ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ตรุษจีนปากน้ำโพ, ตรุษจีนปากน้ำโพ หมายถึง, ตรุษจีนปากน้ำโพ คือ, ตรุษจีนปากน้ำโพ ความหมาย, ตรุษจีนปากน้ำโพ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ตรุษจีนปากน้ำโพ

ตำนานงานตรุษจีนปากน้ำโพ

          นครสวรรค์ เมืองต้นแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่ออีกชื่อที่คนทั่วไปรู้จักคือ "ปากน้ำโพ" เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นครสวรรค์นับว่าเป็นประตูสู่ภาคเหนือ ส่วนปากน้ำโพจัดเป็นศูนย์ลางทางการค้า เป้นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด

          ชาวจีนหลายเชื้อสายที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินจะอาศัยอยู่ตามริมแม้น้ำน่าน เรียกว่า "แควใหญ่" และบริเวณ "ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา" คือตลาดปากน้ำโพ ซึ่งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก

          บรรพบุรุษของชาวจีนนับถือเทพเจ้า เมื่อมาตั้งรกรากที่ใด ได้อัญเชิญเอาเทพเจ้าที่ตนนับถือติดตัวมาด้วย ชาวจีนในตลาดปากน้ำโพก็เช่นกัน พากันนับถือ เจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าพ่อกวนอู-เจ้าแม่ทับทิม-เจ้าแม่สวรรค์ เมื่อมาอยู่ได้จัดตั้งศาลเพียงตาสำหรับเป็นที่ประทับของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่เพื่อกราบไหว้บูชา โดยตั้งขึ้น ๒ ศาล คือ ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกของตลาดปากน้ำโพ และศาลเจ้าแม่หน้าผา ริมฝั่งแม่น้ำปิงที่บ้านหน้าผา ขึ้นไปทางเหนือของตลาดปากน้ำโพ

          เมื่ออดีตประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ตลาดปากน้ำโพได้เกิดโรคอหิวาตกโรค ระบาดครั้งใหญ่ ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บรรดาชาวจีนในปากน้ำโพ ได้นำเอา "กระดาษฮู้" (กระดาษยันต์) จากศาลเจ้าไปเผาไฟแล้วเอาเถ้ากระดาษมาชงน้ำดื่มทำให้หายจากโรคระบาด เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว

          ตั้งแต่นั้นมาชาวจีนในปากน้ำโพจึงได้อัญเชิญองค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ทุกองค์แห่รอบตลาดปากน้ำโพ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีจนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมากกว่า ๘๐ ปี เพื่อเป็นศิริมงคล และความเจริญก้าวหน้าด้านการค้า การเคารพกราบไหว้เปรียบเสมือนเทพเจ้าได้มาอวยชัยให้พรยังร้านค้าอันเป็นแหล่งทำกิน ในพิธีจะมีขบวนแห่มากมาย อาทิ เช่น สิงโต จากคณะเชื้อสายจีนต่าง ๆ เอ็งกอ ล่อโก้ว มังกรทอง ขบวนสาวงาม นางฟ้า ขบวนเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น

          ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม(แควใหญ่) ตั้งอยู่บนถนนสาย นครสวรรค์-ชุมแสง หันหน้าลงสู่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่มีแม่น้ำสองสี สี่สายมารวมกันเรียกว่าปากน้ำโผล่ หรือปากน้ำโพ ศาลเดิมเป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง จากจารึกในระฆังโบราณคู่ศาล ระบุปีที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายใน ค.ศ. ๑๘๗๐(พ.ศ. ๒๔๑๓) แสดงให้ทราบว่าศาลเจ้าแห่งนี้มีอายุนานกว่า ๑๓๐ ปี จึงมีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง จากป้ายไม้กลางศาลเขียนว่า บุ๊นเถ่ากงเบียว ระบุปีที่สร้างศาลใหม่เป็นภาษาจีน หรือ ค.ศ. ๑๙๐๙(พ.ศ.๒๔๑๒) ปัจจุบันลักษณะศาลเจ้าเป็นครั้งตึกครึ่งไม้ แบ่งเป็น ๓ ส่วน หน้าสุดคือส่วนที่สร้างใหม่ประดิษฐานแท่นบูชาเทพยดาฟ้าดิน ตอนกลางเป็นอาคารไม้ดั่งเดิม ตอนในสุดเป็นส่วนที่สร้างใหม่มีแท่นที่ประดิษฐานองค์เทพเจ้าบุ๊นเถ่ากง เป็นองค์ประธานอยู่กลางเทพเจ้ากวนอู อยู่ด้านขวา เจ้าแม่ทับทิม- เจ้าแม่สวรรค์ อยู่ด้านซ้าย หลังคาศาลประดับด้วยมังกรคู่ชูลูกแก้ว ปลายสันหลังทอดยาวลงมาเป็นหัวหงายที่สวยงามตระการตา เด่นตระหง่านคู่เมืองนครสวรรค์


ประวัติมังกรทอง เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ

          มังกรทอง ของชาวจีนเป็นตัวแทนขององค์จักรพรรดิ เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรืองและความมีอำนาจ ดังนั้นจึงถือเป็นสัตว์ที่เป็นมงคล ถ้าได้พบเห็น หรือเยี่ยมกรายผ่านบ้านใคร ถือได้ว่าเสมือนได้รับพรจากมังกร คนจีนเชื่อกันว่า ฝูชี บรรพบุรุษของชาวฮั่นในตำนานเป็นลูกของมังกร คนจีนจึงถือว่าตนเป็นลูกหลานของมังกร ถ้ามองอีกแง่หนึ่งตามตำนานมังกรเป็นผู้ให้น้ำแก่โลกมนุษย์ ซึ่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ จึงอาจถือได้ว่ามังกรเป็นผู้ที่นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ก็ได้ การจัดแห่มังกรทองจะทำได้ต่อเมื่อท้องถิ่นนั้นมีแม่น้ำมีภูเขา และเป็นเมืองใหญ่เท่านั้น

          การแห่มังกร ของชาวปากน้ำโพได้ริเริ่มขึ้นในสมัยนายหม่งแจ๋ แซ่เล้า เป็นประธานจัดงานในปี พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๐๗ โดยได้ปรึกษา นายเป็งไฮ้ แซ่ตั้ง และ นายเต็งลิ้ม  แซ่เอ็ง ไปติดต่อให้อาจารย์ เล่งจุ้ย  แซ่ลิ้ม เป็นครูสอน และมีนาย ตงฮั่ง  แซ่ตั้ง เป็นผู้ทำมังกรตัวแรก ซึ่งได้ใช้จนปี ๒๕๓๕

          ปัจจุบันได้จำลองแบบออกมาเป็นหัวมังกรที่มีความงดงามมาก มังกรทองเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพมีลีลา การเชิดที่เข้มแข็งสง่างาม ด้วยลำตัวที่ยาว ๕๒ เมตร และผู้เล่น ๑๘๐ คน ทำให้ผู้ชมสามารถสัมผัสถึงพลังแห่งอำนาจแห่งพญามังกรได้อย่างประทับใจไม่รู้ลืม ลีลาการเชิดมังกรทองนี้เป็นลีลาเฉพาะตัวที่แตกต่างจากที่มีการเชิดมังกรในประเทศจีนและญี่ปุ่น และถือได้ว่าเป็นต้นตำรับการเชิดมังกรในประเทศไทยซึ่งมีการแสดงเป็นที่เลื่องลือไปทั่วเอเซีย


การเดินทางไปงานตรุษจีนปากน้ำโพ

ข้อมูลการเดินทางของ จ. นครสวรรค์ 

          รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านอยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี-ชัยนาท-อุทัยธานี-นครสวรรค์ ระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 240 กิโลเมตร

          รถไฟ  มีขบวนรถไฟออกเดินทางจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ - สถานีนครสวรรค์ ทุกวัน รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทาง โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 สถานีรถไฟนครสวรรค์ โทร. 0 5628 5544  www.railway.co.th

          รถโดยสารประจำทาง  บริษัทขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ-นครสวรรค์ ทุกวัน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ หมอชิต 2 ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร โทร. 0 2936 2852-66   บริษัทเอกชน เช่น บริษัท วิริยะทัวร์ โทร. 0 2936 2827 บริษัท ถาวรฟาร์ม โทร. 0 2936 2945 บริษัท ทันจิตต์ โทร. 0 2936 3210 หากต้องการเดินทางไปอำเภอต่าง ๆ สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ตรงข้ามโรงแรมพิมาน  โทร.0 5622 2169  หรือ www.transport.co.th 
 
          การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.นครสวรรค์ ในตัวเมืองนครสวรรค์มีรถสองแถววิ่งประจำทางอยู่หลายสาย ศูนย์ท่ารถตั้งอยู่ใกล้กับสถานีขนส่ง บขส. และจากบขส.มีรถต่อไปยังอำเภอต่างๆ

ที่มา https://thai.tourismthailand.org


เที่ยวเทศกาลตรุษจีนปากน้ำโพนครสวรรค์

เที่ยวเทศกาลตรุษจีนปากน้ำโพนครสวรรค์ กราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์-ชมแข่งขันเชิดสิงโตสวยงาม

          ตรุษจีน ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ และชาวจีนโพ้นทะเล  ทั่วโลก พร้อมกับมีการเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่
 
          สำหรับในเมืองไทย หากเอ่ยถึงเทศกาลตรุษจีน ต้องนึกถึงตรุษจีนที่ จ.นครสวรรค์ เพราะที่นี่มีการแสดงสิงโตอันสวยงาม ซึ่งในปีนี้คณะกรรมการจัดงานแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ประจำปี   พ.ศ. 2550-2551 ได้กำหนดจัดงาน เทศกาลตรุษ  จีนปากน้ำโพ 2551 ขึ้นในวันที่ 31 มกราคม-11 กุมภาพันธ์ 2551 ณ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อร่วมสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยในปีนี้ ได้จัดให้มีกิจกรรมขึ้นดังนี้
 
          นิทรรศการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในหัวข้อเรื่อง “ธ สถิต  ในดวงใจ ไทยนิรันดร์” อันประกอบด้วย พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของพระองค์ พร้อมจัดโต๊ะลงนามถวายความอาลัย รวมทั้ง     ให้ประชาชนถวายสักการะต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ รวมถึงการฉายวีดิทัศน์ และบทเพลง  เฉลิมพระเกียรติ
 
          นิทรรศการ “ใต้ร่มพระบารมี จักรีวงศ์” เป็นนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ประกอบด้วย ภาพพระราชกรณียกิจ   ที่พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จจังหวัดนครสรรค์
 
          นิทรรศการ “เล่าเรื่องเมืองปากน้ำโพ” อันประกอบด้วย ประวัติ ความเป็นมาของ จ.นครสวรรค์ การตั้งรกรากของชาวไทยเชื้อสายจีน รวมถึงความเชื่อในวัฒนธรรมประเพณีก่อให้เกิดตำนานงานตรุษจีนปากน้ำโพ ประกอบกับการ    ฉายวีดิทัศน์ เพื่อเป็นความรู้แก่เยาวชนต่อไป
 
          กิจกรรม “ลานบุญหาดทรายสวรรค์”  จัดสร้างประติมากรรมของเทพเจ้าที่เป็นที่นับถือของชาวไทยเชื้อสายจีน ณ ลานบุญหาดทรายสวรรค์ เพื่อให้    ประชาชนได้สักการะกราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลของชาวไทยเชื้อสายจีน อันประกอบด้วย เทพไท้ส่วยเอี๊ย เทพคุ้มครอง ดวงชะตา เจ้าแม่สวรรค์ เทพเจ้าทางน้ำ ช่วยปกป้องคุ้มครองอันตราย เทพไฉ่ซิง เอี๊ย เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง ร่ำรวยให้โชคให้ลาภ สะพาน ฮก ลก ซิ่ว ซึ่ง ฮก หมายถึงเทพเจ้าแห่งความ  มั่งคั่งเพียบพร้อม ลก เทพแห่งโชคลาภ อำนาจ วาสนา และ ซิ่ว เทพแห่งความสมบูรณ์
 
          การสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์  จัดตั้งศาลเจ้าชั่วคราวโดยอัญเชิญศาลเจ้าแม่หน้าผา (ปึงเถ่าม่า) ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม (แควใหญ่)  มา ณ บริเวณมณฑลพิธีการจัดงาน เพื่อ   ให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการะกราบไหว้ ขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่ ของ   ชาวไทยเชื้อสายจีน 

  • ส่วนงานแห่กลางคืน ในวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ให้คืนวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งเป็นวันแห่ขบวนกลางคืน สวมเสื้อสีเหลือง และให้เหลืองไปทั้งเมือง เพื่อฉลองรัชสมัยใหม่
  • สำหรับงานแห่กลางวัน เริ่มวันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งเป็นวันแห่ขบวนกลางวัน สวมเสื้อสีแดง ให้แดงไปทั่วทุกพื้นที่

 

ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/paknamphochinesenewyear/

 

ตรุษจีนปากน้ำโพ, ตรุษจีนปากน้ำโพ หมายถึง, ตรุษจีนปากน้ำโพ คือ, ตรุษจีนปากน้ำโพ ความหมาย, ตรุษจีนปากน้ำโพ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu