ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การแข่งขันประกวดโครงงานโดยใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ เป็นหนังสืออ้างอิงหลัก, การแข่งขันประกวดโครงงานโดยใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ เป็นหนังสืออ้างอิงหลัก หมายถึง, การแข่งขันประกวดโครงงานโดยใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ เป็นหนังสืออ้างอิงหลัก คือ, การแข่งขันประกวดโครงงานโดยใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ เป็นหนังสืออ้างอิงหลัก ความหมาย, การแข่งขันประกวดโครงงานโดยใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ เป็นหนังสืออ้างอิงหลัก คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การแข่งขันประกวดโครงงานโดยใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ เป็นหนังสืออ้างอิงหลัก

หลักการและเหตุผล

          เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระราชดำรัสให้ก่อตั้งโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้หาความรู้จากการอ่านด้วยตนเองและได้รับประโยชน์กว้างขวางยิ่งขึ้น โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสโมสรไลออนส์สากล ภาครวม ๓๑๐ ประเทศไทย จัดประกวดโครงงานที่เกิดจากแรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม และเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนไทยมีนิสัยรักการอ่าน รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งเสริมสร้างทักษะในด้านการคิด วิเคราะห์ ซึ่งจะทำให้เด็กและเยาวชนของไทยเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพและมีศักยภาพที่จะเป็นกำลังในการพัฒนาชาติไทยในอนาคต



แนวทางการทำโครงงาน

          ๑.  ต้องเป็นโครงงานที่มีแรงบันดาลใจจากการอ่าน หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มใดเล่มหนึ่งหรือหลายเล่ม
          ๒.  ผลที่ได้จากการทำโครงงานจะทำให้ได้คำตอบ ความรู้วิธีการ และ/หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่จากเรื่องที่ศึกษา


คุณสมบัติของผู้ส่งโครงงานเข้าประกวด

          ๑.  นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๔ - ๖  (ช่วงชั้นที่  ๔)  ในระบบโรงเรียน  ทั้งโรงเรียนของรัฐและเอกชน
          ๒. หนึ่งโรงเรียนสามารถส่งโครงงานเข้าประกวดได้  ๑  โครงงานเท่านั้น  โดยส่งในนามของโรงเรียน


วัตถุประสงค์

          ๑.  เพื่อเทิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
          ๒.  เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชนไทยมีนิสัยรักการอ่านหนังสือตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
          ๓.  เพื่อให้เยาวชนไทยมีทักษะการคิด  วิเคราะห์  และความคิดสร้างสรรค์ อันเนื่องมาจากการอ่านหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
          ๔.  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนไทยมีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้  และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 


 



หลักเกณฑ์การส่งโครงงานเข้าประกวด

          ๑. ผู้ส่งโครงงานประกอบด้วยนักเรียน  ๓  คน  และมีอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ๑  คน
          ๒.  ผู้ส่งโครงงานสามารถส่งโครงงานเข้าแข่งขันได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้   หรือเป็นโครงงานที่บูรณาการหลายกลุ่มสาระ ทั้งนี้  ไม่จำกัดประเภทของโครงงานที่ส่งเข้าประกวด   (สำรวจ ทดลอง  สิ่งประดิษฐ์  หรือ  ทฤษฎี)
          ๓. โครงงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เป็นโครงงานที่ลอกเลียนแบบของผู้อื่นและไม่เคยได้รับรางวัลระดับประเทศมาก่อน


การสมัครเข้าแข่งขัน

          ๑. ให้ใช้ใบสมัครตามแบบฟอร์มที่แนบมากับประกาศฉบับนี้ หรือขอรับได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่ง  สำนักงานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สโมสรไลออนส์ในพื้นที่ หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ https://academic.obec.go.th  หรือ https://kanchanapisek.or.th/kp
          ๒. กรอกใบสมัครให้ครบถ้วน   โดยผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการที่ได้รับมอบหมาย หรือที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่มีตำแหน่งเทียบเท่าลงนามรับรอง  พร้อมทั้งประทับตราของโรงเรียน
          ๓. เอกสารเค้าโครงย่อโครงงาน (Proposal)  ให้พิมพ์โดยใช้ตัวอักษร  Angsana New  ขนาด ๑๖ พอยต์  ความยาวไม่เกิน ๑๐ หน้ากระดาษ A4   จำนวน ๗ ชุด
          ๔. ผู้สมัครต้อง"ส่งใบสมัครพร้อมเอกสารเค้าโครงย่อโครงงานด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ ถึง  โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ ถนนศรีอยุธยา  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ  ๑๐๓๐๐  และวงเล็บมุมซองว่า  (ส่งประกวดโครงงานฯ) ภายวันที่  ๑๕ สิงหาคม  ๒๕๕๐

          หมายเหตุหากส่งทางไปรษณีย์  ทางโครงการถือว่าวันที่ไปรษณีย์ประทับรับเป็นวันที่ส่งเอกสารวันสุดท้าย



การดำเนินการคัดเลือกและตัดสิน

การแข่งขันแบ่งเป็น ๒  รอบ  ดังนี้

          ๑.  รอบคัดเลือก  คณะกรรมการจะพิจารณาจากเค้าโครงย่อโครงงาน(Proposal) ที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมดและทำการคัดเลือกให้เหลือ ๑๕ โครงงาน และโครงงานที่ผ่านการคัดเลือกทางโครงการจะแจ้งให้ทราบทางไปรษณีย์/โทรสาร (Fax) ไปยังโรงเรียนของผู้เข้าประกวด หรือทางเว็บไซต์ https://academic.obec.go.th  หรือ  https://kanchanapisek.or.th/kp6 ตั้งแต่วันที่  ๑๗  กันยายน  ๒๕๕๐ เป็นต้นไป และทางโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกต้องส่งแบบตอบรับยืนยันการเข้าร่วมโครงการให้ทางผู้จัดการประกวดทราบ

          ๒. รอบตัดสิน
          ๒.๑ โครงงานที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง ๑๕ โครงงาน  มีเวลาในการทำโครงงานประมาณ ๒  เดือน
          ๒.๒ ทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง  ๑๕ ทีม ต้องส่งแบบตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรมเข้าค่าย  พร้อมรายงานฉบับสมบูรณ์จำนวน   ๙   ชุด   ระหว่างวันที่   ๑๖-๒๖   พฤศจิกายน   ๒๕๕๐  โดยให้นำส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ถึง สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน)  แขวงวังจันทร์เกษม    เขตดุสิต    กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐   และวงเล็บมุมซองว่า  (ประกวดโครงงานฯ) หมายเหตุ หากส่งทางไปรษณีย์ ถือว่าวันที่ไปรษณีย์ประทับรับเป็นวันที่ส่งเอกสารวันสุดท้าย
          ๒.๓ ทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง  ๑๕  ทีม  (๑  ทีมประกอบด้วยนักเรียนผู้จัดทำโครงงาน  ๓  คน และครูที่ปรึกษา  ๑  คน) จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมค่ายเพื่อนำเสนอโครงงานให้คณะกรรมการพิจารณา  โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น  ทั้งนี้  ทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง  ๑๕  ทีม และเข้าร่วมกิจกรรมค่ายโครงงาน จะได้รับเงินสนับสนุนในการทำโครงงานทีมละ  ๒,๐๐๐  บาท  (ขอรับเงินได้ในวันเข้าค่าย)
          ๒.๔  ในวันแรกของการเข้าค่ายนักเรียนต้องจัดทำแผงโครงงาน   ณ   สถานที่เข้าค่าย  โดยฝ่ายผู้จัดการประกวดจะจัดเตรียมฟิวเจอร์บอร์ดขนาด  ๖๐   x  ๑๒๐  เซนติเมตร  จำนวน  ๑  แผ่น  และขนาด ๖๐ x  ๖๐  เซนติเมตร  จำนวน  ๒  แผ่น  ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะใช้ในการจัดทำแผงโครงงานให้ผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้จัดเตรียมมาเอง  โดยให้เวลาในการจัดทำแผงโครงงาน  ๑  วัน 
          ๒.๕ ในวันสุดท้ายของการเข้าค่ายนักเรียนต้องจัดแสดงแผงโครงงาน พร้อมอธิบายผลงานและตอบข้อซักถามต่อหน้าคณะกรรมการ โดยให้เวลาในการนำเสนอ  ๑๐  นาที  และตอบข้อซักถาม  ๕ นาที
          ๒.๖ สถานที่  วัน  เวลา  เข้าค่ายจะแจ้งให้ทราบในภายหลัง  

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ

          ๓. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาด  ผู้เข้าแข่งขันไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น




เกณฑ์การคัดเลือกโครงงาน

          เกณฑ์การคัดเลือกโครงงานจากเค้าโครงย่อ  (Proposal)  พิจารณาจากส่วนประกอบ  ดังนี้

๑. ชื่อโครงงาน
- สอดคล้องกับเรื่องที่ศึกษา
- อ่านเข้าใจง่าย
- มีความชัดเจน
- น่าสนใจ
- สื่อความหมาย

๒.  หลักการเหตุผล
- ความสำคัญของเรื่องที่ศึกษา
- แรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือสารานุกรมไทยฯ  เล่มไหน  หน้าไหน เรื่องอะไร
- ผลของการทำโครงงาน
- เหตุผล/ข้อมูลสนับสนุน

๓.  วัตถุประสงค์
- ชัดเจน
- มีความเป็นไปได้

๔.  กรอบแนวคิดหรือสมมติฐาน
- ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดที่นำมาใช้
- ความชัดเจนในสิ่งที่ทำ

๕.  วิธีดำเนินการ
- ขั้นตอนการดำเนินงาน
- วิธีการ/เครื่องมือที่นำมาใช้
- แผนการดำเนินงาน
- กลุ่มเป้าหมาย/สิ่งที่จะศึกษา

๖.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- มีความรู้ใหม่เกิดขึ้น(องค์ความรู้/สิ่งประดิษฐ์/สิ่งที่ได้จากการทำโครงงาน)
- การนำไปประยุกต์ใช้/นำไปขยายผลได้

๗.  เอกสารประกอบหรืออ้างอิง
- ถูกต้องตามหลักการเขียนอ้างอิง
- หลากหลาย
- ครบถ้วน

ข้อมูลจาก เว็บไซต์โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
                  โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่ https://kanchanapisek.or.th/kp6/projectANS/contest.htm


การแข่งขันประกวดโครงงานโดยใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ เป็นหนังสืออ้างอิงหลัก, การแข่งขันประกวดโครงงานโดยใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ เป็นหนังสืออ้างอิงหลัก หมายถึง, การแข่งขันประกวดโครงงานโดยใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ เป็นหนังสืออ้างอิงหลัก คือ, การแข่งขันประกวดโครงงานโดยใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ เป็นหนังสืออ้างอิงหลัก ความหมาย, การแข่งขันประกวดโครงงานโดยใช้หนังสือสารานุกรมไทยฯ เป็นหนังสืออ้างอิงหลัก คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu