ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พรรณไม้ประดับต่างถิ่น, พรรณไม้ประดับต่างถิ่น หมายถึง, พรรณไม้ประดับต่างถิ่น คือ, พรรณไม้ประดับต่างถิ่น ความหมาย, พรรณไม้ประดับต่างถิ่น คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พรรณไม้ประดับต่างถิ่น

          พรรณไม้ที่กล่าวถึงในวรรณคดีไทยส่วนใหญ่เป็นไม้พื้นเมืองของไทยที่พบขึ้นตามธรรมชาติในสภาพภูมิประเทศต่างๆ กันพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นเดิมอยู่ต่างประเทศบางชนิดเข้ามาเนิ่นนาน จนปรับตัวกลมกลืนกับไม้พื้นเมือง แพร่กระจายขยายพันธุ์ไปจนทั่วถิ่นทำให้เข้าใจกันว่าเป็นไม้พื้นเมือง เช่น พุทธชาด รัก และบานเย็น ไม้ประดับบางชนิดซึ่งปัจจุบันนิยมปลูกกันทั่วไป จนเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นพันธุ์ไม้ต่างประเทศแน่นอน แต่มักไม่ทราบว่า เข้ามาปลูกและเจริญงอกงามในเมืองไทยได้อย่างไร ตั้งแต่เมื่อใด คนส่วนใหญ่มักคิดว่าพันธุ์ไม้เหล่านั้นเพิ่งจะถูกนำมาปลูกในเมืองไทยเมื่อความนิยมไม้ประดับและจัดสวนเฟื่องฟูเร็วๆ นี้ก็ได้ เมื่อปรากฏชื่อพรรณไม้ต่างถิ่นเหล่านั้นในวรรณคดี จึงทำให้ประวัติของไม้ประดับแต่ละชนิดนั้นกระจ่างขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เช่น เบญจมาศมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ พุทธรักษามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่นเดียวกับดาหลา หรือกาหลา ซึ่งเป็นไม้ตัดดอกในปัจจุบัน เป็นต้น

          พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรื่อง อิเหนา ตอนหนึ่ง กล่าวถึง  ยี่เข่ง ไว้ดังนี้

ลำดวนดอกดกตกเต็ม
ยี่เข่งเข็มสารภียี่โถ
รสสุคนธ์ปนมะลิผลิดอกโต
ดอกส้มโอกลิ่นกล้าน่าดม

          ยี่เข่งเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง ๑.๕ - ๒.๕ เมตร ทรงพุ่มโปร่ง เปลือกต้นสีน้ำตาลเป็นมันใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายแหลม กว้าง ๒ - ๓ ซม. ยาว ๓ - ๖ ซม. เรียงเป็นเกลียวรอบกิ่งใบช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม จะออกดอกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่งหรือที่ซอกใบส่วนที่ใกล้ยอดที่สุด ดอกมี ๓ สี คือ สีขาว สีชมพู และสีม่วง ลักษณะดอกคล้ายเสลา ตะแบก และอินทนิล เพราะเป็นพันธุ์ไม้สกุลเดียวกัน กลีบดอก ๕ - ๖ กลีบเป็นแผ่นบางและจีบย่นทุกกลีบ มีโคนกลีบเรียวลงเป็นก้านแลดูสวยงามและนุ่มนวล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก ๒ - ๓ ซม. ผลกลม ขนาดเล็ก เมื่อแก่มีสีน้ำตาล ใช้ขยายพันธุ์ได้ แต่นิยมใช้วิธีตอนกิ่งมากกว่า

          ยี่เข่งมีถิ่นกำเนิดในจีนและญี่ปุ่น กระจายพันธุ์ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพราะสวยงาม ทนแล้งได้ดี และเจริญเติบโตค่อนข้างช้า ไม่มีปัญหาในเรื่องขนาดและสัดส่วนเมื่อนำมาใช้ในการจัดสวน ในการดูแลรักษา ควรหมั่นตัดแต่งกิ่ง จะทำให้ได้ทรงพุ่งสวยงามและดอกดก การที่กล่าวถึงยี่เข่งในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา เป็นหลักฐานที่แสดงว่า พันธุ์ไม้ชนิดนี้น่าจะนำเข้ามาในตอนต้นสมัยรัชกาลที่ ๒ และปลูกประดับไว้ในบริเวณพระราชวัง มากกว่าที่จะนำเข้ามาตอนปลายรัชกาลที่ ๓ ตามที่พระยาวินิจวนันดรได้เขียนไว้ในตำนานไม้ต่างประเทศในประเทศไทย ส่วนผู้ที่นำเข้ามาน่าจะเป็นชาวจีนนั่นเอง

พรรณไม้ประดับต่างถิ่น, พรรณไม้ประดับต่างถิ่น หมายถึง, พรรณไม้ประดับต่างถิ่น คือ, พรรณไม้ประดับต่างถิ่น ความหมาย, พรรณไม้ประดับต่างถิ่น คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 24

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu