ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

แบบจำลองข้อมูลเชิงเครือข่าย (Network Data Mode), แบบจำลองข้อมูลเชิงเครือข่าย (Network Data Mode) หมายถึง, แบบจำลองข้อมูลเชิงเครือข่าย (Network Data Mode) คือ, แบบจำลองข้อมูลเชิงเครือข่าย (Network Data Mode) ความหมาย, แบบจำลองข้อมูลเชิงเครือข่าย (Network Data Mode) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
แบบจำลองข้อมูลเชิงเครือข่าย (Network Data Mode)

          แบบจำลองข้อมูลนี้ถูกเสนอขึ้นโดยกลุ่มโคดาซิล (CODASYL Database Task Group) ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ บางคนจึงเรียกแบบจำลองนี้ว่า ดีบีทีจี (DBTG Mode) โครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ระเบียน (Record) และ เซต (Sets) โดยที่ระเบียนสำหรับ แบบจำลองนี้คือ ที่เก็บรวบรวมข้อมูล ระเบียนแต่ละอันจะประกอบด้วยกลุ่มของค่าต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน มีลักษณะเหมือนกับระเบียนของแบบจำลองข้อมูลเชิงลำดับชั้น ส่วนเซตคือความสัมพันธ์แบบ ๑ ต่อมาก (1:N relationship) ระหว่าง ๒ ระเบียนใดๆ เซตหนึ่งจะประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ ๑. ชื่อของเซต ๒. ชนิดของระเบียนที่เป็นเจ้าของ (Owner of set type)และ ๓. ชนิดของระเบียนที่เป็นสมาชิกของเซต (Member of set type)

          ตัวอย่างแสดงระเบียนและเซต ซึ่งมี ๒ ระเบียน ได้แก่ ระเบียนวิชา และระเบียนนักศึกษา ๒ เซต ได้แก่ เซตลงทะเบียนเรียน ซึ่งมีระเบียนวิชาเป็นระเบียนเจ้าของ และมีระเบียนนักศึกษาเป็นระเบียนสมาชิก แสดงความสัมพันธ์ว่า วิชาหนึ่งๆ มีนักศึกษาคนใดลงทะเบียนเรียนบ้าง ข้อสังเกตการกำหนดเซตนี้จะทำให้เกิดข้อจำกัดที่ว่า นักศึกษาแต่ละคนลงทะเบียนเรียนได้คนละ ๑ วิชาเท่านั้น ส่วนเซตผู้ช่วยสอนในวิชานั้น ระเบียนเจ้าของและระเบียนสมาชิกตรงกันข้ามกับเซตแรก แสดงความสัมพันธ์ว่า นักศึกษาคนใดเป็นผู้ช่วยสอนในวิชาใดบ้าง

          เซตจะแตกต่างกับความสัมพันธ์แบบพ่อกับลูกในลักษณะที่ว่า ระเบียนที่เป็นเจ้าของและระเบียนสมาชิกในเซตหนึ่งจะสามารถกลับไปเป็นระเบียนสมาชิกและระเบียนเจ้าของในอีกเซตหนึ่งได้ตามลำดับ แต่ระเบียนที่เป็นพ่อและเป็นลูกจะไม่สามารถกลับเป็นลูกและเป็นพ่อตามลำดับได้ในอีกความสัมพันธ์หนึ่ง เซตจึงมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าในจุดนี้

          สำหรับความสัมพันธ์แบบ ๑ ต่อ ๑ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งใด สามารถใช้เซตได้ เพียงแต่เพิ่มข้อบังคับเข้าไปอีกอย่างว่า ระเบียนที่เป็สมาชิกจะมีได้เพียง ๑ ตัวเท่านั้นต่อ ๑ ระเบียนจ้าของ ส่วนความสัมพันธ์แบบมากต่อมากต้องมีการสร้างระเบียนใหม่ขึ้นมาอีก ๑ ระเบียน และสร้างเซตขึ้นมาอีก ๒ เซต โดยให้ระเบียนใหม่เป็นระเบียนสมาชิกของทั้งสองเซต และระเบียนเดิมในความสัมพันธ์แบบมากต่อมากนั้น เป็นระเบียนเจ้าของเซตทั้งสอง ดังแสดงในตัวอย่างการแทนความสัมพันธ์แบบมากต่อมาก


แบบจำลองข้อมูลเชิงเครือข่าย (Network Data Mode), แบบจำลองข้อมูลเชิงเครือข่าย (Network Data Mode) หมายถึง, แบบจำลองข้อมูลเชิงเครือข่าย (Network Data Mode) คือ, แบบจำลองข้อมูลเชิงเครือข่าย (Network Data Mode) ความหมาย, แบบจำลองข้อมูลเชิงเครือข่าย (Network Data Mode) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 25

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu