ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นคืน, กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นคืน หมายถึง, กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นคืน คือ, กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นคืน ความหมาย, กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นคืน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นคืน

   ในภาวะที่ตลาดหุ้นได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองและภาวะวิกฤติทางการเงินของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งส่งผลกระทบไปในหลายๆภูมิภาคทั่วโลก ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยลดลงอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง และทำให้ราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนตกลงอย่างรุนแรง จนต่ำกว่าพื้นฐานที่แท้จริง บริษัทจดทะเบียนหลายๆบริษัทที่มีพื้นฐานดี มีผลประกอบการที่ดี และมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงซึ่งเห็นว่าราคาหุ้นของตนต่ำกว่าราคาตามปัจจัยพื้นฐาน จึงได้จัดทำโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารทางการเงิน และเป็นการพยุงราคาหุ้น ให้สะท้อนให้เห็นถึงฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และเพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้ถือหุ้น โครงการซื้อหุ้นคืนในยามนี้จะช่วยพยุงตลาดได้ทางหนึ่ง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ตลาดหลักทรัพย์ฯและสำนักงาน ก.ล.ต. ต่างก็หามาตรการช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียน การที่บริษัทซื้อหุ้นคืนนั้น หากเป็นบริษัทจำกัดตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ จะไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะเป็นข้อห้ามตามมาตรา ป.พ.พ. มาตรา 1143 ที่บัญญัติไว้ว่า “ ห้ามมิให้บริษัทจำกัดเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเอง หรือรับจำนำหุ้นของตนเอง” สำหรับบริษัทมหาชนจำกัด ตามกฏหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ก็มีหลักการคล้ายกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 66 ที่บัญญัติไว้ว่า “บริษัทจะเป็นเจ้าของหุ้นหรือรับจำนำหุ้นของตนเองมิได้” แต่หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 กระทรวงพาณิชย์มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฏหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ตามข้อเสนอของธนาคารโลก และให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะนั้นมากขึ้นเพื่อเป็นการให้การคุ้มครองแก่ผู้ถือหุ้นรายย่อยมากขึ้น ทำให้การบริหารจัดการบริษัทมหาชนจำกัดเป็นไปอย่างโปร่งใสมีหลักธรรมาภิบาลมากขึ้น จึงได้มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการบริษัทมหาชนจำกัดที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย แต่การแก้ไขปรับปรุงกฏหมายทั้งฉบับต้องใช้เวลามาก จึงมีการพิจารณาแก้ไขเฉพาะบางมาตราที่มีความจำเป็นเร่งด่วนก่อน ซึ่งการแก้ไขปรับปรุงสำเร็จในปี 2544 ซึ่งหนึ่งในมาตรานั้นก็คือ การเพิ่มมาตรา 66/1 ที่เป็นบทยกเว้นให้บริษัทมหาชนจำกัดเป็นเจ้าของหุ้นตนเองได้คือ

     “มาตรา 66/1 บทบัญญัติตามมาตรา 66 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการที่บริษัทเป็นเจ้าของหุ้นของตนเองมิให้นำมาบังคับใช้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทอาจซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่ออกเสียงไม่เห็นด้วยกับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งแก้ไขข้อบังคับบริษัทเกี่ยวกับสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนและสิทธิในการรับเงินปันผล ซึ่งผู้ถือหุ้นเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม (2) บริษัทอาจซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน เมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและสภาพคล่องส่วนเกิน และการซื้อหุ้นคืนนั้นไม่เป็นเหตุให้บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน

     หุ้นที่ซื้อคืนนั้นจะไม่นับเป็นองค์ประกอบในการประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนและสิทธิในการรับเงินปันผลด้วย หุ้นที่ซื้อคืนตามวรรคหนึ่ง บริษัทต้องจำหน่ายออกไปภายในเวลาที่กำหนดในกฏกระทรวง ถ้าไม่จำหน่ายหรือจำหน่ายไม่หมดในเวลาที่กำหนด ให้บริษัทลดทุนที่ชำระแล้วโดยวิธีตัดหุ้นจดทะเบียนส่วนที่จำหน่ายไม่ได้ การซื้อหุ้นตามวรรคหนึ่ง การจำหน่ายหุ้น และการตัดหุ้นตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฏกระทรวง

     กฏกระทรวงที่ออกบังคับใช้แล้วในเรื่องนี้ก็คือ กฏกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการซื้อหุ้นคืน และการตัดหุ้นที่ซื้อคืนของบริษัท พ.ศ.2544 การซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียนที่กำลังมีการดำเนินการกันอยู่ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นคือการซื้อหุ้นคืนตามมาตรา 66/1(2) ที่กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนสามารถซื้อหุ้นคืนได้ก็ต่อเมื่อบริษัทมีกำไรสะสม มีสภาพคล่องส่วนเกิน และการซื้อหุ้นคืนนั้นไม่เป็นเหตุให้บริษัทประสบปัญหาทางการเงินนั้น กฏกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดให้มีการพิจารณาสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทจากความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้ที่จะถึงกำหนดชำระภายในหกเดือนนับตั้งแต่วันที่จะเริ่มซื้อหุ้นคืน แต่ก็มีประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ บริษัทสามารถซื้อหุ้นคืนได้สูงสุดเท่าใด โดยสำนักงาน ก.ล.ต. มีความเห็นว่าบริษัทจะซื้อหุ้นได้ไม่เกินวงเงินกำไรสะสม แต่กระทรวงพาณิชย์เห็นว่าในการยกร่างกฏหมาย คณะทำงานยกร่างที่ประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผู้แทนของสำนักงาน ก.ล.ต. เห็นชอบให้กำหนดกรอบในการซื้อหุ้นคืนไว้แล้ว คือ ตามหลักเกณฑ์สามประการดังกล่าว และก็ไม่ได้กำหนดวงเงินสูงสุดไว้ บริษัทจึงสามารถซื้อหุ้นคืนได้ภายในกรอบสามประการดังกล่าว ไม่จำกัดว่าต้องซื้อคืนภายในวงเงินกำไรสะสม ต่อมา สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เสนอเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฏษฏีกา ซึ่งได้วินิจฉัยว่าบริษัทซื้อหุ้นคืนได้ไม่เกินวงเงินกำไรสะสม ดังนั้นจึงต้อง ถือปฎิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวคือบริษัทจะซื้อหุ้นคืนได้ไม่เกินวงเงินกำไรสะสม ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจำหน่ายและการตัดหุ้นที่ซื้อคืน กฏกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้บริษัทจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนได้ เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับตั้งแต่การซื้อหุ้นในแต่ละคราว และต้องจำหน่ายให้หมดภายในระยะเวลาที่กำหนดในโครงการซื้อหุ้นคืน แต่ไม่เกิน 3 ปี การจำหน่ายหุ้น ถ้าเป็นหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯให้เสนอขายในกระดานตลาดหลักทรัพย์ หรือเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปได้ แต่ถ้าเป็นหุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียน กระทำได้เพียงเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ในเรื่องการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน ตลาดหลักทรัพย์ฯกำลังเสนอให้แก้ไขปรับปรุงเพื่อให้มีช่องทางจำหน่ายได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม อาทิเช่น การจำหน่ายให้ผู้ถือหุ้นเดิมหรือประชาชนเป็นการเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะสามารถกระทำได้ แต่ต้องแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวในประเด็นนี้ก่อน สำหรับการตัดหุ้นที่ซื้อคืนนั้น กฏกะทรวงดังกล่าวกำหนดว่าเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ต้องจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนทั้งหมดแล้ว ถ้าบริษัทไม่จำหน่ายหรือจำหน่ายไม่หมด ให้บริษัทลดทุนที่ชำระแล้ว โดยวิธีตัดจำหน่ายหุ้นที่ไม่จำหน่ายหรือจำหน่ายไม่หมด โดยต้องปิดประกาศรายละเอียดดังกล่าวไว้ที่บริษัทหรือสาขาถ้ามีสาขา และไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับตั้งแต่วันตัดจำหน่ายหุ้นดังกล่าว ข้อสังเกตการจัดหุ้นลดทุนในกรณีนี้ไม่ถือเป็นการลดทุนตามหมวดที่ 10 ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 จึงไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 141-144 แต่อย่างใด

โดย คุณวีระชาติ ชุตินันท์วโรดม

ที่มา TSI Investment Wiki

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
     https://www.tsi-thailand.org/
     https://www.set.or.th/

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นคืน, กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นคืน หมายถึง, กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นคืน คือ, กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นคืน ความหมาย, กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นคืน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu