ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

Universal Banking: ต้นเหตุสู่ความล่มสลายของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา?, Universal Banking: ต้นเหตุสู่ความล่มสลายของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา? หมายถึง, Universal Banking: ต้นเหตุสู่ความล่มสลายของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา? คือ, Universal Banking: ต้นเหตุสู่ความล่มสลายของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา? ความหมาย, Universal Banking: ต้นเหตุสู่ความล่มสลายของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
Universal Banking: ต้นเหตุสู่ความล่มสลายของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา?

     นอกเหนือจากการตามล่าหาแพะที่จะต้องเกิดขึ้นกับกรณีการเกิดวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา สิ่งที่อาจจะต้องมีการเร่งทบทวนเกี่ยวกับชุดความคิดในเรื่องนโยบายของรัฐชาติต่างๆในเรื่องของโครงสร้างการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่เรียกว่า Universal Banking ซึ่งเคยถูกเรียกว่าเป็นคำตอบของอนาคตของสถาบันการเงินโลก โดยเร็วที่สุด การล่มสลายของวาณิชธนกิจชั้นนำของโลก เช่น The Lehman Brothers Group, Bear Sterns เป็นสิ่งที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่าเป็นผลมาจากการพังทลายของโครงสร้างการทำธุรกิจของธนาคารพาณิชย์จากแบบเดิมภายใต้กฏหมายควบคุมธนาคารพาณิชย์แบบเก่า มาสู่การมุ่งเป็น Universal Banking อย่างแท้จริง ความซับซ้อนของธุรกรรมที่แม้ด้านหนึ่งจะทำให้ความเสี่ยงกระจายตัวออกไป แต่อีกด้านหนึ่งก็ซุกซ่อนปัญหาไว้ จนเมื่อความเน่าเฟะโผล่ออกมาให้เห็นก็ยากที่จะแก้ไขเสียแล้ว

     หากไม่นับเรื่องของการฉ้อฉลหรือวิศวกรรมทางการเงินที่มีคนเปรียบเทียบว่าวาณิชธนกิจนั้นได้แสดงพฤติกรรมเปรียบประดุจนักเล่นแร่แปรธาตุที่พยายามทำให้ตะกั่วกลายเป็นทองคำ โดยใช้ศิลานักปราชญ์แบบที่เคยเฟื่องฟูในอดีตหลายร้อยปีก่อน เราจะพบว่ารากเหง้าของปัญหาที่แท้จริงนั้นน่าจะอยู่ที่การแก้ไขกฎหมายควบคุมกำกับสถาบันการเงินพาณิชย์ในปี ค.ศ.1999 เป็นสำคัญ การแก้ไขกฏหมายดังกล่าวจะเกิดจากความมั่นใจเกินขนาดหรือเพราะการฉ้อฉลของระบบประชาธิปไตยแบบอเมริกัน ก็ต้องดูกันต่อไป

     เดิมทีนั้น นับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของโลกในปี ค. ศ.1929 นักการเมืองอเมริกันได้เสนอทางออกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสถาบันการเงินจนผ่าน The Glass-Stegall Act ใน ค.ศ.1933 วุฒิสมาชิก Carter Glass ซึ่งเป็นอดีตผู้ผลักดันให้ก่อตั้งธนาคารกลางของสหรัฐ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร Henry Stegall ซึ่งก็เป็นประธานคณะกรรมาธิการการเงินและการคลังของสภาล่าง คือสองแรงร่วมใจผลักดันกฎหมายดังกล่าว ท่ามกลางเสียงคัดค้านของบรรดาสถาบันการเงิน โดยเฉพาะกลุ่มทุนยิวในวอลล์สตรีท แต่สถานการณ์ในยามนั้น ทำให้กฏหมายดังกล่าวผ่านสภาอย่างหวุดหวิด กฎหมายดังกล่าวตั้งเป้าหมายที่จะแยกธุรกิจสถาบันการเงินออกจากกันเป็นส่วนๆ โดยเฉพาะการแยกธุรกิจวาณิชธนกิจและธนาคารพาณิชย์ออกจากกัน ไม่ให้ถือหุ้นไขว้ หรือเกินสัดส่วน และแยกการบริหารออกจากกันอย่างเด็ดขาด เพื่อเป็นการสร้างกำแพงมิให้กลุ่มทุนนำเงินไปปั่นสร้างราคาในตลาดหุ้น ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า หรือตลาดเก็งกำไรอื่นๆ หรือการลงทุนอื่นๆที่ไม่ถนัด ทั้งในลักษณะครอบงำตลาดหรือกระจายความเสี่ยง เป้าหมายตอนแรกสุดของกฏหมายดังกล่าวเกิดจากการต้องการหยุดยั้งพฤติกรรมของธนาคารพาณิชย์ที่นำเงินฝากของประชาชนไปปั่นราคาตลาดหุ้นจนปั่นป่วนเป็นหลัก ทั้งการลงทุนเองหรือการปล่อยกู้ลูกค้า

     หลักเกณฑ์สำคัญอย่างหนึ่งที่ถือเป็นกฏเหล็กก็คือรายได้ของธนาคารพาณิชย์จะต้องมาจากธุรกรรมตลาดทุนและเก็งกำไรไม่เกิน 10 % ของรายได้รวม ต่อมามีการแก้ไขกฏหมายอีกครั้งใน ค.ศ.1956 ซึ่งแยกธุรกิจธนาคารพาณิชย์ วาณิชธนกิจ และประกันภัย-ประกันชีวิตออกจากกันอย่างเด็ดขาดอีก การสร้างกำแพงสูงกั้นสถาบันการเงินออกจากกันนี้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นระยะๆจากกลุ่มทุนวอลล์สตรีท และนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่ว่าเป็นการสกัดกั้นมิให้สถาบันการเงินของอเมริกาแข่งขันเมื่อเทียบกับยุโรปซิ่งมิได้มีกำแพงกั้นเหมือนในอเมริกา ข้อเท็จจริงดูเหมือนจะสนับสนุนเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากทีเดียว เพราะตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ Big Bang ที่ City of London เป็นต้นมา บรรดาวาณิชธนกิจของยุโรปกลายเป็นธุรกิจที่ทำกำไรกันอย่างมหาศาล และไล่กวาดต้อนบรรดาธนาคารพาณิชย์เข้ามาไว้ในอุ้งมืออย่างจริงจัง กลายเป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่ระดับโลกที่ไล่เลี่ยกับบรรดาสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา

     วาณิชธนกิจคือธุรกิจที่ให้บริการทางการเงิน การเป็นที่ปรึกษา พร้อมกับจัดการอย่างเบ็ดเสร็จ (แต่งตัว ควบรวมกิจการ ขายหุ้น ขายหุ้นกู้ ฯลฯ) เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุด มีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์หลายเท่า แม้จะมีฐานเงินที่น้อยกว่า การเชื่อมโยงธุรกิจทั้งสองเข้าด้วยกันก็จะยิ่งทำให้การส่งต่อธุรกิจกันไปมาอย่างก้าวกระโดดทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น แรงขับดันดังกล่าวทำให้มีการล็อบบี้อย่างหนักในวอลล์สตรีทท้ายสุดก็เลยกลายร่างมาเป็นกฏหมายเสนอโดยสามนักการเมืองที่ทั้งยกเลิกและแก้ไขกฏหมาย Glass-Steagall อย่างหมดสิ้น เรียกว่ากฏหมาย Gramm-Leach-Bliley Act สาระสำคัญของกฏหมายหลังสุด คือ การยินยอมให้วาณิชธนกิจ ธนาคารพาณิชย์ และประกันภัย-ชีวิตร่วมอยู่ภายใต้ร่มธง (ทั้งเจ้าของและผู้บริหาร) เดียวกันได้ โดยมีเป้าหมายสร้างธุรกิจแบบครบวงจรแนวระนาบและดิ่ง ที่เราเรียกว่า Universal Banking (บางทีเรียกว่า Financial Bazaar หรือ Financial Supermarket ก็ได้) นั่นเอง Goldman Sachs เป็นวาณิชธนกิจรายแรกที่เข้ามาฉกฉวยโอกาสกระโจนเข้าสู่กติกาใหม่นี้และเติบโตอย่างก้าวกระโดดจนน่าอิจฉา ทำให้ทุกค่ายต้องกระโจนตามกันไปทั่วอเมริกาและทั่วโลก ผลของกฏหมายในอเมริกาทำให้บรรดาธนาคารกลางและกระทรวงการคลังทั่วโลกตื่นเต้นกันยกใหญ่ เพราะธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์โลกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์นั้น ถูกแรงกดดันจากองค์การการค้าโลกให้เปิดเสรีมากขึ้น ซึ่งหากไม่มีการเตรียมความพร้อมเอาไว้สู้ สถาบันการเงินท้องถิ่นก็จะถูกฮุบกลืนได้อย่างไม่ยากเย็น ชาติต่างๆรวมทั้งประเทศไทยก็เลยต้องตกกระไดพลอยโจนไปกับเขาด้วย ทำตัวให้ทันสมัย สร้างแผนแม่บทเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินมุ่งไปสู่การปรับตัวเพื่อรับมือดังกล่าว

     คำถามก็คงต้องย้อนกลับไปถามผู้นำชาติและธนาคารกลางต่างๆว่าแผนแม่บททางการเงินที่ตกกระไดพลอยโจนไปสู่ Universal Banking ตามรอยอเมริกานั้น จำเป็นต้องมีการทบทวนกันหรือไม่ และต้องทำอย่างไรจึงจะได้ความมั่นคงและได้กำไรควบคู่กันไป

โดย คุณวีระชาติ ชุตินันท์วโรดม

ที่มา TSI Investment Wiki

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
     https://www.tsi-thailand.org/
     https://www.set.or.th/


Universal Banking: ต้นเหตุสู่ความล่มสลายของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา?, Universal Banking: ต้นเหตุสู่ความล่มสลายของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา? หมายถึง, Universal Banking: ต้นเหตุสู่ความล่มสลายของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา? คือ, Universal Banking: ต้นเหตุสู่ความล่มสลายของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา? ความหมาย, Universal Banking: ต้นเหตุสู่ความล่มสลายของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา? คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu