ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง, ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง หมายถึง, ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง คือ, ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง ความหมาย, ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง

          มันสำปะหลังมีชื่อเรียกทั่วไปในภาษาอังกฤษว่า แคสซาวา (Cassava)  หรือทาพิโอกา  (Tapioca)ประเทศแถบทวีปอเมริกาใต้ใช้ภาษาสเปนเรียกว่ายูกา (Yuca)  ภาษาโปรตุเกสในประเทศบราซิลเรียกว่า  แมนดิโอกา (Mandioca)  แถบประเทศในทวีปแอฟริกาที่พูดภาษาฝรั่งเศส เรียกว่า แมนิออก (Manioc) และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แมนนิฮอท เอสคูเล็นตา  แครนทซ์ (Manihot esculenta Crantz)
          การจัดลำดับทางพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง มีดังนี้
          วงศ์ (Family) Euphorbiaceae (ซึ่งรวมถึงยางพาราและละหุ่ง)
          สกุล (Genus) Manihot
          ชนิด (Species) esculenta

          ลำต้นมีลักษณะคล้ายข้อ เพราะจากก้านใบซึ่งแก่ร่วงหล่นไป  สีของลำต้นบริเวณใกล้ยอดจะมีสีเขียว  ส่วนที่ต่ำลงมาจะมีสีแตกต่างกันไปตามลักษณะพันธุ์ เช่น  สีเงิน สีเหลือง สีน้ำตาล ใบมีก้านใบยาวติดกับลำต้น แผ่นใบเว้าเป็นแฉกมี ๓-๙ แฉก มันสำปะหลังมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน  แต่อยู่แยกคนละดอก  ดอกตัวผู้มีขนาดเล็กอยู่บริเวณส่วนปลายของช่อดอก ส่วนดอก ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าอยู่บริเวณส่วนโคนของช่อดอก  ดอกตัวเมียจะบานก่อนดอกตัวผู้ประมาณ  ๑ อาทิตย์ การผสมเกสรจึงเป็นการผสมข้ามระหว่างต้น หลังจากปลูกแล้วประมาณ  ๒ เดือนรากจะเริ่มสะสมแป้งและมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุ เรียกว่าหัว จำนวนหัว รูปร่าง ขนาด และน้ำหนัก แตกต่างกันไปตามพันธุ์  พันธุ์พื้นเมืองที่ใช้ปลูกในประเทศไทย เมื่ออายุประมาณ ๑ ปี ยาวประมาณ  ๒๗.๗-๔๓.๓  เซนติเมตร   และกว้างประมาณ  ๔.๖-๗.๘ เซนติเมตร  ใต้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี และมันสำปะหลังมีอายุมากกว่า ๑ ปี  บางพันธุ์อาจให้หัวหนักหลายสิบกิโลกรัม ส่วนต่างๆ  ของมันสำปะหลังมีกรดไฮโดรไซยานิก (HCN) ซึ่งเป็นสารที่เป็นพิษต่อมนุษย์และ สัตว์ประกอบอยู่ด้วย  ใบและเปลือกมีสารนี้มากกว่าเนื้อสด และพันธุ์ต่างๆ ก็มีปริมาณสารนี้แตกต่างกันออกไป ดังแสดงในตารางที่ ๔

ตารางที่ ๔ แสดงปริมาณกรดไฮโดรไซยานิกในส่วนต่างๆ ของมันสำปะหลังพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ห้านาที


  พันธุ์พื้นเมือง (ชนิดปลูกเข้าโรงงาน)
  พันธุ์ห้านาที (ใช้ทำขนม)

ใบ

เปลือกหัว
มิลลิกรัม/กิโลกรัม

เนื้อหัว

.๐๒๓๘ – .๐๓๒๘
.๐๓๘๐ – .๐๔๙๘

.๐๑๐ - .๐๖๒
.๐๐๗๘ - .๐๐๒๓

.๐๐๗๘ - .๐๑๔๘
.๐๐๐๘๒ - .๐๐๒๓


           ดังนั้นเวลาจะใช้เป็นอาหาร  ควรใช้พันธุ์ห้านาทีเพราะมีกรดไฮโดรไซยานิกต่ำกว่า  และก่อนจะฅบริโภคควรจะนำมันสำปะหลังมาปอกเปลือก หมักเคี่ยว  ย่าง ปิ้ง ต้ม  ปริมาณกรดไฮโดรไซยานิกจะลดลงจนถึงปริมาณซึ่งร่างกายมนุษย์สามารถเปลี่ยน กรดไฮโดรไซยานิกนี้เป็นสารอื่นที่ไม่เป็นอันตรายได้หัวมันสำปะหลังสดส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำ ๖๐-๘๐เปอร์เซ็นต์  แป้ง ๒๐-๔๐ เปอร์เซ็นต์  และมีโปรตีนไม่ถึง ๒ เปอร์เซ็นต์  ดังนั้นหัวมันสำปะหลังจึงเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานต่อร่างกายมนุษย์และสัตว์ที่ดี

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง, ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง หมายถึง, ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง คือ, ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง ความหมาย, ลักษณะพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลัง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu