ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ, องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ หมายถึง, องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ คือ, องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ ความหมาย, องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ

          องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ.๑๙๔๕) มีวัตถุประสงค์หลักคือ พยายามผดุงสันติภาพในโลก ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชากรโลก เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า สงครามมีพิษสงร้ายกาจและก่อให้เกิดความสูญเสียแก่โลกอย่างมหาศาลนอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟูเสริมสร้างเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาด้านสังคมซึ่งล้วนแต่ถูกสงครามทำให้เสียหายเป็นอันมากการที่จะให้โลกเข้าสู่สภาวะปลอดสงคราม มีความมั่นคงในชีวิต ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมมีการเคารพสิทธิและเสรีภาพซึ่งกันและกัน ต้องอาศัยความร่วมมือกันทั่วทั้งโลก ต้องผนึกกำลังเพื่อขจัดเหตุแห่งสงครามและเพื่อเสริมสร้างชีวิตที่มีคุณภาพ ทำให้เป็นโลกที่เจริญก้าวหน้าประชาชนมีความผาสุกโดยทั่วกัน
          วัตถุประสงค์ซึ่งกล่าวไว้ในมาตรา ๑ ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ มีอยู่ว่า จะรักษาสันติสุขและความมั่นคงแห่งโลก จะป้องกันและขจัดเสียซึ่งสาเหตุแห่งการคุกคามชีวิต จะสร้างสัมพันธภาพอันดีงามระหว่างชาติต่างๆ มีความเคารพสิทธิและความเสมอภาคตลอดจนอิสรภาพในการปกครองตนเองของทุกประเทศ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันเพื่อผดุงสันติภาพ สร้างความมั่นคงและความก้าวหน้าโดยเสมอหน้ากัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา เพศ วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ

          หลักการที่กำหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติการได้ตามวัตถุประสงค์นั้น มีประเด็นสำคัญซึ่งกล่าวไว้ในมาตรา ๒ ของกฎบัตร คือ การยึดหลักแห่งความเสมอภาคในอธิปไตยของมวลสมาชิก ขอให้มวลสมาชิกปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ระบุในกฎบัตรด้วยความจริงใจ สมาชิกจะต้องระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศของตนโดยสันติวิธี ต้องละเว้นจากการคุกคามหรือใช้กำลังต่อบูรณภาพแห่งอาณาเขต หรือเอกราชทางการเมืองของรัฐใดๆ มวลสมาชิกจะให้ความช่วยเหลือแก่องค์การใน การกระทำต่างๆ ที่ดำเนินไปตามกฎบัตรฉบับปัจจุบัน สำหรับรัฐที่มิใช่สมาชิก องค์การถือว่าจะต้องปฏิบัติตามหลักการในกฎบัตรเท่าที่จำเป็นต่อการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

          พุทธศักราช ๒๕๓๘ (ค.ศ. ๑๙๙๕) เป็นปีที่องค์การสหประชาชาติดำเนินการมาได้ ๕๐ ปี องค์การได้มีบทบาทสำคัญตลอดมาตั้งแต่แรกตั้งองค์การ ในการพยายามระงับการพิพาทระหว่างประเทศที่ใช้กำลัง ในการช่วยเหลือพัฒนาการด้านเศรษฐกิจและสังคมของหลายๆ ประเทศที่ประสบความเสียหายเนื่องจากสงคราม รวมทั้งประเทศที่ต้องเผชิญกับความแร้นแค้นของธรรมชาติ องค์การสหประชาชาติดำเนินการด้วยความร่วมมือของประเทศสมาชิก ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก มีองค์กรในเครือซึ่งดำเนินการเฉพาะด้านหลายองค์กร ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะบางองค์กร ซึ่งเกี่ยวข้องอย่างมากกับประเทศต่างๆ ในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก และในประเทศไทย องค์กรเหล่านี้แบ่งกว้างๆ ออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีลักษณะเป็นแผนงาน (Programme) หรือกองทุน (Fund) หรือคณะกรรมการ (Commission) และกลุ่มที่เป็นองค์การชำนัญพิเศษ (Specialized agencies) ซึ่งมีการจัดระบบบริหารแบบองค์การ (Organization) เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีธรรมนูญหรือกฎบัตรเป็นกฎหมายแม่บทรองรับความเป็นองค์การ

องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ, องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ หมายถึง, องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ คือ, องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ ความหมาย, องค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu