ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การเลี้ยงนกอีมู, การเลี้ยงนกอีมู หมายถึง, การเลี้ยงนกอีมู คือ, การเลี้ยงนกอีมู ความหมาย, การเลี้ยงนกอีมู คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
การเลี้ยงนกอีมู

นกอีมู (Emu or Kalaya)

- มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dromaius novaehollandiae
- เป็นสัตว์ประเภทนกที่บินไม่ได้ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากนกกระจอกเทศ
- มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย
- หนังมีคุณภาพดี
- ขนใช้เป็นเครื่องประดับและตกแต่งเสื้อผ้า
- เนื้อรสชาติดีคล้ายเนื้อวัว แต่โคเลสเตอรอลต่ำกว่า
- น้ำมันใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางค์ และยาบางชนิด
- ไข่มีสีสันสวยงาม

          สำหรับประเทศไทยก็มีการเลี้ยงนกอีมูกันหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่จะเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์สวยงามตามสวนสาธารณะต่างๆ เท่านั้น และในขณะเดียวกันก็มีผู้ที่สนใจจะตั้งฟาร์มเลี้ยงนกอีมูกันมาก ปัจจัยในการผลิตที่สำคัญต่างๆ ที่จะต้องคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลาคือ
          1. การจัดการด้านการตลาดที่แน่นอนและมีประสิทธิภาพ
          2. การจัดหานกอีมูพันธุ์ดีและมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง
          3. การจัดหาอาหารที่มีคุณภาพและเหมาะสม
          4. จัดระบบากรให้แสงสว่างอย่างถูกต้อง
          5. การจัดการเลี้ยงดูอย่างดี



การผสมพันธุ์นกอีมู

          ทั้งเพศผู้และเพศเมีย จะใช้ผสมพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปี ในอัตราส่วนเพศผู้ 1 ตัว ต่อเพศเมีย 1 ตัว เนื่องจากนกอีมูเป็นสัตว์ที่มีฤดูกาลในการผสมพันธุ์ (Breeding Season) โดยตัวผู้และตัวเมียจะจับคู่กันผสมพันธุ์ แม่นกอีมูจะออกไข่เป็นตับ (Clutch) เหมือนไก่พื้นเมือง ตับละ 5-12 ฟอง ไข่หนักฟองละ 500-700 กรัม เมื่อแม่นกอีมูออกไข่แล้ว พ่อนกจะทำหน้าที่ฟักไข่ ซึ่งใช้เวลาฟักนาน 56 วัน อีกทั้งยังกกและเลี้ยงดูลูกนกด้วย


การจับนกอีมู

          การจับนกอีมูเพื่อการขนย้าย หรือการรักษาจะต้องมีกรงสำหรับจับโดยเฉพาะแยกจากโรงเรือนอื่นและออกแบบให้เหมาะสมโดยจะต้องไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป ความสูงประมาณ 1.5 เมตร และควรจะสร้างจากไม้เพื่อป้องกันการขูดขีดให้นกอีมูเป็นแผล ซึ่งจะทำให้หนังเสียหายและมีผลต่อราคาด้วย ในการจับนกจะต้องทำอย่างอ่อนโยน เพื่อป้องกันนกอีมูตื่นตกใจ

          การขนย้ายนกอีมู รถบรรทุกที่จะใช้ขนย้ายจะต้องแบ่งออกเป็นช่องเล็กๆ ตามขนาดและน้ำหนักของนกที่จะขนย้าย ความสูงของไม้ที่ใช้กั้นแต่ละช่อง จะต้องสูง 1-1.5 เมตร ปริมาณในการขนย้ายตามตารางต่อไปนี้

          สำหรับการขนย้ายอีมูที่อายุมากกว่า 6 เดือน หรือน้ำหนักตั้งแต่ 25 กิโลกรัมขึ้นไป จะต้องคลุมผ้าให้ภายในมืด เพื่ดไม่ให้มองเห็นภายนอกตัวรถบรรทุก แต่ทั้งนี้ภายในต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นรถบรรทุกจะต้องปูด้วยวัสดุรองพื้นที่อ่อนนุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้นกอีมูบาดเจ็บจากการเดินทาง

ที่มา กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์



การให้ผลผลิต

          อายุ (สัปดาห์) 30 40 50 60 น้ำหนักมีชีวิต
น้ำหนักซาก

ไขมัน

น้ำหนักเนื้อ

กระดูก

คอ
หนัง
เล็บ
(กก.)
(กก.)
(%)
(กก.)
(%)
(กก.)
(%)
(กก.)
(%)
(กก.)
(ตร.เมตร)
(เล็บ) 24.2
14.7
60.7
2.0
13.6
8.6
58.5
3.6
24.5
0.6
0.46
6.0 28.7
19.5
67.9
3.1
15.9
11.4
58.4
4.0
20.5
0.8
0.57
6.0 33.2
22.2
66.9
3.9
17.5
12.5
55.8
4.7
21.4
1.0
0.7
6.0 39.4
273.8
70.6
7.7
27.5
14.0
50.1
4.9
17.9
1.0
0.6
6.0

 นอกจากนี้ยังมีไข่ไม่มีเชื้อ หรือไข่ที่ฟักไม่ออก เพื่อใช้ในการวาดรูปหรือแกะสลัก และขนนกซึ่งใช้ประดับเสื้อผ้า



โรงเรือนและสถานที่ตั้งฟาร์มนกอีมู

          นกอีมูเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแถบที่มีอากาศร้อนและแห้ง สามารถเลี้ยงได้ทั้งแบบปล่อยตามธรรมชาติ (Natural Condition) และเลี้ยงขังในโรงเรือน (Intensive Rearing) แต่การเลี้ยงขังและจัดบริเวณภายนอกให้เดินเล่น จะช่วยให้การจัดการเลี้ยงดูสะดวกและควบคุมโรคได้ง่าย ดังนั้น การเลือกสถานที่และากรวางผังจัดตั้งฟาร์มจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยโรงเรือนที่จะก่อสร้างก็จะต้องคำนึงถึงลักษณะและขนาดของโรงเรือนจะต้องเหมาะสมกับสภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม อายุของนกอีมู การจัดการเลี้ยงดู และสามารถป้องกันศัตรู แดด ฝน ได้เป็นอย่างดี

โรงเรือนเลี้ยงนกอีมูสามารถแบ่งได้ตามอายุต่างๆ ดังนี้

ลูกนกอีมู อายุ 0-12 สัปดาห์

1. ขนาดและพื้นที่   
1.1 ลูกนกอีมูอายุ 04- สัปดาห์ ใช้พื้นที่ 3 ตัว ต่อตารางเมตร และเลี้ยงเป็นฝูงได้ไม่เกิน 25 ตัว
1.2 อายุ 5-12 สัปดาห์ ใช้พื้นที่ 3 ตัวต่อตารางเมตร และจะต้องเพิ่มพื้นที่ด้านนอกไว้ให้นกอีมูวิ่งเล่นอีกตัวละ 5 ตารางเมตร จะเลี้ยงเป็นฝูงได้มาก ไม่เกิน 100 ตัว 

2. พื้นที่โรงเรือนจะต้องเรียบและไม่มีเศษวัสดุตกหล่น เช่น ตะปู ลวด เศษผ้า เป็นต้น เพราะลูกนกอีมูอาจจิกกันและเป็นอันตรายได้
 
3. วัสดุรองพื้นจะต้องอ่อนนุ่ม โดยจะต้องหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเปียกหรือจับกันเป็นแผ่นก้อนจะต้องรีบแก้ไขโดยเร็ว และไม่ควรปล่อยให้ลูกนกเดินบนพื้นคอนกรีต หรือพื้นลวด  

4. แสงและความเข้มของแสง ลูกนกต้องการแสงอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ถ้าให้แสงมากกว่าวันละ 16 ชั่วโมง จะทำให้ลูกนกเจริญเติบโตอย่างผิดปกติ หรือพิการ ลูกนก 4 วันแรก ต้องการความเข้มแสงประมาณ 40 ลักซ์ หลังจากนั้นก็ลดลง แต่ต้องไม่น้อยกว่า 20 ลักซ์ จนครบ 12 สัปดาห์ 

5. ระบบระบายอากาศภายในโรงเรือนจะต้องมีการหมุนเวียนอากาศเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถระบายความร้อนหรืออากาศเสียออกไป เช่น ก๊าซแอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซต์ เป็นต้น ระดับของแอมโมเนียในโรงเรือนจะต้องน้อยกว่า 20 ppm.

นกอีมูรุ่น อายุ 12 สัปดาห์ - 6 เดือน

          พื้นที่บริเวณโรงเรือนตัวละครึ่งตารางเมตร และที่วิ่งเล่นอีกตัวละ 40 ตารางเมตร โดยจะสามารถเลี้ยงเป็นฝูงใหญ่ไม่เกิน 250 ตัว 

นกอีมู อายุ 6-18 เดือน

          พื้นที่ที่ใช้เลี้ยงประมาณตัวละ 60 ตารางเมตร นกอีมูหนุ่มสาวอายุมากกว่า 1 ปี จะเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ไม่เกิน 16 ตัว และใช้พื้นที่ 625 ตารางเมตร

นกอีมูพ่อ-แม่พันธุ์

          พ่อ-แม่พันธุ์ 1 คู่ จะใช้พื้นที่ 400 ตารางเมตร เป็นอย่างน้อย โรงเรือนจะต้องมีระบบระบายน้ำเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันไม่ให้คอกชื้นแฉะ ซึ่งนกอีมูไม่ชอบ



อาหารสำหรับนกอีมู

          การให้อาหารนกอีมูจะใช้อาหารไก่ไข่ระยะต่างๆ แต่จะต้องเสริมแร่ธาตุบางชนิด เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดและความต้องการของนกอีมูแต่ละชนิด ซึ่งจะแบ่งความต้องการอาหาร อาหารของนกอีมูแบ่งตามช่วงอายุได้ดังนี้
 
          1. ลูกนก อายุ 0-12 สัปดาห์ ใช้อาหารลูกไก่ไข่ที่มีโปรตีน 18-20% พลังงาน 2,800-3,000 กิโลแคลอรี่ แต่ต้องไม่เสริมอาหารเยื่อใยอื่นๆ ให้อาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
          2. อาหารนกอีมูรุ่น อายุ 12 สัปดาห์ ถึง 18 เดือน ใช้อาหารไก่ไข่รุ่นที่มีโปรตีน 14-15% พลังงาน 2,700-2,800 กิโลแคลอรี่ ให้กินวันละตัวละ 300-400 กรัม และเสริมด้วยหญ้าหรือผักบ้าง
          3. อาหารนกพ่อ-แม่พันธุ์ ใช้อาหารไก่ไข่ระยะไข่ที่มีโปรตีน 16% ให้กินวันละตัวละ 600 กรัม และเสริมด้วยหญ้าหรือผักแคลเซี่ยม 3% ฟอสฟอรัส 0.7% ไลซีน 0.7% เมทไธโอนีน 0.32%

น้ำ       จะต้องมีให้นกกินอย่างเพียงพอและควรตรวจสอบคุณภาพของน้ำที่ใช้เลี้ยงนกด้วย



การฟักไข่นกอีมู

วิธีการฟักไข่ มี 2 วิธี คือ

          1. ให้พ่อนกฟัก โดยพ่อนกจะฟักไข่ได้ครั้งละ 15-20 ฟอง
          2. ใช้ตู้ฟักไข่ ไข่ที่จะนำมาฟัก หากนำออกมาจากห้องเก็บไข่ที่ควบคุมอุณหภูมิจะต้องนำออกมาวางไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ เสียก่อนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง (preheat) แล้วจึงนำเข้าตู้ฟัก

อุณหภูมิและความชื้น

          อุณหภูมิที่ใช้ฟักไข่ คือ 35.250.15 องศาเซลเซียส (95.450.27 องศาฟาเรนไฮด์) ความชื้นสัมพัทธ์ 45% (25 องศาเซลเซียส หรือ 77-78 องศาฟาเรนไฮด์) ถ้าอุณหภูมิและความชื้นสูงขึ้น จะทำให้เวลาในการฟักน้อยลง ในขณะเดียวกัน ถ้าอุณหภูมิและความชื้นต่ำลง จะเพิ่มเวลาในการฟักให้นานยิ่งขึ้น การที่จะนำไข่ชุดใหม่เข้าฟัก จะต้องนำไข่ชุดใหม่ไว้ในถาดชั้นบนของตู้ แล้วย้ายไข่เก่าไว้ถาดชั้นล่าง

การรมควัน  ควรจะทำการรมควันไข่ฟัก 3 ครั้ง คือ
           1. ก่อนการนำเข้าห้องเก็บไข่เพื่อรอเข้าเครื่องฟัก
           2. ระหว่างฟักไข่ หลังจากนำเข้าตู้ฟักไปแล้วอย่างน้อย 3 วัน
           3. ก่อนย้ายจากตู้ฟัก (Setter) ไปตู้เกิด (Hatcher) รมควันด้วยก๊าซอร์มัลดีไฮด์ ในอัตราส่วนระหว่างฟอร์มาลีน 40% จำนวน 40 ซี.ซี. กับด่างทับทิม (KMnO4) 20 กรัม ต่อพื้นที่ 100 ลูกบาศก์ฟุต เป็นเวลา 20 นาที

การกลับไข่

          ควรกลับไข่อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง และควรตรวจดูอุณหภูมิและความชื้นของตู้ฟัก เป็นประจำทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง สำหรับการฟักไข่โดยพ่อนกอีมู พ่อนกลับไข่ประมาณวันละ 9 ครั้ง

การกกลูกนกอีมู

          1. ให้ติดไฟเครื่องกกก่อนที่จะนำลูกนกอีมูลงกกประมาณ 3-4 ชั่วโมง โดยตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 27-28 องศาเซลเซียส และใช้อุณหภูมิขนาดนี้ติดต่อกันไปในระยะสัปดาห์แรกของการกก
          2. ที่ให้น้ำ ให้อาหาร จะต้องมีเพียงพอกับจำนวนลูกนก และสอนให้ลูกนกรู้จักที่ให้น้ำ
          3. เมื่อลูกนกอีมูเข้ากกเรียบร้อยแล้ว ให้อาหารลูกนกครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
          4. ให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมง ในระหว่าง 2 สัปดาห์แรก
          5. ระยะเวลาในการกกลูกนกอีมูประมาณ 6-8 สัปดาห์ ซึ่งอาจมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นกับสภาพอากาศภายนอก และความแข็งแรงของลูกนก
          6. ลดอุณหภูมิในการกกหลังสัปดาห์ที่ 3 ลงเหลือ 20-25 องศาเซลเซียส และกกด้วยอุณหภูมินี้จนครบ 6-8 สัปดาห์
 



ลักษณะของนกอีมู

 ขนาดโตเต็มที่สูงประมาณ 1.50 เมตร
น้ำหนักประมาณ 30-50 กิโลกรัม ตัวเมียโตกว่าตัวผู้
ขนหยาบ แข็ง สีน้ำตาลเทาตลอดลำตัว ลูกนกมีขนสีน้ำตาลเข้ม มีลายทางสีขาวพาด โตแล้วลายจะหายไป หัวสีฟ้าเข้ม
ปาก ขา เท้า มีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ
เท้ามีขนาดใหญ่ นิ้วเท้าข้างละ 3 นิ้ว ยื่นไปข้างหน้า (ไม่มีนิ้วหลัง)
กระดูกหน้าอกแบนราบคล้ายหน้าอกคน ไม่เป็นสัน (Keel)
วิ่งได้เร็ว 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

การเลี้ยงนกอีมู, การเลี้ยงนกอีมู หมายถึง, การเลี้ยงนกอีมู คือ, การเลี้ยงนกอีมู ความหมาย, การเลี้ยงนกอีมู คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu