ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วันสถาปนากรมป่าไม้, วันสถาปนากรมป่าไม้ หมายถึง, วันสถาปนากรมป่าไม้ คือ, วันสถาปนากรมป่าไม้ ความหมาย, วันสถาปนากรมป่าไม้ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วันสถาปนากรมป่าไม้

          18 กันยายน 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา กรมป่าไม้ อธิบดีคนแรกเป็นชาวอังกฤษ ชื่อ Mr. H. Slade โดยให้สังกัดอยู่ในกระทรวง มหาดไทย นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จึงได้มี ทบวงการเมืองควบคุมกิจการป่าไม้ของประเทศไทยโดย เฉพาะขึ้น และทางราชการก็ได้ถือเอาวันที่ 18 กันยายน ของทุกปี  เป็นวันสถาปนากรมป่าไม้ตลอดมา

ประวัติของกรมป่าไม้

          กรมป่าไม้ มีหน้าที่อารักขาคุ้มครองและจัดการทรัพยากร ป่าไม้อันมีอาณาบริเวณกว้างขวางถึง 187 ล้านไร่ หากคิดเป็นตัวเงินก็จะมีมูลค่า ถึง 89 ,000 ล้านบาท ทั้งนี้ยังมิได้คำนึงถึงประโยชน์ทางอ้อมที่ป่าไม้ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำและป้องกันการผันแปรของลมฟ้าอากาศไปในทางที่เลวร้ายจึงนับว่าเป็นกรมที่มีความสำคัญยิ่งกรมหนึ่งของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นกรมที่เก่าแก่ซึ่งมีอายุครบ 111 ปี ในวัน ที่ 18 กันยายน 2550

          ในระยะเริ่มแรก เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ ทรงสถาปนากรมป่าไม้ขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน ร .ศ.115 (พ.ศ.2439) โดยให้อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยนั้น รัฐบาลได้ อาศัยยืมตัวเจ้าหน้าที่ป่าไม้อังกฤษจากรัฐบาลอินเดีย มาช่วยบริหารราชการป่าไม้ในฐานะเจ้ากรมระหว่างปี พ .ศ.2439 ถึง พ.ศ.2466 รวม 3 คน คือ Mr. H. Slade, Mr. Tottenham และ Mr. W.F. Lloyd ต่อมา ในปี พ.ศ.2466 เมื่อ Mr.W .F. Lloyd ได้กราบถวยบังคมลาออกจาก ราชการแล้ว รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า พระยาดรุพันธ์พิทักษ์ ( นายสนิท พุกกะมาน) ซึ่งจบการศึกษาวิชาการ ป่าไม้จาก Royal Engineering College เมือง Cooper"s Hill ประเทศอังกฤษ และ ได้กลับมารับราชการกรมป่าไม้ เมื่อปี พ. ศ.2446 เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2467 โดยไม่จ้างชาวต่างประเทศเป็นเจ้ากรมนับตั้งแต่ บัดนั้นเป็นต้นมา เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์ ในสมัยต่าง ๆ กรมป่าไม้ได้ย้ายสังกัดถึง 5 ครั้ง ก่อนที่จะมาเป็นส่วนราชการอยู่ในกระทรวงเกษตร

          กล่าวคือ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ .2464 ได้มีประบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้โอนกรมป่าไม้จากกระทรวงมหาดไทยไปขึ้นกระทรวงเกษตราธิการ กรมป่าไม้ได้สังกัดอยู่กระทรวงเกษตรา ธิการประมาณ 13 ปี จึงได้โอนกลับไปสังกัดกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ .2475 และชั่วระยะเวลาเพียง 1 ปี ก็ได้ โอนสังกัดไปขึ้นอยู่กับกระทรวงเศรษฐการเมื่อวัน ที่ 12 พฤษภาคมพ.ศ.2476 และต่อมา เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2477 ได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมป่าไม้ขึ้นอยู่ ในสังกัดทบวงเกษตราธิการของกระทรวงเศรษฐการ เมื่อได้มีการยกฐานะทบวงเกษตราธิการ ขึ้นเป็นกระทรวงเกษตราธิการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2478 กรมป่าไม้จึงได้มา สังกัดอยู่ในกระทรวงเกษตราธิการ และต่อมา เมื่อ พ.ศ.2495 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระ ราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมและบัญญัติให้มีกระทรวง เกษตรขึ้นแทนกระทรวงเกษตราธิการ สำหรับกรมป่าไม้ก็ ยังคงสังกัดอยู่ในกระทรวงเกษตรต่อไปตามเดิม เหตุการณ์ก่อนสถาปนากรมป่าไม้ ประวัติกรมป่าไม้ของประเทศ ไทยได้เริ่มขึ้นในสมัยที่มีการริเริ่ม ทำป่าไม้สักเป็นสินค้าทางภาคเหนือ

          การป่าไม้ใน อดีตมีลักษณะเปลี่ยนแปลง ไปจากปัจจุบันเป็นอันมาก กล่าวคือ ป่าไม้สักใน 5 นครอันได้แก่ นครเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน เจ้าผู้ครองนครเหล่านี้ ได้ยืดถึอเอาว่า ป่าไม้ในเขตท้องที่ดัง กล่าวเป็นทรัพย์สินของตน ผู้ใดจะทำไม้สัก ในป่าท้องที่ใดจะต้องได้รับอนุญาตจาก เจ้าผู้ครองนครนั้น ๆ โดยยอมเสียเงินที่เรียก ว่า "ค่าตอไม้" ตามจำนวนต้นที่จะ ตัดฟันลง นอกจากนั้น เจ้าผู้ครองนครจะ ยกป่าใดในท้องที่ของตนให้แก่ผู้ ใดก็ได้ และเมื่อเจ้าของป่าถึงแก่กรรม ลง ป่าไม้นั้นก็ตกเป็นทรัพย์สินอยู่ในกองมรดกด้วย มิได้มีการควบคุมการทำไม้ในทาง วิชาการเลย เช่น จำนวนไม้ที่จะให้ตัดฟันแต่ ละคราว ขนาดจำกัด หรือจะตัดออกจากป่าตอน ไหน เท่าใด ก็มิได้กำหนดไว้เหตุการณ์ได้เป็นไป เช่นนี้ตลอดมาเป็นเวลาช้านาน จนปรากฎว่า ในระยะหลังการอนุญาตให้ทำป่าไม้ของผู้เป็น เจ้าของป่า มิได้เป็นไปโดยยุติธรรมและเรียบ ร้อย ได้ก่อความยุ่งยากและเกิดกรณีพิพาทระหว่าง ผู้ขออนุญาต ผู้รับอนุญาต และเจ้าของป่าเนือง ๆจนได้มีคำร้องทุกข์ของผู้เดือดร้อนถึงรัฐบาลอยู่เสมอ รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติ สำหรับผู้รักษาเมือง ซึ่งจะทำสัญญากับ ชาวต่างประเทศ จุลศักราช 1236 (พ.ศ.2417) โดย บัญญัติว่า สัญญาที่ผู้รักษาเมือง หรือผู้ครองนคร จะกระทำกับชาวต่างประเทศนั้นจะต้องได้รับ สัตยาบันจากรัฐบาลก่อน จึงจะมีผลใชับังคับได้ และรัฐบาลได้แทรกข้อความที่ว่า"ห้ามมิ ให้เจ้านายเจ้าของป่าออกใบอนุญาตแห่งใด แห่งหนึ่งให้แก่บุคคลเกินกว่า 1 คน" ไว้ ในสัญญาทางพระราชไมตรีอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ .2526 อีกด้วยรัฐบาลได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการที่จะควบคุมการทำป่าไม้ให้รัดกุม ยิ่งขึ้น

          ใน พ.ศ.2436 กระทรวงมหาดไทย จึงได้จ้าง Mr.Castensjold ชาวเดนมาร์กไปตรวจสถานการณ์ ทำป่าไม้สักทางภาคเหนือแต่เมื่อเดินทางไป ถึงจังหวัดตาก ท่านผู้นี้ก็ป่วยหนักและถึง แก่กรรม รัฐบาลจึงต้องจัดหาผู้ชำนาญคนอื่น ให้ดำเนินการต่อไป ในการนี้รัฐบาลอินเดียได้เอื้อเฟื้อให้ยืม Mr. H. Slade ข้าราชการ ผู้ชำนาญและสามารถในการป่าไม้ของพม่ามาใช้ ชั่วคราว Mr. H. Slade ได้มาถึงกรุง เทพฯ เมื่อ พ.ศ.2438 แล้วได้เดินทาง ไปภาคเหนือเพื่อสำรวจกิจกรรมป่าไม้สักของไทย โดย ผ่านจังหวัดต่าง ๆ จนถึงจังหวัดเชียงใหม่ และกลับถึง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2438 ครั้นเมื่อวัน ที่ 10 สิงหาคม 2438 ได้เสนอรายงานผลการสำรวจป่าไม้ ต่อกระทรวงมหาดไทยพร้อมกับได้ชี้ข้อบกพร่องต่าง ๆ ในกิจการป่าไม้ของประเทศไทยอันเนื่องจากเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ

          (1)การป่าไม้ทั้งหมดอยู่ ในความยึดถือครอบครองของเจ้านายของท้อง ที่ แทนที่จะได้อยู่ในความดูแลควบคุม ของรัฐบาลกลางโดยกล่าวว่า การที่เจ้านายฝ่ายเหนือ ได้ทำสัญญาการทำได้ในฐานะเจ้าของป่า แล้วให้รัฐบาลประทับตราสัตยาบัน คล้ายกับว่า รัฐบาลยอม รับรองว่า ป่าไม้เหล่านั้นอยู่ในกรรมสิทธิ์ของเจ้า นายเจ้าของท้องที่ ซึ่งผิดกับทางพม่าและ อินเดียที่ถึอว่า ป่าไม้ทั้งหมดอยู่ในพระราช อำนาจของพระมหากษัตริย์ จะทรงจัดการกับป่าไม้อย่าง ไรก็ได้แล้วแต่จะทรงพระราชดำริเห็น สมควร ในทางปฏิบัติแม้รัฐบาลจะประทับตราสัตยาบันให้ แก่ผู้ได้รับอนุญาตแล้ว เมื่อสัญญาสิ้นอายุก็ปรากฎว่าผู้รับสัญญายังคงทำไม้อยู่ต่อ ไป หรือเมื่อได้ยื่นคำร้องขออนุญาติแล้ว เมื่อสัญญาสิ้นอายุก็ปรากฏว่าผู้รับสัญญายัง คงคำไม้อยู่ต่อไปหรือเมื่อได้ยื่นคำ ร้องขออนุญาตแล้ว ก็ลงมือทำไม้เลยที เดียว นอกจากนี้แล้ว วิธีการขออนุญาตก็ลำบาก ยากเย็น เนื่องจากต้องเสียเงินกินเปล่าแก่เจ้านายเจ้าของป่ามากมาย เมื่อมีผู้ยื่นคำ ร้องขอทำไม้หลายรายก็เกิดแก่งแย่งแข่ง ขันให้เงินกินเปล่ากันขึ้น ทำให้เจ้าของ ป่าพยายามแบ่งป่าออกเป็นแปลงเล็ก ๆ เพื่อจะ มีทางได้เงินมากขึ้น ราคาต้นทุนของไม้ สักในขณะนั้นจึงเขยิบสูงขึ้นเรื่อยๆ

          (2)ในขั้นต้นจำเป็นต้องสำรวจป่าไม้สัก เพื่อ กำนดจำนวนไม้ที่สมควรอนุญาตให้ตัดฟันและควร ระงับการตัดฟันไม้สักมาใช้สอยกันอย่าง เสรี และหันมาส่งเสริมให้ใช้ไม้กระยาเลย แทนเสียบ้าง นอกจากนี้ ราษฎายังได้ตัดฟันไม้สักขนาดเล็กมาใช้ทำเสากันมาก ซึ่งเป้นการทำไม้สักเกินกำลังของป่าไปมากมาย กล่าวโดยหลักการควรถือว่าบรรดาป่าไม้ ที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นเสมือนต้นทุน ซึ่งเป็น ของประเทศและปริมาณเนื้อไม้ที่งอกเงยขึ้นทุกปี เป็นเสมือนดอกเบี้ย ซึ่งอาจนำออกมาใช้สอย ได้เป็นรายปี ไม่ควรแตะต้องต้นทุนเป็น อันขาด แต่ปรากฏว่าสถานการณ์ป่าไม้สักขณะนั้น ได้มี การตัดฟันไม้สักเกินกำลังป่า ถึงประมาณ 3 เท่าครึ่ง จึงควรพยายามลดการทำไม้สักลง ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น

          นอกจาก Mr. H. Slade ได้ชี้แจงข้อบกพร่องดัง กล่าวแล้ว ก็ได้เสนอวิธีแก้ไขไว้หลายประการที่ สำคัญก็คือ รัฐบาลควรต้องเข้าจัดการป่าไม้เสีย เอง ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในมือของเอกชนคนใด คนหนึ่ง ฉะนั้น ป่าไม้สักอันมีค่าของไทยควร จะต้องโอนมาอยู่ในความดูแลควบคุมของ รัฐบาลโดยสิทธิ์ขาด และเพื่อให้การจัดการป่าไม้ของ ประเทศมีเสถียรภาพอันมั่นคง กับรักษาสภาพเช่นนั้น ไว้ได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะจัดตั้ง องค์การในรูปทบวงการเมืองของรัฐบาลควบคุมและ บริหารป่าไม้ขึ้น และให้พนักงานที่ได้รับการอบรม มาโดยเฉพาะเป็นผู้ดำเนินการ เพราะการป่าไม้เป็น วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง และควรออกกฎหมายสำหรับควบคุม กิจการป่าไม้ด้วยนอกจากนี้ ยังได้เสนอให้มี บทบัญญัติ กล่าวถึงการจัดการป่าเป็นป่าสงวนและ การบันทึกสิทธิต่าง ๆ ที่มีอยู่เหนือป่าไม้ การ ป้องกันป่าไม้ให้พ้นจากการถูกบุกรุกทำลาย การเก็บเงินผลประโยชน์และการควบคุมไม้ระหว่างเคลื่อน ที่ การแก้ไขแบบสัญญาอนุญาตทำป่าไม้ที่ใช้อยู่เพื่อมุ่งหนักไปทางการคุ้มครองรักษาป่าไม้มาก กว่าการบำรุงป่า การบำรุงป่านั้นควรเป็นหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้มากกว่า

          สำหรับเงินค่าตอไม้ ก็ควรเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐบาลจัดเก็บเสีย เอง แทนที่จะให้พนักงานของเจ้านายเจ้าของ ป่าดำเนินการ ซึ่งได้เงินค่าตอน้อยกว่าที่ ควรได้ เพราะการทุจริตของพนักงานเหล่านั้น เมื่อกระทรวง มหาดไทยได้รับรายงานของ Mr. H. Slade และ ได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว จึงได้นำความกราบ บังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อ ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยซึ่งก็ได้ทรงพระราชดำริเห็นชอบและพระราชทานพระราชหัตถ์ เลขาที่ 63/385 ลงวันที่ 18 กันยายน ร .ศ.115 (พ.ศ.2439) ถึงเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้น โดยให้สังกัดอยู่ในกระทรวง มหาดไทย นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จึงได้มี ทบวงการเมืองควบคุมกิจการป่าไม้ของประเทศไทยโดย เฉพาะขึ้น และทางราชการก็ได้ถือเอาวันที่ 18 กันยายน ร.ศ.115 (พ.ศ .2439) เป็นวันสถาปนากรมป่าไม้ตลอดมา



ตราสัญลักษณ์กรมป่าไม้

          รูปตราประจำกรมป่าไม้ คือ ตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 กรมป่าไม้ใช้ ตรานี้เป็นตรา ประจำกรมเพราะเป็นหน่วยราชการที่ทรงก่อตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีชื่อกรม อยู่ด้านล่าง พระราชลัญจกรประจำแผ่นดินหรือตราแผ่นดิน องค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นจัดอยู่ในประเภทตราสมัย ใหม่ที่เรียกว่า ตราอาร์ม ผู้ออกแบบคือ หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ส่วนรูปปลายของตรา เป็นรูป เครื่องขัตติยราชอิสริยยศ คือ ส่วนที่อยู่ตรง กลางของตรา เป็นรูปโล่ แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 

          - ส่วนบน เป็นรูปช้างไอยราพต
          - ด้านล่างซ้าย คือ ช้างเผือก
          - ด้านล่างขวา คือ กริช ซึ่งหมายถึง ขอบขัณฑสีมา

          ในรัชสมัยของพระองค์ อันประกอบด้วย สยามส่วนกลาง ส่วนเหนือ และสยามส่วนใต้
          - เหนือโล่ขึ้นไป คือ จักรและตรี เป็นเครื่องหมายแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
          - เหนือรูปจักรและตรี เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ สองข้างของพระมงกุฎเป็นรูปฉัตร 7 ชั้น มีราชสีห์ประคองอยู่
          - ด้านบนซ้ายของโล่ เป็นพระแสงกระบี่อาญาสิทธิ์
          - ด้านบนขวาของโล่ เป็นพระแสงดาบอาญาสิทธิ์
          - รอบโล่ เป็นพระมหาสังวาลนพรัตน์และสังวาลเครื่องราชอิสริยากรณ์จุลจอมเกล้า

ที่มา www.forest.go.th
 


วันสถาปนากรมป่าไม้, วันสถาปนากรมป่าไม้ หมายถึง, วันสถาปนากรมป่าไม้ คือ, วันสถาปนากรมป่าไม้ ความหมาย, วันสถาปนากรมป่าไม้ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu