ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สำนักงานศาลยุติธรรม, สำนักงานศาลยุติธรรม หมายถึง, สำนักงานศาลยุติธรรม คือ, สำนักงานศาลยุติธรรม ความหมาย, สำนักงานศาลยุติธรรม คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
สำนักงานศาลยุติธรรม

ประวัติสำนักงานศาลยุติธรรม
          นับจากวันที่ 20 สิงหาคม 2543 ศาลยุติธรรมที่เคยสังกัดอยู่กับกระทรวงยุติธรรมมากว่า 108ปี ได้แยกออกเป็นองค์กรอิสระ โดยมีหน่วยงานธุรการที่เรียกว่า สำนักงานศาลยุติธรรม และมี เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถือเป็นการปฏิรูปการ ศาลยุติธรรมครั้งสำคัญ นับเนื่องจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5ทรงปฏิรูป การศาลในรัชสมัยของพระองค์แล้ว ทั้งนี้ด้วยเจตนารมณ์เพื่อให้ศาลยุติธรรมมีความเป็นอิสระอย่าง แท้จริง ให้สามารถดุลและคานกับอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหารได้อย่างเหมาะสม แต่เดิมนั้น แม้ว่าอำนาจตุลาการในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีภายใต้พระปรมาภิไธย มีความเป็นอิสระ แต่การ ที่งานธุรการของศาลอยู่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นองค์กรของฝ่ายบริหาร อาจทำให้ความเป็น อิสระของผู้พิพากษาถูกบั่นทอนไปได้ ทั้งนี้ ด้วยตามระบบการศาลยุติธรรมเดิม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรมมีอำนาจที่ จะสั่งให้ผู้พิพากษาที่มีตำแหน่งต่ำกว่าประธานศาลฎีกาไปช่วยราชการที่ ศาลอื่นในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิมได้ นอกจากนี้ยังมีอำนาจเสนอบัญชีรายชื่อการพิจารณา ความดีความชอบ และการแต่งตั้ง โยกย้ายผู้พิพากษา อันทำให้เสถียรภาพ ของผู้พิพากษาสั่นครอนเนื่อง จากหวั่นเกรงว่าอาจถูกกระทรวงยุติธรรมแทรกแซงไม่ว่าในทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งนี้ตราบใดที่ศาลยังสังกัดอยู่ในกระทรวงยุติธรรม รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจึงได้แยกอำนาจตุลาการออกจาก อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหารอย่างเบ็ดเสร็จด้วยการให้ศาลยุติธรรมมีหน่วยงานธุรการเป็นอิสระ ที่เรียกว่า สำนักงานศาลยุติธรรม 



พันธกิจเชิงยุทธศาสตร์ สำนักงานศาลยุติธรรม

                การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ศาลยุติธรรมจะต้องกำหนด พันธกิจให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม ดังนี้
พันธกิจที่ 1     การอำนวยความยุติธรรม 
                         -   การพิจารณาพิพากษาคดี
                         -   การไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอื่น
                         -   การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
พันธกิจที่ 2     การสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรม 
พันธกิจที่ 3     การประสานความร่วมมือกับยุทธศาสตร์ชาติด้าน ข้อพิพาทในเชิงเศรษฐกิจภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย 
พันธกิจที่ 4     การสนับสนุนและพัฒนาความร่วมมือด้านการ ยุติธรรม ทั้งในและระหว่างประเทศ 
พันธกิจที่ 5     การให้บริการประชาชนและสังคมเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน 

สำนักงานศาลยุติธรรม, สำนักงานศาลยุติธรรม หมายถึง, สำนักงานศาลยุติธรรม คือ, สำนักงานศาลยุติธรรม ความหมาย, สำนักงานศาลยุติธรรม คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu