ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

อักษรจีนตัวย่อ, อักษรจีนตัวย่อ หมายถึง, อักษรจีนตัวย่อ คือ, อักษรจีนตัวย่อ ความหมาย, อักษรจีนตัวย่อ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
อักษรจีนตัวย่อ


          อักษรจีนตัวย่อ (Simplified Chinese Character) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

ประวัติ

จีนแผ่นดินใหญ่

       แม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้เริ่มใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างจริงจังใน พ.ศ. 2492 แต่อักษรจีนตัวย่อก็ปรากฏก่อนหน้านั้นมานานแล้ว โดยเฉพาะการเขียนแบบหวัด และในสมัยราชวงศ์จิ๋น (พ.ศ. 322 - 337) ได้นำมาใช้ในการพิมพ์ ในสมัยที่พรรคก๊กมินตั๋งปกครองประเทศจีนอยู่นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและนักเขียนก็ได้เสนอความคิดว่า การใช้อักษรจีนตัวย่อจะช่วยเพิ่มอัตราการอ่านออกเขียนได้ของชาวจีนมากขึ้น สาเหตุที่สมัยก่อน มีประชาชนรู้หนังสือน้อยก็เพราะว่าภาษาจีน ใช้ระบบตัวอักษรรูปภาพ หนึ่งตัวแทนหนึ่งเสียง-หนึ่งคำ ดังนั้นจึงมีตัวอักษรจำนวนมหาศาล ต่างกับหลายภาษาทั่วโลก ที่ใช้ระบบอักษรผสมตัวอักษรสะกดแทนเสียง

       ในสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการออกประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อครั้งแรก 2 ฉบับ คือใน พ.ศ. 2499 และ พ.ศ. 2507 ในระหว่างที่พึ่งมีการประกาศใช้นั้น เกิดความสับสนในการใช้ตัวอักษรจีนอย่างมาก ตัวอักษรที่ใช้ในครั้งนั้นเป็นตัวอักษรย่อบางส่วนผสมกับตัวอักษรดั้งเดิม และได้มีการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อครั้งที่ 2 หรือที่เรียกว่า 二简 เอ้อร์เจียน ในพ.ศ. 2520 ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม โดยฝ่ายซ้ายจัดในประเทศจีน แต่ในการประกาศใช้ครั้งที่ 2 นี้ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร จนถึง พ.ศ. 2529 ได้ยกเลิกการประกาศครั้งที่ 2 นี้ไป ในขณะเดียวกัน ก็มีการแก้ไขการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อครั้งที่ 1 ถึง 6 ครั้ง (รวมถึงการนำตัวอักษรดั้งเดิม 3 ตัวมาใช้แทนตัวอักษรที่ย่อไปแล้วในประกาศครั้งที่ 1 ได้แก่ 叠, 覆, 像) อย่างไรก็ตาม แม้อักษรจีนตัวย่อตามประกาศใช้ครั้งที่ 2 จะถูกยกเลิกไป แต่ระหว่างนั้นก็ได้มีการสอนในโรงเรียนไปแล้ว และยังใช้ในการเขียนพู่กันด้วย

      นอกจากนี้ การใช้อักษรจีนตัวย่อในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นจุดเริ่มต้นของการยกเลิกอักษรเขียนแทนเสียงแบบเก่า และจุดกำเนิดของการเขียนแทนเสียงแบบพินอิน หรือ ฮั่นอวี้พินอิน (Hanyu Pinyin) อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปตัวอักษรจีนไม่ได้รับความนิยมมากเหมือนอย่างที่ฝ่ายซ้ายจัดคาดไว้แต่แรก หลังจากการยกเลิกประกาศครั้งที่ 2 ไปแล้ว ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งมั่นว่าจะรักษาระบบอักษรจีนให้คงที่ และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ หรือนำตัวอักษรจีนตัวเต็ม กลับมาใช้อีกในอนาคต

      พรรคคอมมิวนิสต์กลัวว่าประชาชนจะสับสนเกี่ยวความแตกต่างระหว่างอักษรจีนตัวเต็มและอักษรจีนตัวย่อ จึงอ้างเหตุนี้ในการห้ามใช้อักษรจีนตัวย่อในสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมา พรรคคอมมิวนิสต์เห็นว่าสิ่งพิมพ์ในประเทศยังมีการใช้อักษรจีนตัวเต็มอยู่ จึงได้ออกกฎหมายภาษาและตัวอักษรแห่งชาติขึ้น อธิบายไว้ว่า ในทั่วทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ อักษรจีนตัวเต็มมิได้ถูกห้ามใช้ ส่วนใหญ่จะใช้อักษรจีนตัวเต็มในงานเฉลิมฉลอง การตกแต่งการใช้งานตามประเพณีดั้งเดิม เช่น การเขียนพู่กัน การใช้เพื่อการค้า เช่น ป้ายหน้าร้านและการโฆษณาซึ่งต่อมาส่วนมากใช้อักษรจีนตัวย่อกัน

      สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะทำสื่อที่เผยแพร่ใน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า และต่างประเทศ โดยใช้อักษรจีนตัวเต็ม ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์พีเพิ้ลส์เดลี่ที่มีทั้งรูปแบบอักษรจีนตัวเต็มและตัวย่อ เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์พีเพิ้ลส์เดลี่และสำนักข่าวซินหัวที่ให้เลือกอ่านเป็นอักษรจีนตัวเต็ม โดยใช้รหัสอักษร Big5 ตัวอย่างอื่น เช่น นมที่ผลิตในจีนแผ่นดินใหญ่และส่งไปขายในฮ่องกง ก็พิมพ์ฉลากโดยใช้อักษรจีนตัวเต็ม และการปกครองแบบหนึ่งประเทศสองระบบ ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ไม่อยากเปลี่ยนให้ฮ่องกงและมาเก๊ามาใช้อักษรจีนตัวย่อ

สิงคโปร์ และมาเลเซีย

สิงคโปร์ มีการรับอักษรจีนตัวย่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาใช้ 3 ครั้ง

  • ครั้งแรก ในพ.ศ. 2512 กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ประกาศให้ใช้ อักษรจีนตัวย่อ 249 ตัว จากอักษรจีนตัวเต็ม 502 ตัว
  • ครั้งที่ 2 ในพ.ศ. 2517 ประกาศให้ใช้ อักษรจีนตัวย่อ 2287 ตัว ในครั้งนี้ มีการใช้ต่างจากสาธารณรัฐประชาชนจีน 49 ตัว
  • ครั้งที่ 3 ในพ.ศ. 2519 ประกาศให้ใช้ตัวอักษร 49 ตัว ที่แตกต่างจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ในตอนแรก ตามสาธารณรัฐประชาชนจีน
  • ในพ.ศ. 2529 ใช้ตัวอักษรตามประกาศใช้ครั้งที่ 1 ฉบับแก้ไข ของในสาธารณรัฐประชาชนจีน
มาเลเซีย มีการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อตามสาธารณรัฐประชาชนจีน ทุกประการ ในพ.ศ. 2524

แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/อักษรจีนตัวย่อ

อักษรจีนตัวย่อ, อักษรจีนตัวย่อ หมายถึง, อักษรจีนตัวย่อ คือ, อักษรจีนตัวย่อ ความหมาย, อักษรจีนตัวย่อ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu