ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ลักษณะของตลาดและพัฒนาการ, ลักษณะของตลาดและพัฒนาการ หมายถึง, ลักษณะของตลาดและพัฒนาการ คือ, ลักษณะของตลาดและพัฒนาการ ความหมาย, ลักษณะของตลาดและพัฒนาการ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ลักษณะของตลาดและพัฒนาการ

           เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ประเทศไทยได้รับการพัฒนาและปรับปรุงประเทศหลายด้าน เพื่อให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ การซ่อมแซมและตัดถนนใหม่ทั้งในและนอกเขตพระนครก็เป็นเรื่องที่รัฐให้ความสำคัญเช่นกัน อาคารร้านค้าของเอกชน ที่เกิดขึ้นใหม่ตามสองฟากถนนต้องสร้างขึ้น ตามรูปแบบที่ราชการกำหนด โดยพระราชทานเงินทุนพระคลังข้างที่ให้เป็นค่าก่อสร้างก่อน และทางราชการจะเก็บเงินค่าเช่าไปจนกว่าจะครบเงินทุน โดยไม่คิดกำไรและดอกเบี้ย เมื่อครบทุนแล้วจึงคืนสิทธิให้แก่เจ้าของเดิม ถนนที่มีอาคารร้านค้าเช่นนี้ ได้แก่ ถนนราชดำเนินใน ราชดำเนินกลาง ราชดำเนินนอก สามเสน ราชวิถี มหาไชย มหาราช ดินสอ อุณากรรณ จักรเพชร ตรีเพชร ตีทอง พาหุรัด ราชวงศ์ ทรงวาด ข้าวสาร ตะนาว

          อาจกล่าวได้ว่า นับตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา สังคมไทยเกิดชุมชนที่เป็นย่านตลาดถาวรตามที่ต่างๆ ในระดับอำเภอเกือบทั่วประเทศ ชุมชนที่เป็นย่านตลาดมีผู้คนหลากหลายอาชีพมารวมกัน กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการคมนาคม สินค้าที่นำมาขายจึงไม่เพียงแต่เป็นของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงของสวยงามซึ่งไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอีกด้วย
   
          นับจากช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา บ้านเมืองมีความเจริญขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ตลาดและย่านการค้าใหม่ๆ เกิดขึ้นตามเส้นทางคมนาคมทางบกเป็นหลัก และพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม

          ปัจจุบัน เมืองและชุมชนมีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ไม่ว่าจะเป็นวิถีการดำเนินชีวิต ลักษณะของอาคารบ้านเรือน วิธีการผลิต การขายสินค้า ส่งผลให้ตลาดมีลักษณะรูปแบบต่างๆ กัน เริ่มจากตลาดสดขนาดเล็กๆ ในหมู่บ้าน มาเป็นตลาดระดับกลางหรือตลาดระดับชุมชนริมถนนสายสำคัญๆ ที่มีกิจการต่างๆ มากขึ้น คือ ประกอบด้วยอาคารตลาดสด ตึกแถว อาคารพาณิชย์ และหาบเร่แผงลอย สินค้าและการบริการก็มีหลากหลายมากขึ้น ตลาดในลักษณะนี้ ได้แก่ ตลาดพงษ์เพชร ตลาดบางกะปิ ตลาดสะพานควาย ตลาดคลองเตย เป็นต้น

          ตลาดที่มีขนาดใหญ่กว่าตลาด ๒ แบบ ข้างต้นคือ ตลาดระดับ ๔ มุมเมือง หมายถึง ตลาดที่เป็นศูนย์กลางของพื้นที่เมืองใหญ่ เช่น ที่รังสิต จังหวัดปทุมธานี ที่มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ตลาดสี่มุมเมืองนี้มิได้หมายความว่ามีตลาดอยู่ทั้ง ๔ ทิศของเมือง แต่มีนัยว่าเป็นตลาดที่แบ่งเป็นส่วนๆ เป็นทิศเป็นทางกันได้ มักประกอบด้วยตลาดสดหลายๆ ตลาด ตึกแถวอาคารพาณิชย์นับเป็นร้อยๆ ห้อง ตลอดจนหาบเร่แผงลอยจำนวนมาก การค้าขายและการบริการมีตลอดทั้งวันในระดับที่มากกว่าตลาดระดับกลาง

ลักษณะของตลาดและพัฒนาการ, ลักษณะของตลาดและพัฒนาการ หมายถึง, ลักษณะของตลาดและพัฒนาการ คือ, ลักษณะของตลาดและพัฒนาการ ความหมาย, ลักษณะของตลาดและพัฒนาการ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu