...

    พิธีเปิดหอไอเฟล สัญลักษณ์สำคัญของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

    พิธีเปิดหอไอเฟล สัญลักษณ์สำคัญของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

    31 มีนาคม 2432 พิธีเปิดหอไอเฟล สัญลักษณ์สำคัญของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้แสดงชั่วคราวในงานนิทรรศการปารีสและการฉลองครบรอบร้อยปีแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศส ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดย อเล็กซานเดอร์ กุสตาฟ ไอเฟล วิศวกรชาวฝรั่งเศส เมื่อสร้างเสร็จได้กลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกเป็นเวลากว่า 40 ปี ...

  • จัดตั้งกระทรวงศึกษาธิการ (เดิมคือกระทรวงธรรมการ) ทำหน้าที่บริหารงานด้านการศึกษาของชาติเป็นสำคัญ

    จัดตั้งกระทรวงศึกษาธิการ (เดิมคือกระทรวงธรรมการ) ทำหน้าที่บริหารงานด้านการศึกษาของชาติเป็นสำคัญ

    1 เมษายน พ.ศ. 2435 ตั้งกระทรวงศึกษาธิการ (เดิมคือกระทรวงธรรมการ) มีพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นเสนาบดีคนแรก ทำหน้าที่บริหารงานด้านการศึกษาของชาติเป็นสำคัญ ...

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการให้ถือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการให้ถือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่

    1 เมษายน 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการให้ถือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ จากเดิมที่เคยถือวันขึ้นปีใหม่ 2 ครั้ง คือ วันขึ้น 1 ค่ำเดือนห้า ซึ่งเป็นอิทธิพลจากลัทธิพราหมณ์ และวันสงกรานต์ อีกทั้ง ในปีนี้วันที่ 1 เมษายน (รัตนโกสินทร์ศก. 108) ก็ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือนห้าพอดี ...

    เกิด กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย

    เกิด กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย

    01 เมษายน พ.ศ. 2524 เกิด กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย โดยทหารกลุ่ม จปร.7 ก่อกบฏเพื่อยึดอำนาจ พล. อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี คณะผู้ก่อการนำโดย พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา พันเอกมนูญ รูปขจร พันเอกชูพงศ์ มัทวพันธุ์ พันเอกประจักษ์ สว่างจิตร พันเอกชาญบูรณ์ เพ็ญตระกูล พันโทพัลลภ ปิ่นมณี พันเอกสาคร กิจวิริยะ และ พันเอกแสงศักดิ์ มงคละสิริ ทั้งหมดจบจาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7 หรือรุ่นยังเติร์ก โดยจับตัวนายทหารฝ่ายตรงข้ามและออกแถลงการณ์คณะปฏิวัติ ต่า...

  • วันเกิด ฮันส์ คริสเตียน เอ็นเดอร์เซน

    วันเกิด ฮันส์ คริสเตียน เอ็นเดอร์เซน

    2 เมษายน พ.ศ. 2348 วันเกิด ฮันส์ คริสเตียน เอ็นเดอร์เซน (Hans Christian Andersen) นักเขียนชาวเดนมาร์กผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น ราชาแห่งเทพนิยาย เกิดที่เมืองโอเดนเซ (Odense) ประเทศเดนมาร์ก มีผลงานเทพนิยายมากกว่า 160 เรื่อง เขาเป็นหนึ่งในบรรดานักประพันธ์ที่ได้รับการแปลผลงานบ่อยครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์วรรณกรรม ผลงานที่ได้รับความนิยมได้แก่ ลูกเป็ดขี้เหร่ (The Ugly Duckling) เงือกน้อย (The Little Mermaid) ฉลองพระองค์ใหม่ของพระราชา (The Emperor’s New ...

    พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก

    พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก

    2 เมษายน พ.ศ. 2395 พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ตรงกับสมัย พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยทรงมีพระดำริว่าวันที่พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกนั้นเป็นมหามงคลสมัย ซึ่งประเทศทั้งปวงที่มีพระเจ้าแผ่นดินย่อมนับถือวันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล จึงได้ทรงพระราชดำริจัดการพระราชกุศลพระราชทานชื่อว่า ฉัตรมงคล นี้ขึ้น การพระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มนั้น มีสวดมนต์เลี้ยงพระ เวียนเ...

    แซมมวล มอร์ส นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันถึงแก่กรรม

    แซมมวล มอร์ส นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันถึงแก่กรรม

    2 เมษายน พ.ศ. 2415 แซมมวล มอร์ส (Samuel F.B. Morse) นักประดิษฐ์และจิตรกรชาวอเมริกัน ถึงแก่กรรมที่กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มอร์สเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องส่งสัญญาณไฟฟ้าทางไกลและคิดค้นรหัสแทนตัวหนังสือ ซึ่งต่อมาเรียกว่า รหัสมอร์ส ใช้ในการส่ง โทรเลข (Telegraph) เมื่อ 11 ปีก่อน มอร์สทราบข่าวการเสียชีวิตของภรรยาล่าช้าไปถึง 3 วัน ทำให้เขาตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องคิดค้นวิธีการสื่อสารที่รวดเร็วยิ่งกว่าจดหมายขึ้นมาให้ได้ หลังจากนั้นจึงทุ่มเทเวลาไปกับการศึกษาหาความรู้เกี่ย...

  • โยฮันเนส บราห์ม คีตกวีชาวเยอรมันถึงแก่กรรม

    โยฮันเนส บราห์ม คีตกวีชาวเยอรมันถึงแก่กรรม

    3 เมษายน พ.ศ. 2440 โยฮันเนส บราห์ม (Johannes Brahms) คีตกวีชาวเยอรมันยุคโรแมนติก ถึงแก่กรรม บราห์มเกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2376 ที่เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี เรียนดนตรีกับพ่อมาตั้งแต่เด็ก เริ่มเป็นนักดนตรีอาชีพในผับตั้งแต่อายุ 13 ปี ในปี 2405 เดินทางไปกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ผู้คนเริ่มเห็นฝีมือของเขาและยกย่องให้เป็น “ทายาททางดนตรีของบีโธเฟน” เขาแต่งซิมโฟนีบทแรกสำเร็จในปี 2419 และได้รับการขนานนามว่า “ซิมโฟนีบทที่ 10 ของบีโธ...

    วันเกิด วอชิงตัน เออร์วิง นักเขียนชาวอเมริกัน

    วันเกิด วอชิงตัน เออร์วิง นักเขียนชาวอเมริกัน

    3 เมษายน พ.ศ. 2326 วันเกิด วอชิงตัน เออร์วิง (Washington Irving) นักเขียนชาวอเมริกัน เกิดที่แมนฮัตตัน สหรัฐอเมริกา เรียนจบทางด้านกฎหมาย จากนั้นได้เดินทางไปในยุโรปหลายประเทศ และใช้ชีวิตในยุโรปอยู่หลายปี เขาจึงสามารถพูดได้หลายภาษา เช่น เยอรมัน ดัตช์ สเปน ฝรั่งเศส เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสเปนอยู่ช่วงหนึ่ง ในช่วงที่เดินทางท่องเที่ยวแถบยุโยปนี้เองที่กลายเป็นวัตถุดิบให้งานเขียนจำนวนมากของเขา งานหลายชิ้นเขาเขียนต้นฉบับที่ยุโรปแล้วส่งไปพิมพ์ที่อเมริก...

    โทรศัพท์มือถือเครื่องแรกถูกผลิตขึ้น

    โทรศัพท์มือถือเครื่องแรกถูกผลิตขึ้น

    3 เมษายน พ.ศ. 2516 โทรศัพท์มือถือ (mobile or cell phone) เครื่องแรกถูกผลิตขึ้น โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท โมโตโตลา (Motorola) คูเปอร์ก็ได้ทดลองใช้โทรศัพท์มือถือโมโตโรลา DynaTAC ซึ่งเป็นต้นแบบ โทรไปหา โจเอล เอ็งเจล (Joel Engel) หัวหน้านักวิจัยของบริษัท AT&T และ Bell Labs ก่อนที่โทรศัพท์มือถือ Motorola DynaTAC 8000X จะออกวางจำหน่ายในปี 2526 ไดนาแทคของคูเปอร์จึงเป็นโทรศัพท์มือถือที่ปฏิวัติโลกแห่งการสื่อสารในยุคนั้น ...

  • ฟรานซิส เดรก เดินทางรอบโลกสำเร็จเป็นคนแรก

    ฟรานซิส เดรก เดินทางรอบโลกสำเร็จเป็นคนแรก

    4 เมษายน พ.ศ. 2124 ฟรานซิส เดรก (Sir Francis Drake) เป็นนักเดินเรือชาวอังกฤษคนแรกที่เดินทางรอบโลกสำเร็จ เขาออกจากท่าเรือในอังกฤษด้วยเรือ โกลเดนไฮนด์ (Goldenhinde) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2120 เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ผ่านช่องแคบแมกเจลัน ผ่านแหลมกูดโฮป เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2123 แล้วผ่านเกาะเปลิวกลับสู่อังกฤษ โดยใช้เวลาถึง 3 ปีในการเดินทางรอบโลก ตอนแรกออกเดินทางพร้อมกับกองเรือของอังกฤษอีก 5 ลำแต่ถูกพายุเสียหายเหลือเพียงเรือโกลเดนไฮน์กลับมาเพียงลำเดียว ปีต่อมา...

    คณะรัฐมนตรีมีมติระงับการสร้างเขื่อนน้ำโจน

    คณะรัฐมนตรีมีมติระงับการสร้างเขื่อนน้ำโจน

    4 เมษายน พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรี มีมติระงับการสร้าง เขื่อนน้ำโจน ซึ่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ในสมัยนั้น) ได้พยายามผลักดันให้มีการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าปิดกั้นลำน้ำแควตอนบน บริเวณเขาน้ำโจน เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ. กาญจนบุรี โดยฝ่ายนักอนุรักษ์คนสำคัญ เช่น สืบ นาคะเสถียร หมอบุญส่ง เลขะกุล ได้เข้าคัดค้านอย่างเต็มที่ เนื่องจากการสร้างเขื่อนจะทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 85,625 ไร่ ที่ระดับความสูง 370 ม. น้ำจะท่วมใจกลางป่าทุ่งใหญ่ฯ เป็นพื้นที...

    วันก่อตั้ง องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)

    วันก่อตั้ง องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)

    4 เมษายน พ.ศ. 2492 วันก่อตั้ง องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต (North Atlantic Treaty Organisation - NATO) โดยการรวมตัวกันของประเทศต่าง ๆ 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอรเวย์ และโปรตุเกส ร่วมกันลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (the North Atlantic Treaty) ก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่...

  • เครื่องบิน มิก 1 (MIG 1) ลำแรกทะยานขึ้นสู้ท้องฟ้ารัสเซีย

    เครื่องบิน มิก 1 (MIG 1) ลำแรกทะยานขึ้นสู้ท้องฟ้ารัสเซีย

    5 เมษายน พ.ศ. 2483 เครื่องบิน มิก 1 (MIG 1) ลำแรกทะยานขึ้นสู้ท้องฟ้ารัสเซีย เครื่องบินมิกเป็นเครื่องบินรบความเร็วสูงผลิตโดยบริษัท มิโคยัน กูเรวิช (Mikoyan-Gurevich) บริษัทผลิตเครื่องบินในประเทศรัศเสีย ผลิตเพื่อใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ออกแบบโดย นิโคไล นิโคเลวิช โพลิคาร์พอฟ ( Nikolai Nikolaevich Polikarpov) สามรถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 657 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต่อมาได้มีการปรับปรุงเรื่องการควบคุมบังคับและออกแบบใหม่เป็นรุ่น มิก 3 มิก 5 และมิก 7 ตามลำดับ ปัจจุบัน...

    เจียง ไคเช็ค นักการเมืองจีน เสียชีวิต

    เจียง ไคเช็ค นักการเมืองจีน เสียชีวิต

    5 เมษายน 2518 เจียง ไคเช็ค (Chiang Kai-shek) เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย เจียง ไคเช็คเป็นนักการเมืองจีนและผู้ก่อตั้ง ประเทศไต้หวัน เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2430 ที่มณฑลซีเจียง (Zhejiang) จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยของญี่ปุ่น กลับมาเมืองจีนในปี 2454 เป็นหัวหน้าพรรค ก๊กมินตั๋ง (Kuomintang-KMT) หลังจาก ซุน ยัตเซน (Sun Yat-sen) เสียชีวิต เขาเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งทำการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) แล้วก้าวขึ้นเป็นผู้นำรัฐบาลแห่งชาติของประเทศ สาธารณรั...

    เคิร์ธ โคเบน นักร้องนำวง เนอร์วานา ฆ่าตัวตาย

    เคิร์ธ โคเบน นักร้องนำวง เนอร์วานา ฆ่าตัวตาย

    5 เมษายน พ.ศ. 2537 เคิร์ธ โคเบน (Kurt Donald Cobain) มือกีตาร์และนักร้องนำวง เนอร์วานา (Nirvana) ยิงตัวตายที่บ้านในซีแอทเทิร์น รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เคิร์ทเกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2510 ที่วอชิงตัน เขาเริ่มร้องเพลงของบีทเทิลส์ตั้งแต่ 2 ขวบ เขาได้กีตาร์ตัวแรกตอนอายุ 14 และโปรดปรานเพลงพังค์ร็อค (Punk Rock) หลังจากที่พ่อแม่หย่าร้างกันตอนเขา 7 ขวบ ภายหลังเขาเริ่มเป็นคนเก็บตัวและต่อต้านสังคม เขาเริ่มเสพยาตอนอยู่ไฮสคูลจนต้องลาออกในที่สุด ปี 2530 เขาตั้งวงเนอร์...

  • การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ครั้งแรก

    การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ครั้งแรก

    6 เมษายน พ.ศ. 2439 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ (Olympic Games) เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกที่ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยมีนักกีฬาคนสำคัญของฝรั่งเศสชื่อ บารอน ปิแอร์ เดอ คูเบอร์แตง (Baron Pierre de Coubertin) เป็นผู้ริเริ่มและชักชวนหลายประเทศตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ซึ่งจัดขึ้น 4 ปีต่อ 1 ครั้ง โดยให้ประเทศสมาชิกหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกิดขึ้นเมื่อกว่า 1,200 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคแรก ๆ นักกีฬาจะต้องเปลือยกายเข้าแข่งขัน เพื่อประกว...

    วันเกิด ฮาโรลด์ เอ็ดเกอร์ตัน นักประดิษฐ์อเมริกัน

    วันเกิด ฮาโรลด์ เอ็ดเกอร์ตัน นักประดิษฐ์อเมริกัน

    6 เมษายน พ.ศ. 2447 วันเกิด ฮาโรลด์ ยูจีน เอ็ดเกอร์ตัน (Harold Eugene Edgerton) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ถ่ายภาพความเร็วสูงหรือ สโตรโบสโคป (stroboscope) เกิดที่รัฐเนบราสกา สหรัฐอเมริกา เขาเริ่มฉายแววนักประดิษฐ์ตั้งแต่เด็ก ๆ เขาจบปริญญาโทจากคณะวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Massachusetts Institute of Technology : MIT และเข้าเป็นอาจารย์ที่นี่ ระหว่างที่เขากำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดยการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าไปใน...

    โรเบิร์ต เพียรี เดินทางถึงขั้วโลกเหนือเป็นคนแรก

    โรเบิร์ต เพียรี เดินทางถึงขั้วโลกเหนือเป็นคนแรก

    6 เมษายน พ.ศ. 2452 โรเบิร์ต เพียรี (Robert Edwin Peary) นักสำรวจชาวอเมริกัน เป็นคนแรกที่เดินทางไปถึง ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เพียรีเกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2399 ที่รัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา เข้าเป็นนาวิกโยธินสหรัฐในปี 2424 ระหว่างปี 2429-2434 เขาเคยสำรวจทวีปอาร์คติก (Arctic) บริเวณเกาะกรีนแลนด์ เขาได้เรียนรู้เทคนิคการดำรงชีพอยู่ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นในทวีปน้ำเข็งจากชาวเผ่าอินนุยท์ (Inuit) ในปี 2441-2448 เขาเริ่มออกสำรวจขั้วโลกเหนือแต่ไม่สำเร็จ และวันที...

  • วันเกิด บิลลี ฮอลิเดย์ นักร้องเพลงแจ๊ซ

    วันเกิด บิลลี ฮอลิเดย์ นักร้องเพลงแจ๊ซ

    7 เมษายน พ.ศ. 2458 วันเกิด บิลลี ฮอลิเดย์ หรือ เลดี เดย์ (Billie Holiday or Lady Day) นักร้องที่เป็นตำนานหนึ่งในโลกของแจ๊ซ เกิดที่เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา เดิมชื่อว่า อิเลนอรา แฮร์ริส (Eleanora Harris) ชีวิตของเธอมีสีสันหวือหวา สลับซับซ้อนสมกับเป็นหนึ่งในตำนานอมตะของแจ๊ซ เธอเติบโตมาท่ามกลางความอัตคัดขัดสน แม่ท้องตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น พ่อทิ้งครอบครัวไปตั้งแต่เธอยังเล็ก ตอนอายุ 11 เธอถูกข่มขืน จากนั้นชีวิตวัยรุ่นของเธอก็มืดหม่นอยู่ในซองโสเภณี หลังจากได้ฟ...

    วันเกิด วิลเลียม เวิร์ดสเวิร์ธ กวีชาวอังกฤษ

    วันเกิด วิลเลียม เวิร์ดสเวิร์ธ กวีชาวอังกฤษ

    7 เมษายน พ.ศ. 2313 วันเกิด วิลเลียม เวิร์ดสเวิร์ธ (William Wordsworth) กวีแนวโรแมนติกผู้ยิ่งใหญ่ชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองคัมเบอร์แลนด์ (Cumberland) ประเทศอังกฤษ เข้าเรียนที่วิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (St John’s College, Cambridge) ระหว่างนั้นได้เข้าร่วมการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อเรียนจบจึงเดินทางไปท่องเที่ยวฝรั่งเศสและอิตาลี ผลงานบทกวีเล่มแรกคือ An Evening Walk และ Descriptive Sketches ตีพิมพ์ในปี 2336 บทกวีของเขามักได้แรงบันดาลใจจากความงดง...

    รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก

    รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก

    7 เมษายน พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เพื่อทอดพระเนตรการปกครองของอารยะประเทศ รวมเวลา 7 เดือน พระองค์ได้ทรงเห็นบ้านเมืองที่มีการพัฒนาแล้ว รวมไปถึงระบบการคมนาคมขนส่ง ถนนหนทางที่สวยงามสะดวกสะบาย หลังจากเสด็จกลับจากถึงสยาม จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัยเทียมเท่าต่างประเทศ ...

  • กรมยุทธนาธิการ ถูกจัดตั้งขึ้น

    กรมยุทธนาธิการ ถูกจัดตั้งขึ้น

    8 เมษายน พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ จัดตั้ง กรมยุทธนาธิการ ขึ้น โดยรวมกิจการ ทหารบก และ ทหารเรือ ไว้ด้วยกันเพื่อจัดกำลังทหารให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ มีประสิทธิภาพ และให้หน่วยทหารต่าง ๆ ในกรมทหารมหาดเล็ก ไปขึ้นตรงกับกรมยุทธนาธิการ โดยมี สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ เป็นเสนาบดีและต่อมาได้ยกฐานะเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ เมื่อ 1 เมษายน 2433 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงกลาโหม (Mini...

    ปาโบล ปิกัสโซ ศิลปินเอกของโลกถึงแก่กรรม

    ปาโบล ปิกัสโซ ศิลปินเอกของโลกถึงแก่กรรม

    8 เมษายน พ.ศ. 2516 ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Ruiz Picasso) ศิลปินเอกของโลกชาวสเปน ถึงแก่กรรม ปิกัสโซเกิดที่เมืองมาลากา (Malaga) ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2424 พ่อเป็นอาจารย์สอนศิลปะในมหาวิทยาลัย เขาเริ่มฉายแววศิลปินอัจฉริยะตั้งแต่เด็ก ด้วยการเปล่งเสียงคำแรกที่พูดได้คือ ‘piz (คำย่อของ Lapiz) ซึ่งแปลว่า ดินสอ จากนั้นพ่อของเขาก็เริ่มสอนศิลปะให้ ปี 2443 เขาเดินทางไปปารีส เมืองหลวงของศิลปะในสมัยนั้น ปีแรก ๆ เขาต้องทำงานหนักและอยู่อย่างลำบาก หลายครั้ง...

    สะพานมิตรภาพไทย-ลาว เปิดใช้อย่างเป็นทางการ

    สะพานมิตรภาพไทย-ลาว เปิดใช้อย่างเป็นทางการ

    8 เมษายน พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นประธานร่วมในพิธีเปิด สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมระหว่าง อ.เมืองหนองคายกับนครเวียงจันทน์ สะพานแห่งนี้ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 30 ปี สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของ 4 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ลาว และไทย ตัวสะพานมีความยาว 1.20 กิโลเมตร กว้าง 15 เมตร มีช่องสำหรับเดินรถ 2 ช่องทาง ซึ่งตรงช่วงกลางสะพานออกแบบไว้สำหรับสร้างทางรถไฟ เชิงสะพานมีด่านตรวจคนเข้าเมืองสะพานแห่งนี้ได้ช่วยสร้างความสั...

  • กรมทหารอากาศ ยกฐานะเป็น กองทัพอากาศ

    กรมทหารอากาศ ยกฐานะเป็น กองทัพอากาศ

    9 เมษายน พ.ศ. 2480 กรมทหารอากาศ ยกฐานะขึ้นเป็น กองทัพอากาศ ขึ้นกับ กระทรวงกลาโหม โดยมี นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก กิจการบินของไทยเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ในปี 2454 เมื่อ ชารลส์ แวน เด็น บอร์น (Charles Van Den Born) นักบินชาวเบลเยียมได้นำเครื่องบินมาแสดงในประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่สนามม้าสระปทุม จากนั้นกระทรวงกลาโหมได้ตั้ง แผนกการบิน ขึ้นในกองทัพบก พร้อมทั้งได้คัดเลือกนายทหารบก 3 คนไปศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส ปี 245...

    แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ สถาปนิกชาวอเมริกัน ถึงแก่กรรม

    แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ สถาปนิกชาวอเมริกัน ถึงแก่กรรม

    9 เมษายน พ.ศ. 2502 แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ (Frank Lloyd Wright) ถึงแก่กรรม ไรท์เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2410 ที่เมืองริชแลนด์ เซนเตอร์ รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา เข้าเรียนวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แต่เรียนได้แค่ 2 ปีก็ลาออกไปทำงานด้านสถาปัตยกรรม เขาออกแบบบ้านตามแนวคิด Prairie Houses ซึ่งหมายถึง อาคารคือสิ่งมีชีวิตที่งอกขึ้นจากผืนดิน แทนที่จะเป็นเพียงอาคารที่วางตั้งอยู่อย่างแปลกแยกกับธรรมชาติ ผลงานที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคือการออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่...

    เครื่องบิน โบอิง 737 ออกบินครั้งแรก

    เครื่องบิน โบอิง 737 ออกบินครั้งแรก

    9 เมษายน พ.ศ. 2510 เครื่องบิน โบอิง 737 (Boeing 737) เริ่มออกบินเป็นครั้งแรก โบอิง 737 ผลิตโดย บริษัท Boeing Commercial Airplanes ประเทศสหรัฐอเมริกา ปีต่อมาก็เริ่มออกให้บริการโดยสายการบิน Lufthansa ประเทศเยอรมนี โบอิง 737 จัดเป็นเครื่องบินลำตัวแคบ (Narrow-body aircraft) คือมีที่นั่งแถวละ 6 คน ใช้เครื่องยนต์ไอพ่น (Jet engine) 2 เครื่อง รุ่นแรกจุผู้โดยสารได้ 118 คน ลำตัวยาว 28.6 ม. ปีกยาว 28.3 ม. สูง 11.3 ม. นักหนัก 28.120 กก. เพดานบินสูงสุดที่ 35,000 ฟุต ทำค...

  • วันเกิด โจเซฟ พูลิตเซอร์ นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกัน

    วันเกิด โจเซฟ พูลิตเซอร์ นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกัน

    10 เมษายน พ.ศ. 2390 วันเกิด โจเซฟ พูลิตเซอร์ (Joseph Pulitzer) นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังกาเรียน ผู้ก่อตั้งรางวัล พูลิทเซอร์ (Pulitzer Prizes) เกิดที่ประเทศฮังการี ย้ายมาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2407 เคยเข้าเป็นทหารในช่วงสงครามกลางเมือง จากนั้นเขาเป็นทนายความและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เริ่มออกหนังสือพิมพ์ St. Louis Post-Dispatch ในปี 2421 อีก 4 ปีต่อมาได้ซื้อกิจการหนังสือพิมพ์ New York World เขาเป็นผู้ปฏิวัติวงการข่าวอเมริกัน โดยทำให้การเสนอข่าวส...

    เดอะ บีทเทิลส์ แถลงข่าววงแตกอย่างเป็นทางการ

    เดอะ บีทเทิลส์ แถลงข่าววงแตกอย่างเป็นทางการ

    10 เมษายน พ.ศ. 2513 พอล แม็คคาร์ทนีย์ (Paul McCartney) ออกแถลงข่าวว่า เดอะ บีทเทิลส์วงแตก อย่างเป็นทางการ เดอะ บีทเทิลส์ (The Beatles) เริ่มโด่งดังไปทั่วโลกในยุคต้นคริสตศตวรรษ 60 จากนั้นดนตรีของพวกเขาก็เริ่มเปลี่ยนไปตามอิทธิพลของเสรีภาพในยุค บุปผาชน ช่วงหลังพวกเขาก็เริ่มทดลองแนวทางดนตรีใหม่ ๆ ซึ่งปรากฏในผลงานชุด Sgt Pepper’s Lonely Hearts Club Band เมื่อปี 2510 จากนั้นเดอะ บีทเทิลส์ก็เริ่มเข้าสู่ยุคเสื่อมเมื่อ สมาชิกในวงเริ่มมีความขัดแย้งกันโดยเฉพ...

    มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ ทรงอภิเษกสมรส

    มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ ทรงอภิเษกสมรส

    10 เมษายน พ.ศ. 2502 มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ (Prince Akihito) ทรงอภิเษกสมรสกับ นางสาวมิชิโกะ โชะดะ (Michiko Shoda) นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่พระราชวงศ์แต่งงานกับสามัญชน ภายหลังนางสาวมิชิโกะได้รับโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็น เจ้าหญิงมิชิโกะ เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ (Emperor Hirohito) พระบิดาเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2532 เจ้าฟ้าชายอะกิฮิโตะ ก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 125 ของญี่ปุ่น พระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ (His ...

  • วันประสูติ ม.จ. สิทธิพร กฤดากร บิดาเกษตรแผนใหม่

    วันประสูติ ม.จ. สิทธิพร กฤดากร บิดาเกษตรแผนใหม่

    11 เมษายน พ.ศ. 2426 วันประสูติ ม.จ. สิทธิพร กฤดากร เชื้อพระวงศ์ผู้ละทิ้งลาภยศและตำแหน่งการงานอันรุ่งโรจไปเป็นกสิกร ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 4 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ กับหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา ประสูตรที่กรุงเทพฯ เรียนหนังสือที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ทรงพระเยาว์แล้วศึกษาต่อด้านวิศวกรรมเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้นกลับเมืองไทยมารับราชการตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นอธิบดีกรมฝิ่นในกระ...

    พิธีเปิดการเดินรถไฟสายแรกของสยาม

    พิธีเปิดการเดินรถไฟสายแรกของสยาม

    11 เมษายน พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงทำพิธีเปิดการเดินรถไฟสายแรกของสยาม คือ รถไฟสายปากน้ำ จากกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ ระยะทาง 21 กิโลเมตร โดยรัฐบาลได้อนุมัติสัมปทานก่อสร้างและดำเนินกิจการโดย บริษัทรถไฟปากน้ำ ของชาวเดนมาร์ก มีสัญญาสัมปทาน 50 ปี เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2434 แล้วเสร็จในปี 2436 ค่ารถไฟในสมัยนั้น ไปกลับ 1 บาท มี 10 สถานี สถานีละ 1 เฟื้อง สถานีต้นทางคือสถานีหัวลำโพง รถจะหยุดรับส่งค...

    ยานอะพอลโล 13 ออกเดินทางไปดวงจันทร์

    ยานอะพอลโล 13 ออกเดินทางไปดวงจันทร์

    11 เมษายน พ.ศ. 2513 ยานอะพอลโล 13 (Apollo 13) ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา เดินทางไปปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ โดยมีลูกเรือ 3 คนได้แก่ เจมส์ โลเวลล์ (James A Lovell) จอห์น สวิกเกิร์ต (John L Swigert) และ เฟรด ไฮส์ (Fred W Haise) อีกสองวันต่อมา ก่อนที่จะเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ พวกเขาต้องเผชิญสถานการณ์เฉียดตายในอวกาศ เมื่อถังออกซิเจนในยานบัญชาการเกิดระเบิด ทำให้ไม่สามารถนำยานอวกาศลงดวงจันทร์ได้ตามแผน พวกเขาต้องประคองยานที่อยู่ในสภาพเสียหายโคจรรอบดวงจันทร์เป็นเ...

  • นายปรีดี พนมยงค์ ถูกบังคับให้ออกจากประเทศ

    นายปรีดี พนมยงค์ ถูกบังคับให้ออกจากประเทศ

    12 เมษายน พ.ศ. 2476 นายปรีดี พนมยงค์ ถูกบังคับให้เดินทางออกจากประเทศไทยในข้อกล่าวหาว่าเป็น คอมมิวนิสต์ หลังจากที่เป็นหนึ่งในคณะราษฎรทำการอภิวัฒน์การปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นายปรีดีได้รับเลือกเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้รับมอบหมายให้ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ ซึ่งนายปรีดีได้ร่างเค้าโครงฯ แบบสหกรณ์เต็มรูปแบบ แต่ไม่ทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน โดยให้รัฐซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมด้วยพันธบัตร และยังได้วางหลักการประกันสังคม คือให้การประกันแก่ราษฎรตั...

    แฟรงคลิน รูสเวลต์ เสียชีวิต

    แฟรงคลิน รูสเวลต์ เสียชีวิต

    12 เมษายน พ.ศ. 2488 แฟรงคลิน รูสเวลต์ (Franklin Delano Roosevelt) ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง รูสเวลต์เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2445 ในครอบครัวชนชั้นผู้ดีที่กรุงนิวยอร์ก มีญาติเป็นประธานาธิบดีคนที่ 26 ของอเมริกาคือ Theodore Roosevelt ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ส่งให้เขาได้เป็นประธานาธิบดีในเวลาต่อมา รูสเวลต์เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม 2476 ไปจนถึงเดือนเมษายน 2488 นับเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด และเป็นประธานา...

    ยูริ กาการิน นักบินอวกาศชาวรัสเซียโคจรรอบโลกสำเร็จ

    ยูริ กาการิน นักบินอวกาศชาวรัสเซียโคจรรอบโลกสำเร็จ

    12 เมษายน พ.ศ. 2504 ยูริ กาการิน (Yuri Alekseyevich Gagarin) เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลกชาวรัสเซียออกเดินทางสู่อวกาศ และโคจรรอบโลกสำเร็จใช้เวลา 108 นาที โดยเดินทางไปกับยาน วอสทอก 1 (Vostok 1) เขากลับลงมายังพื้นโลกอย่างปลอดภัยและได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษของสหภาพโซเวียต และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก รัฐบาลโซเวียตก็ได้เปลี่ยนชื่อเมืองกซาทสค์ (Gzhatsk) บ้านเกิดของเขาเป็น “กาการิน” และมีการสร้างอนุสรณ์สถานอีกลายแห่งทั่วประเทศเพื่อเป็นเกียรติแก่...

  • วันเกิด โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)

    วันเกิด โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)

    13 เมษายน พ.ศ. 2286 วันเกิด โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ประธานาธิบดีคนที่ 3 แห่งสหรัฐอเมริกา เกิดที่รัฐเวอร์จิเนีย สนใจวิชาคณิตศาสตร์และปรัชญาเป็นพิเศษ โดยเฉพาะของ จอห์น ล็อค (John Locke) ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) และไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) จากนั้นก็เรียนต่อกฎหมาย จบแล้วทำงานเป็นทนายความ ต่อมาได้รับเลือกให้ได้เข้าเป็นสมาชิกของสภานิติบัญญัติของรัฐเวอร์จิเนีย ในช่วงนั้นประเทศสหรัฐอเมริกามีความขัดแย้งกับประเทศอังกฤษ เขาได้เขียนบทความเกี่ยว...

    การประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ

    การประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ

    13 เมษายน พ.ศ. 2525 การประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ (World Assembly on Aging) ถูกจัดขึ้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้ 3 ประการ คือ ด้านมนุษยธรรม ด้านการพัฒนา และด้านการศึกษา และได้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเป็นผู้สูงอายุ (Elderly) ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก จากนั้นคณะรัฐมนตรีได้ลงมติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมปีเดียวกัน อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปีเป็น วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ...

    รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองมหาสวัสดิ์ขึ้น

    รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองมหาสวัสดิ์ขึ้น

    13 เมษายน พ.ศ. 2402 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุด คลองมหาสวัสดิ์ ขึ้น เพื่อเชื่อมระหว่างแม่น้ำนครชัยศรีกับแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ และเป็นเส้นทางคมนาคม โดยให้ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำบุนนาค) และ พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุด เริ่มลงมือเมื่อวันที่ 13 กันยายนปีเดียวกัน เสร็จเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม รวมเป็นเงินค่าแรงทั้งสิ้น 1,101 ชั่ง 10 ตำลึง คลองม...

  • โรงงานผลิตรถยนต์ วอลโว่ ก่อตั้งขึ้น

    โรงงานผลิตรถยนต์ วอลโว่ ก่อตั้งขึ้น

    14 เมษายน พ.ศ. 2470 โรงงานผลิตรถยนต์ วอลโว่ (Volvo) ก่อตั้งขึ้นที่เมืองกูเตนเบิร์ก ประเทศสวีเดน โดย แอสซาร์ การ์เบรียลส์สัน (Assar Gabrielsson) และ กุสตาฟ ลาร์สัน (Gustav Larson) ได้จดทะเบียนบริษัท AB Volvo ในปี 2454 โดยแยกตัวจากิจการผลิตลูกปืน (Bearing) ญี่ห้อ SKF บริษัทวอลโว่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2469 แล้วจึงเริ่มสร้างโรงงานในวันที่ 14 เมษายน 2470 พร้อมกับเปิดตัวรถยนต์วอลโว่รุ่นแรก Volvo OV 4 อย่างเป็นทางการ วอลโว่ผลิตทั้งรถยนต์ รถบรรทุก ...

  • วันเกิด ลีโอนาร์โด ดา วินชี

    วันเกิด ลีโอนาร์โด ดา วินชี

    วันเกิด ลีโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) (พ.ศ. 1995-2062) ชาวอิตาลี ผู้ได้รับฉายาว่า ผู้รอบรู้จักรวาล (universal man) เพราะเป็นผู้ที่มีความชำนาญหลายด้าน เป็นทั้งจิตรกรเอก ประติมากร นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ รอบรู้เรื่องกายวิภาคศาสตร์ สถาปัตยกรรม ดาราศาสตร์ พฤกษศาสตร์ เจ้าของภาพที่ยิ่งใหญ่ของโลกชื่อ อาหารเย็นมื้อสุดท้าย (The Last Supper) และ โมนาลิซ่า ...

วันนี้ในอดีตปีอื่นๆ