ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ชีวิตคู่กับการวางแผนทางการเงิน, ชีวิตคู่กับการวางแผนทางการเงิน หมายถึง, ชีวิตคู่กับการวางแผนทางการเงิน คือ, ชีวิตคู่กับการวางแผนทางการเงิน ความหมาย, ชีวิตคู่กับการวางแผนทางการเงิน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ชีวิตคู่กับการวางแผนทางการเงิน


     การแต่งงานใครๆ ก็เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญในชีวิตของคนเรา ไม่ใช่เรื่องของคนแค่สองคนแต่ยังต้องรวมไปถึงญาติ และครอบครัวของทั้งสองฝ่ายด้วย ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาคู่แต่งงานมักจะให้ความสำคัญกับงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรส งานเลี้ยง งานฉลองที่มีแขกเหรื่อมากมาย ทั้งญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อนสมัยเรียน เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้องของทั้งสองฝ่ายเยอะแยะไปหมด

     แม้ว่าในปัจจุบันจะมี Wedding Organizer มี Wedding Studio รับจัดการ ดูแล และออกแบบงานแต่งงานให้แบบครบวงจรก็ตาม ว่าที่เจ้าบ่าว เจ้าสาวทั้งหลายก็ยังมีเรื่องให้วิ่งวุ่นๆ หลายเรื่องเพื่อให้งานเลี้ยงแม้เพียงช่วงไม่กี่ชั่วโมงออกมาดีที่สุด นั่นก็ว่าด้วยเรื่องก่อนแต่ง พอแต่งงานไปแล้ว น่าจะต้องวางแผนการแต่งเงินด้วย คนเราต่อให้รักกันปานใด รู้จักกันมานานเพียงใด หากไม่จัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ ของชีวิตคู่ให้ชัดเจน ปล่อยให้คลุมๆ เครือๆ ไม่รู้ว่าคู่ชีวิตมีเงินเดือนประมาณเท่าใด ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าอะไร มีหนี้สินอยู่บ้างมั้ย เป็นหนี้อะไรบ้าง จำนวนเท่าไร ต้องส่งเสีย ดูแลครอบครัว พ่อแม่พี่น้องบ้างมั้ย ความไม่รู้หรือความคลุมเครือจะก่อให้เกิดการระหองระแหง สร้างความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ความไม่เข้าใจกัน ซึ่งจะบั่นทอนความสุข ความอบอุ่นในการใช้ชีวิตคู่ไปอย่างน่าเสียดาย

     การแต่งเงินที่ดี ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตของแต่ละคู่ ที่จะต้องร่วมกันออกแบบ โดยควรจะเริ่มจากการทำบันทึกรายได้ และการใช้จ่ายสักสองหรือสามเดือน เพื่อติดตามพฤติกรรมการใช้จ่ายของทั้งสองคน และเพื่อตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นร่วมกัน เริ่มตั้งแต่บันทึกเงินเดือน รายได้ต่างๆ แล้วตามด้วยค่าใช้จ่ายร่วมทั้ง ค่าเช่าบ้านหรือผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถหรือค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าอาหาร ค่าเครื่องอุปโภคบริโภค ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเสื้อผ้า แล้วตามด้วยค่าใช้จ่ายส่วนตัว การบันทึกนี้จะช่วยให้ทั้งคู่ได้รับรู้รายได้ และภาระค่าใช้จ่ายของกันและกัน รวมทั้งส่วนที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน

     ลองนึกดูหากเรารู้แต่ว่าคู่ชีวิตของเรามีรายได้ มีเงินเดือนเท่านั้น เท่านี้ แล้วประเมินเอาเองว่า น่าจะมีเงินให้เรา หรือให้ครอบครัวเท่านั้น เท่านี้ น่าจะซื้อนั่น จ่ายนี่ให้เราได้ แบบนี้ไม่ดีแน่ เพราะโดยปกติเรามักมีแนวโน้มจะคิดและตีความอะไรเข้าข้างตัวเอง แล้วความไม่เข้าใจกันก็จะก่อร่างสร้างตัวขึ้น เพราะความไม่รู้ เพราะมีแต่ข้อมูลรายได้ด้านเดียว

     นอกจากนี้ การทำบันทึกแบบนี้จะทำให้ทั้งคู่ได้เห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของกันและกันด้วย คู่ชีวิตของเราอาจจะงกกว่าที่เรารู้จัก หรือฟุ่มเฟือยมากกว่าที่เราคิด การรับรู้น่าจะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อปรับจูนให้เข้ากันได้ดีขึ้น ข้อมูลสำคัญนี้จะช่วยให้การแต่งเงินเป็นไปอย่างเหมาะสม หลายคู่อาจจะตกลงจะรวมกระเป๋ากันแล้วให้คุณแม่บ้านเป็นผู้บริหาร แต่หลายคู่อาจจะยังคงแยกกระเป๋ากัน แต่มี "กองทุนครอบครัวอบอุ่น" สำหรับค่าใช้จ่ายร่วมโดยอาจจะรับผิดชอบคนละเท่าๆ กัน หรือตามสัดส่วนรายได้ก็แล้วแต่จะพูดคุยกัน เพื่อยังคงความเป็นอิสระ ความส่วนตัวไว้บ้าง

     หลายคนอาจจะต้องพบกับปัญหาทางการเงินของคู่ชีวิตที่คาดไม่ถึง แต่เมื่อเราตัดสินใจจะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว คู่ชีวิตที่ดี ย่อมต้องเชื่อมั่นในกันและกัน ช่วยกันฟันฝ่าอุปสรรคทางการเงินไปให้ได้ อาจจะต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ตั้งเป้าหมาย หาวิธีจัดการหนี้ และตัดลดค่าใช้จ่ายลงเพื่อให้การจัดการหนี้สำเร็จลุล่วงไปไม่เป็นก้างขวางทางทำลายความรักที่เคยมีให้กัน

     ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ทุกคู่ควรมีการกำหนดเป้าหมายในอนาคตร่วมกัน อย่างเช่น การซื้อบ้าน ซื้อรถ การท่องเที่ยว การดูแลคุณพ่อคุณแม่ ญาติๆ ของทั้งสองฝ่าย การมีลูก การศึกษาของลูก การเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ การปรับปรุงตกแต่งบ้าน ซึ่งต้องกำหนดด้วยว่าเป้าหมายเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อใด เพื่อจะได้จัดตั้ง "กองทุนครอบครัวมั่นคง" สำหรับเป็นหลักประกันเพื่อความมั่นใจในอนาคต

     เมื่อครอบครัวมั่นคงแล้ว ก็ต้องไม่ลืมจัดตั้ง "กองทุนครอบครัวมั่งคั่ง" สำหรับการขยายดอกผล สร้างความมั่งคั่งให้เงินทองที่มี ได้ผลิดอกออกผลจากการออม การลงทุนในรูปแบบต่างๆ ตามที่ควรจะเป็น และต้องไม่ลืมวางแผนเผื่อเหตุฉุกเฉินไว้บ้าง เพราะความไม่แน่นอน เหตุไม่คาดฝัน หรืออุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ หลายคู่อาจจะเลือกทำประกันภัย ประกันชีวิต แต่ก็น่าจะวางแผนต้องเผื่อการตกงาน การลดลงของรายได้ เศรษฐกิจตกต่ำ รวมทั้งเหตุฉุกเฉินของญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย จึงอาจจะต้องมี "กองทุนครอบครัวสุขสันต์" ไว้บ้าง...

โดย คุณวีระชาติ ชุตินันท์วโรดม

ที่มา TSI Investment Wiki

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
     https://www.tsi-thailand.org/
     https://www.set.or.th/


ชีวิตคู่กับการวางแผนทางการเงิน, ชีวิตคู่กับการวางแผนทางการเงิน หมายถึง, ชีวิตคู่กับการวางแผนทางการเงิน คือ, ชีวิตคู่กับการวางแผนทางการเงิน ความหมาย, ชีวิตคู่กับการวางแผนทางการเงิน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu