ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม, การผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม หมายถึง, การผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม คือ, การผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม ความหมาย, การผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม

การผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม
        จัดเป็นขั้นตอนแรกของการรักษา มีเป้าหมายเพื่อกำจัดก้อนมะเร็งที่เต้านมและประเมินการลุกลามของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ การผ่าตัดประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 

1.การผ่าตัดที่เต้านม
        1.1 การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด(รวมทั้งบริเวณหัวนมด้วย)Total Mastectomy เป็นวิธีดั้งเดิมที่ทำมานาน ปัจจุบันก็ยังถือเป็นการผ่าตัดมาตรฐานอยู่ มีข้อเสียคือผู้ป่วยต้องสูญเสียเต้านมข้างนั้นๆไปทำให้เสียภาพลักษณ์
        1.2 การผ่าตัดแบบเก็บรักษาเต้านม(Breast conserving therapy) คือการผ่าตัดเอาเฉพาะก้อนมะเร้งออกและเนื้อดีบางส่วนที่อยู่รอบข้าง ผู้ป่วยที่รักษาโดยวิธีนี้จำเป็นต้องได้รับการฉายแสงที่เต้านมร่วมด้วย วิธีนี้จะสามารถเก็บรักษาเต้านมข้างที่เป็นมะเร็งไว้ได้โดยมีโอกาสหายขาดเท่าการตัดเต้านมทิ้ง
        1.3 การผ่าตัดเพื่อเสริมสร้างเต้านม(Breast reconstruction) แบ่งออกเป็น2วิธีคือ 
             1.3.1 การผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่ สำหรับผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งหมดโดยใช้แผ่นผิวหนังหน้าท้องที่เรียกว่า(TRAM flap) เป็นการผ่าตัดที่เอากล้ามเนื้อและผิวหนังบริเวณหน้าท้องมาสร้างเป็นเต้านมใหม่ ซึ่งสามารถผ่าตัดเสริมไปพร้อมๆกับการตัดเต้านมหรือมาทำภายหลังก็ได้ แต่การทำในครั้งเดียวกันจะให้ผลเรื่องความสวยงามที่ดีกว่า 
             1.3.2 สำหรับผู้ป่วยที่ตัดเต้านมออกบางส่วน (เก็บรักษาเต้านม) บางรายเนื้อเต้านมถูกตัดออกจำนวนมาก ทำให้เต้านมเสียรูป การผ่าตัดเอากล้ามเนื้อและไขมันบริเวณหลังด้านข้าง( LD flap) มาเสริม ทำให้รูปร่างใกล้เคียงกับเต้านมอีกข้างได้ 

2. การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ 
        ในอดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกรายต้องได้รับการผ่าตัดเลาะต่อม น้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมด แต่ปัจจุบันมีเทคนิคใหม่ เรียกว่าการตรวจต่อมน้ำเหลือง เซนติเนล (Sentinel lymph node biopsy) ทำโดยการฉีดสี Isosulphan blue ที่เต้านมจากนั้นผ่าตัดหาต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล ซึ่งถือว่าเป็นต่อมน้ำเหลืองกลุ่มแรกที่จะมีการกระจายของเซลล์มะเร็งมายังรักแร้ หลังจากตรวจทางพยาธิวิทยาหากพบว่าไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมายังต่อมน้ำเหลืองนี้ ก็สามารถงดเว้นการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ได้ ซึ่งจะช่วยลดการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โดยไม่จำเป็น ทำให้ลดผลข้างเคียงที่อาจก่อให้เกิดภาวะแขนบวมได้

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลพญาไท
แหล่งที่มา : https://www.phyathai.com


การผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม, การผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม หมายถึง, การผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม คือ, การผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม ความหมาย, การผ่าตัดก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu