ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ปลาปักเป้า, ปลาปักเป้า หมายถึง, ปลาปักเป้า คือ, ปลาปักเป้า ความหมาย, ปลาปักเป้า คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ปลาปักเป้า

ปลาปักเป้า หรือ Puffer fish

          เป็นปลาชนิดหนึ่งที่พบได้ทั้งในน้ำจืด และน้ำเค็ม พบได้ทั่วไปทั้งในประเทศที่มีอากาศร้อน และอบอุ่น ในประเทศไทยปลาปักเป้าน้ำจืด เช่น ปลาปักเป้าเขียว ปลาปักเป้าเหลืองปลาปักเป้าทอง พบได้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น หนอง คลอง บึง และตามแม่น้ำ สายต่าง ๆ ส่วนปลาปักเป้าหนามทุเรียน ปลาปักเป้าหลังแดง ปลาปักเป้าหลังแก้ว ปลาปักเป้าดาว ฯลฯ เป็นปลาปักเป้าทะเลพบในอ่าวไทย

          ตามปรกติปลาปักเป้าจะมีสภาพ เหมือนปลา ทั่วไป มีหนามสั้น หรือยาวแล้วแต่ชนิด หากถูกรบกวนจะพองตัวโตขึ้น มีรูปร่างคล้ายลูกโป่ง หรือลูกบอลลูน หรือคล้ายผลทุเรียนลูกกลม ๆมีหนามแหลม ๆ สั้นหรือยาวได้อย่างชัดเจน

          ทางด้านวิชาการได้จัดแบ่งปลาปักเป้าไว้ 2 วงศ์ ได้แก่ Tetraodontidae ลักษณะปลาปักเป้า ในวงศ์นี้ จะมีฟัน 4 ซี่ มีผิวตัวค่อนข้างเกลี้ยง อีกวงศ์หนึ่งเรียกว่า Diodontidae ในวงศ์นี้ มีฟัน 2 ซี่ คล้ายจงอยปากนกแก้ว และมีหนามรอบตัว เห็นได้ชัดเจนกว่าชนิดแรก

          ในประเทศไทย มีปลาปักเป้าทั้งชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมกันประมาณราว 20 ชนิด ปลาปักเป้าทะเล (marine puffer fish) มีชื่อเรียกต่างกันไป ได้แก่ toad fish, globe fish, toado , swell fish, porcupine fish และ balloon fish เป็นต้น

          ปลาปักเป้าทะเลเป็นที่รู้จักดี และคุ้นเคยของชาวประมง ถ้าพบเห็นบนเรือลากอวน เขามักจะทำลายมันทิ้งหรือโยน มันกลับลง ไปในทะเล ในประเทศญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่า " fugu " เนื้อปลาปักเป้าสดตามภัตตาคารใหญ่ ๆ มีราคาสูงมากเนื่องจากชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานกันมาก เนื้อปลาปักเป้าสดที่จำหน่ายจะต้อง เตรียมโดยผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะเป็นอย่างดีเพื่อลดอันตรายจากพิษของปลาให้มากที่สุด แม้กระนั้น ในช่วง 20 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1955-1975 มีผู้บริโภคเนื้อปลาปักเป้าเป็นพิษรวม 3,000 ราย ในจำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิตถึงร้อยละ 51 เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ เนื้อปลาปักเป้าเป็นที่นิยมของชาว ญี่ปุ่นก็คือเนื้อปลามีรสชาดที่วิเศษ หวาน กรุบ และอร่อยดี สำหรับประเทศไทย มีผู้ได้รับพิษ จากการ บริโภคปลาปักเป้าทั้งชนิดน้ำจืด และชนิดน้ำเค็ม ซึ่งมีรายงานทางการแพทย์บ้างเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะรายงานผู้ป่วยในภาคอิสาน ชาวบ้านจะนำปลาปักเป้าที่จับได้จาก หนองน้ำ ลำธาร มาต้มหรือย่าง และแบ่งรับประทานกัน

ที่มา https://www.angelfire.com/journal2/c_prapan/puffer_fish.html
ภาพจาก : www.siamfishing.com



วิธีสังเกตเนื้อปลาปักเป้า



พิษปลาปักเป้า

โดย: ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์มุกดา ตฤษณานนท์
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

          พิษของปลาปักเป้าเป็นพิษที่ทนต่อความร้อน เมื่อถูกความร้อนพิษจะไม่เสียไปได้มีผู้นำเอาปลาปักเป้ามาขายเป็น จำนวน มากเรียกกัน ว่าปลาเนื้อไก่ เพราะเนื้อมีลักษณะคล้ายเนื้อไก่ ราคาไม่แพง เห็นแล้วน่ารับประทาน แต่ที่จริงเป็นพิษ

          ปลาปักเป้า หรือ Puffer fish เป็นปลาที่หาได้ในน้ำจืดและ น้ำเค็ม พบได้ทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อนและอบอุ่น ในประเทศไทย พบปลาปักเป้าน้ำจืดได้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่นตามหนอง คลอง บึง ส่วนปลาปักเป้าหนามทุเรียน เป็นปลาปักเป้าทะเล พบได้ในอ่าวไทย

          ตามปรกติปลาปักเป้าจะมีสภาพเหมือนปลาทั่วไป มีหนามสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด หากถูกรบกวนจะพองตัวขึ้น มีรูปร่างคล้ายลูกโป่ง หรือลูกบอลลูน ปลาปักเป้าทะเล เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับชาวประมง ถ้าพบเห็นบนเรือลากอวน เขาจะทำลายมันทิ้ง หรือโยนกลับลงไปในทะเล ในญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่า "Fugu" ชาวญี่ปุ่นชอบรับประทานแต่ต้องมีการเตรียมโดยผู้ที่มีความชำนาญ เฉพาะเป็นพิเศษ จึงจะไม่มีพิษ

          พิษของปลาปักเป้ามีชื่อว่า Tetrodotoxin พิษปลาปักเป้า พบมาหที่สุดในส่วนของ ไข่ ตับ ลำไส้ หนัง ส่วนที่เป็นเนื้อปลาจะมีพิษน้อย

ลักษณะอาการในผู้ที่ได้รับพิษ
          หลังรับประทานเข้าไปประมาณ 10-30 นาที จะมีอาการดัง นี้ (บางรายอาจเป็นชั่วโมงขึ้นอยู่กับปริมาณของพิษที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไป)

          ระยะแรก จะเริ่มมีอาการชาที่ริมฝีปาก ลิ้น บริเวณใบหน้า และปลายนิ้วมือ รวมทั้งคลื่นไส้อาเจียน
          ระยะที่สอง จะมีอาการอ่อนเพลีย ชามากขึ้น แขนขาไม่มีแรง จนเดิน หรือยืนไม่ได้
          ระยะที่สาม จะมีกล้ามเนื้อกระตุก คล้ายชัก พูดลำบาก ตะกุก ตะกัก พูดไม่ได้ เนื่องจากมีอัมพาตของสายกล่องเสียง     
          ระยะที่สี่ กล้ามเนื้อจะเป็นอัมพาต หายใจไม่ออก ไม่รู้สึกตัว และถึงแก่ความตายโดยการหยุดหายใจ

          พิษของปลาปักเป้า ไม่มียาแก้พิษ (antidote) โดยเฉพาะ ต้องรักษาแบบประคับประคองโดยให้น้ำเกลือ ถ้าหยุดหายใจต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ เมื่อพิษของปลาปักเป้าถูกขับออกไปทางปัสสาวะผู้ป่วยก็จะหายจาก อาการเหล่านี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2546 ได้มีผู้ป่วยรับประทานอาหาร ปลาสงสัยว่าเ็ป็นพิษจากปลาปักเป้า 3 รายที่ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ

          รายแรก อายุ 69 ปี เป็นหญิง มาด้วยอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก แขนขาอ่อนแรง มีอาการเขียวคล้ำ cyanosis ให้ใส่ท่อช่วยหายใจแล้วเข้า ICU ได้ประวัติว่า ตอนเย็นประมาณ 18.00 น. ได้ซื้อปลากะพงผัดคื่นช่าย มารับประทานกับลูกชาย ต่อมาประมาณ 21.00 น. ผู้ป่วยตื่นขึ้นมา ชาทั้งตัว เดินไม่ไหว ต่อมามีอาเจียน เวียนศีรษะ หายใจไม่ค่อยออก จึงมาโรงพยาบาล อยู่โรงพยาบาล 3 วัน จึงเอาท่อช่วยหายใจออก ต่อมาอีก 2 วัน จึงออกจากโรงพยาบาล

          รายที่สอง คือ ลูกชายรับประทานปลากะพง ผัดคึ่นฉ่าย เพียงเล็กน้อย หลังรับประทานประมาณ 2 ชั่วโมง มีอาการชาที่คอ ปากแห้ง เวียนศีรษะ ชาทั้งตัว แต่ไม่อ่อนแรง วันรุ่งขึ้นอาการหายไปเอง

          รายที่สาม เป็นชายอายุ 69 ปี รับประทานอาหารกล่องที่เดียวกันนี้มีปลาด้วย รับประทานไปได้ 2-3 คำ รู้สึกรสชาดแปลกไป รู้สึกลิ้นชา ๆ จึงทิ้งไป ต่อมารู้สึกชาตามปาก คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกเหมือนตัวลอย ๆ ได้ไปโรงพยาบาล พักอยู่ 2 วัน อาการก็ทุเลาหายไป

          ทั้ง 3 รายดังได้กล่าวมาแล้ว แสดงว่าได้รับประทานปลา เข้าไป ซึ่งเป็นปลาปักเป้า หรือเรียกว่าปลาเนื้อไก่ และมีอาการเป็นพิษ คือ มีชาตามปาก ลิ้น คลื่นไส้ อาเจียน แขนขาไม่มีแรง ถ้ารับประทาน ปลา มาก พิษก็เข้าไปเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการรุนแรง หายใจไม่ออก และกล้ามเนื้อเกี่ยวกับหัวใจ เป็นอัมพาตต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ มิฉะนั้นอาจถึงแก่ความตาย

          ฉะนั้น การรับประทานอาหารปลาต้องระวัง เช่น ข้าวต้มปลา หรือปลาผัดคึ่นฉ่าย ถ้าเกิดอาการดังได้กล่าวแล้ว ต้องรีบไป โรงพยาบาล มิฉะนั้น ถ้ารักษาไม่ทันอาจถึงแก่ชีวิต

          ความจริงกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 264 พ.ศ. 2545 เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย คือปลาปักเป้าทุกชนิด และอาหารที่มีปลาปักเป้าเป็นส่วนผสม เป็นอาหาร ที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายแต่ก็ยังมีผู้ละเมิดอาจจะรู้ หรือไม่รู้ เพราะปลาปักเป้ามีราคาถูก และมีเนี้อน่ารับประทานนำมาขายทำให้เกิด เหตุร้ายดังได้กล่าวแล้ว ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องระมัดระวังให้ดีในการรับประทานอาหาร

ที่มา https://www.si.mahidol.ac.th/department/Preventive/home/article/pufferfish.htm


ปลาปักเป้า, ปลาปักเป้า หมายถึง, ปลาปักเป้า คือ, ปลาปักเป้า ความหมาย, ปลาปักเป้า คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu