ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หมายถึง, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ความหมาย, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 3
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระราชประวัติ

            สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวใน สมัยกรุงธนบุรี เสด็จพระราชสมภพ ณ วันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ทรงเป็นสามัญชน กำเนิดในตระกูลแต้ มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นจีนชื่อ ไหฮอง เดินทางจากประเทศจีนมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย แล้วได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นางนกเอี้ยง มีหลักฐาน บันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวียนผู้ทรงปัญญาเฉลียวฉลาด และมีความสามารถด้าน กฎหมายเป็นพิเศษ ได้ช่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความของราษฎรทางภาคเหนืออยู่เนืองๆ เนื่องจากได้ทำ ความดีมีความชอบต่อแผ่นดิน จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองตาก ในเวลาต่อมา

             ในปีพุทธศักราช 2308 - 2309 พระยาตากได้นำไพร่พลลงมาสมทบเพื่อป้องกันกรุงศรีอยุธยาระหว่าง ที่พม่าล้อมกรุงอยู่ ได้ทำการต่อสู้จนเป็นที่เลื่องลือว่า เป็นแม่ทัพที่เข้มแข็งมากที่สุดคนหนึ่ง และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ในวันที่ 4 มกราคม พุทธศักราช 2310 (ก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยา ให้แก่พม่าประมาณ3 เดือน) พระยาตากได้รวบรวมกำลังตีฝ่าวงล้อม ของพม่าไปตั้งมั่น เพื่อที่จะกลับ มากู้เอกราชต่อไป

             จากหลักฐานตามพระราชพงศาวดาร พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลประมาณ 500 คน มุ่งไปทาง ฝั่งทะเลทางทิศตะวันออก ระหว่างเส้นทางที่ผ่านไปนั้นได้ปะทะกับกองกำลังของพม่าหลายครั้ง แต่ก็สามารถ ตีฝ่าไปได้ทุกครั้ง และสามารถรวบรวมไพร่พลตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2310 พม่ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ เจ้าเมืองใหญ่ๆพากันตั้งตัวเป็นเจ้าและควบคุมหัวเมืองใกล้เคียง ไว้ในอำนาจ หลังจากพระยาตากยึดเมืองจันทบุรีได้ ก็ได้ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ และจัดตั้งกองทัพขึ้นที่นี่ โดยมีผู้คนสมัครใจเข้ามาร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งนายสุดจินดาซึ่งต่อมาได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่หนึ่ง

             หลังฤดูมรสุมในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2310 พระยาตากได้ยกกองทัพเรือออกจากจันทบุรีล่องมา ตามฝั่งทะเลในอ่าวไทย จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ต่อสู้จนยึดกรุงธนบุรีคืนจากพม่าได้ ต่อจากนั้น ได้ยกกองทัพเรือต่อไปถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้น เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2310 และสามารถกอบกู้เอกราชให้ชาติไทยได้เป็นผลสำเร็จ โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือนนับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยา ให้กับพม่า หลังจากนั้น ได้ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เนื่องจากทรงเห็นว่ามีชัยภูมิดี ประกอบกับ กรุงศรีอยุธยาเสียหายหนัก จนยากแก่การบูรณะ ให้เหมือนเดิม

             ต่อมาในปีพุทธศักราช 2311 ได้ทรงปราบดา ภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระบรมราชาที่ 4" แต่ประชาชนนิยมเรียกว่า "พระเจ้าตากสิน" ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการทำศึกสงครามอยู่เกือบตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อรวบรวมแผ่นดิน ให้เป็นปึกแผ่น และขับไล่พม่าออกจากราชอาณาจักร ถึงแม้ว่าบ้านเมืองจะอยู่ในภาวะสงครามเป็นส่วนใหญ่ แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม ได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆ เช่น จีน อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ได้โปรดให้มีการ สร้างถนนและขุดคลอง เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคม นอกจากนั้นยังทรงส่งเสริมทางด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและวรรณกรรม รวมทั้งการศึกษาในด้านต่างๆ ของประชาชนอีกด้วย

             หลังจากครองราชย์ได้ประมาณ 15 ปี ได้มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นเหตุให้รัชสมัยของพระองค์ต้อง สิ้นสุดลง สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 ขณะที่มีพระชนมายุได้ 48 ปี ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี และได้ทรงย้ายราชธานีมาฝั่งกรุงเทพมหานคร

             เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะได้ ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้ วันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี (ซึ่งตรงกับวันที่ทรงปราบ ดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์) เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรียังมีมติให้ถวาย พระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"

ที่มา www.wangdermpalace.com



พระราชกรณียกิจด้านการรบ

การกอบกู้กรุงศรีอยุธยา

          หลังจากพระยาตากได้เดินทางจากตราด กลับมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี เพื่อวางแผน ปฏิบัติการรบเพื่อยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธ ยุทธภัณฑ์ ได้ใช้เวลา 3 เดือนในการฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ เมื่อสิ้นฤดูมรสุม ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก ที่กรุงศรีอยุธยา ได้เคลื่อนทัพโดยเลือกเส้นทางน้ำ เนื่องจากการยกกองทัพโดยใช้เส้นทางบกจะล่าช้า ทหาร จะเหนื่อยล้า และพม่าอาจทราบข่าวการเคลื่อนทัพก่อนที่กองทัพไทยจะถึงอยุธยา ทำให้พม่ารู้ตัวและอาจ รวบรวมกำลังต่อสู้ได้ทันท่วงที อีกประการหนึ่งทหารพม่าชำนาญแต่การรบบนบกและที่สำคัญคือพม่าไม่ มีเรือรบ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2310 พระยาตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี (เมื่อพม่ายกทัพมาถึงชานกรุงศรีอยุธยา ได้ยึดเมืองธนบุรีไว้ก่อนที่จะเข้าล้อม กรุงศรีอยุธยา พม่าให้คนไทยชื่อ นายทองอิน รักษาเมืองไว้เป็นเมืองหน้าด่าน) เมื่อพระยาตากยึดเมือง ธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบพม่าจน ราบคาบโดยที่พม่าไม่ทันรู้ตัวและไม่ทันวางแผนต่อสู้ จึงสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ใช้เวลาเพียง 7 เดือนหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา

การปราบชุมนุมต่างๆเพื่อรวมชาติ

          หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาซึ่งเจริญรุ่งเรืองมากว่า 400 ปี ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ เจ้าเมืองใหญ่ๆ ต่างพา กันตั้งตัวเป็นเจ้าและควบคุมหัวเมืองใกล้เคียงไว้ในอำนาจ ที่สำคัญได้แก่ เจ้าพระยาพิษณุโลก เจ้าพิมาย เจ้าพระยา นครศรีธรรมราช และเจ้าพระฝาง ในการฟื้นฟูพระราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าตากสินจำเป็น ต้องทำการปราบปรามนายชุมนุมเหล่านี้ เพื่อขยายอำนาจ ปกครอง ให้ไปถึงยังดินแดนที่เคยเป็นของพระราช อาณาจักรมาก่อน เพื่อ "มีพระราชอาณาเขต ปกแผ่ไปเป็นแผ่นดินเดียว" การทำสงครามเพื่อปราบ ชุมนุมเหล่านี้เริ่มขึ้นหลังพระราชพิธีปราบดาภิเษก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2311 จนถึง พ.ศ. 2314

ศึกพม่าที่บางกุ้ง เขตเมืองสมุทรสงคราม ในปี พ.ศ. 2310

         นับเป็นการศึกครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี เนื่องมาจากทางพม่าทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตัวเป็นใหญ่ จึงสั่งให้เจ้าเมืองทวายเข้าสืบข่าวเพื่อที่จะกำจัดเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวจึงโปรดให้จัด กองทัพไปขับไล่กองทัพพม่า - มอญ ทหารพม่าเป็นฝ่ายแพ้ต้องถอยทัพกลับทางเมืองทวาย โดยทหาร ไทยสามารถยึดเรือรบอาวุธและเสบียงอาหารของพม่าไว้ได้

ศึกพม่าที่บางแก้ว ในปี พ.ศ. 2317

         เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวว่าพม่ายกพลตามพวกมอญที่หนีเข้ามาในเขตไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพมุ่งตรงไปยังราชบุรี โดยทรงบัญชาการทัพด้วยพระองค์เอง ทรงตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าและลอบตี ตัดทางลำเลียงเสบียงอาหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจากพระยายมราช ในที่สุดพม่าจึงต้องยอมแพ้ ชัยชนะ ในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้คนที่หลบซ่อนตามที่ต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากหมดความกลัว เกรงพม่า นับเป็นสงครามแบบจิตวิทยาโดยแท้

ศึกตีเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. 2321

      พระวอ เสนาบดีเมืองเวียงจันทน์ มีเรื่องขัดแย้งกับเจ้าสิริบุญสารซึ่งเป็นเจ้าเมือง จึงเข้ามาพึ่งเจ้าเมือง จำปาศักดิ์ ซึ่งขึ้นต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่เมื่อไทยยกทัพกลับไป เจ้าสิริบุญสารได้ให้คนมาฆ่าพระวอ สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกและพระยาสุรสีห์ยกกองทัพไปตีเมือง เวียงจันทน์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าเมืองหลวงพระบาง ทัพไทยล้อมอยู่นาน 4 เดือน พระเจ้า กรุงศรีสันตนาคนหุตจึงหลบหนีไป ทัพกรุงธนบุรีจึงตีได้เวียงจันทน์ หลวงพระบาง และล้านช้าง ทั้งหมด พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาประดิษฐานที่กรุงธนบุรีในคราวนี้ด้วย




พระราชกรณียกิจด้านทั่วไป

ด้านการปกครอง ยังคงใช้ระบบการปกครองแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนด้านกฎหมาย เมื่อครั้งกรุงแตก กฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายหายสูญไปมาก จึงโปรดให้ทำการสืบเสาะค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ 1 ใน 10 และโปรดให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดให้คงไว้ และเป็นการแก้ไขเพื่อให้ราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนัน ให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้นแก่ศาลแทนนายตราสิทธิขาด และยังห้ามนายตรา นายบ่อนออกเงินทดรองให้ผู้เล่น เกาะกุม ผูกมัด จำจอง เร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรเกือบไม่มี เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวง ก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เฝ้าตามรายทาง โดยไม่ต้องมีพนักงานตำรวจแม่นปืนคอยยิงราษฎร ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้

ด้านการทหาร ทรงรวบรวมคนไทยที่แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า 5 ก๊ก และปราบปรามก๊กต่าง ๆ ทำสงครามกับพม่า ขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และกัมพูชา

ด้านเศรษฐกิจ เนื่องในสมัยกรุงธนบุรี เป็นระยะเวลาที่สร้างบ้านเมืองกันใหม่ การค้าเจริญรุ่งเรืองทั้งของหลวงและของราษฎร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปค้าขายทางด้านตะวันออกไปถึงเมืองจีน ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือถึงอินเดียตอนใต้ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการค้าของหลวงช่วยบรรเทาภาระภาษีของราษฎรไปได้มาก

สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขายทางเรือ ซึ่งอำนวยผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่องานสร้างชาติ ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ ทั้งยังฝึกให้คนไทยเชี่ยวชาญการค้าขาย ป้องกันมิให้การค้าตกไปอยู่ในมือต่างชาติ

ด้านการคมนาคม ในยามว่างจากศึกสงคราม จะโปรดให้ตัดถนนและขุดคลองมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในทางค้าขาย ทรงยกเลิกความคิดแนวเก่าที่ว่าหากถนนหนทาง การคมนาคมมีมากแล้ว จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ข้าศึกศัตรู และพวกก่อการจลาจล แต่กลับทรงเห็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า ดังนั้นในฤดูหนาวหากว่างจากศึกสงคราม ก็จะโปรดให้ตัดถนน และขุดคลอง จะเห็นได้จากแนวถนนเก่า ๆ ในเขตธนบุรี ซึ่งมีอยู่มากสาย ส่วนการขุดชำระคลองมักมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ เช่น คลองท่าขามจากนครศรีธรรมราชไปออกทะเลเป็นต้น

ด้านศิลปกรรม ในสมัยนี้ แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีจะมีการงานศึกสงครามแทบจะมิได้ว่างเว้นก็ตาม แต่ก็ทรงหาโอกาสฟื้นฟู และบำรุงศิลปกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านนาฏดุริยางค์ และวรรณกรรม ด้านนาฏดุริยางค์โปรดให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างบรรยากาศที่รื่นเริงครึกครื้นเหมือนครั้งกรุงเก่านับเป็นวิธีบำรุงขวัญที่ใกล้ตัวราษฎรที่สุด พระราชทานโอกาสให้ประชาชนทั่วไป เปิดการสอนและออกโรงเล่นได้โดยอิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็นเครื่องต้นเครื่องทรงก็แต่งกันได้ตามลักษณะเรื่อง แม้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเองก็คงจะทรงสนพระทัยในกิจการด้านนี้มิใช่น้อย ด้วยมักจะโปรดให้มีละครและการละเล่นอย่างมโหฬารในงานสมโภชอยู่เนือง ๆ

สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ไว้ 4 เล่ม สมุดไทยแบ่งเป็นตอนไว้ 4 ตอน คือ
เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ
เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยววานรินจนท้าวมาลีวราชมา
เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา จนทศกรรฐ์เข้าเมือง
เล่ม 4 ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ


สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หมายถึง, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ความหมาย, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu