ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนาศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ,โกรธ,หลง,ต้องแก้ด้วยศีล,สมาธิ,ปัญญา?, ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนาศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ,โกรธ,หลง,ต้องแก้ด้วยศีล,สมาธิ,ปัญญา? หมายถึง, ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนาศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ,โกรธ,หลง,ต้องแก้ด้วยศีล,สมาธิ,ปัญญา? คือ, ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนาศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ,โกรธ,หลง,ต้องแก้ด้วยศีล,สมาธิ,ปัญญา? ความหมาย, ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนาศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ,โกรธ,หลง,ต้องแก้ด้วยศีล,สมาธิ,ปัญญา? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนาศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ,โกรธ,หลง,ต้องแก้ด้วยศีล,สมาธิ,ปัญญา?

พระพุทธศาสนาแบ่งความรักออกเป็นระดับต่างๆได้ ๖ ระดับครับ ปิยะ -- gt เปมะ -- gt ฉันทะ -- gt ศรัทธา -- gt เมตตา -- gt กรุณา ปิยะ เป็นมุมมองของความรักที่มองจากตัวเองออกไป คือการไปรักคนอื่น เช่น ปิยะมหาราช คือเรารักพระราชา เป็นความรักจากตัวเราออกไปหาพระราชานั่นเองครับ หรือบุคคลต่างๆอันเป็นที่รักของเราก็เรียกว่าปิยะชน มุมมองของความรักในความเป็นปิยะนั้น ที่ครองความเป็นระดับล่างที่สุดก็เพราะยังเกี่ยวเนื่องด้วยกามอยู่ครับ ลองพิจารณาความรักในลำดับสูงขึ้นไปจะเข้าใจมากขึ้นครับ เปมะ เป็นมุมมองความรักจากภายนอกเข้ามาหาตัวเราเอง เช่น ความรักเสมอด้วยตนไม่มี ท่านก็ใช้คำว่าเปมะ นัตถิ อัตตะ สะมัง เปมัง หรือ เปมะโต ชายะตี โสโก ความโศกเกิดจากความรัก ทั้งนี้เพราะเรารู้สึกรัก จึงรู้สึกโศก เพราะความโศกนั้นเป็นสิ่งที่ตนเองรู้สึกอยู่ จึงเป็นมุมมองที่มองเข้ามาหาตัวเรา ความรักแบบนี้ที่สูงขึ้นจากปิยะก็เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับกามน้อยลงครับ ฉันทะ คือความรักที่ละเอียดจนกลายเป็นความพอใจครับ ส่วนมากเน้นในการกระทำอะไรต่างๆ ดังนั้นจะเป็นไปในเรื่องการงานซะส่วนใหญ่ คนเราหากพอใจการงานหรือสิ่งที่ตัวเองทำก็จะรักการงานหรือสิ่งนั้นๆไปด้วยครับ จะเห็นว่าความรักแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับกามเลยหากเป็นเรื่องงานการ ศรัทธา คือความรักที่ละเอียดขึ้นอีกจนกลายเป็นความเลื่อมใส ลักษณะของศรัทธาคือความแล่นไป คือคนเราหากศรัทธาในสิ่งไหน ก็จะแล่นไปในสิ่งนั้น ความรักแบบนี้ยิ่งออกห่างจากกามขึ้นมาอีกระดับครับ มันจึงสูงขึ้นไปอีก แต่ว่าความรักในระดับที่ผ่านมาทั้งหมดนั้น ยังเกี่ยวเนื่องกับตัวเราอยู่ครับ เมตตา คือความรักที่ละเอียดขึ้นมาอีกขั้นนึงครับ เพราะเมตตานั้นมีแต่ปรารถนาให้ผู้อื่นได้ดี ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับตัวเราแล้ว เป็นความรักที่ยินดีต่อผู้อื่นอย่างจริงใจและไม่มีกามเจือปนอยู่ด้วย ดังนั้นจึงอยู่ในระดับสูงขึ้นอีก ความรักในระดับเมตตานี้แหล่ะครับ ที่ค้ำจุนโลกนี้เอาไว้ โลโก ปัตถัมภิกา เมตตา กรุณา คือความรักในระดับสูงที่สุดครับ เพราะเนื่องจากเมตตานั้นแรงกล้าจนทำให้เรากระทำการบางอย่างลงไปเพื่อให้ผู้อื่นได้ดี กรุณาคือการลงมือกระทำครับซึ่งต้องอาศัยความพยายามเข้ามาร่วมด้วย และความพยายามบางอย่างอาจต้องอาศัยความอดทนเข้ามาประกอบด้วยอีกจึงจะทำได้สำเร็จ ทำให้ต้องอาศัยคุณธรรมอื่นๆเข้ามาประกอบด้วย ความรักชนิดนึ้จึงอยู่ในระดับที่สูงที่สุดครับนอกเหนือจากความรัก ๖ ระดับแล้วยังจัดลักษณะของความรักออกเป็น ๘ มิติอีกครับ -- message -- -- sig -- ชักจะน่าสนใจขึ้นอีกใช่มั้ยครับอืมม หากมีโอกาส ผมจะพูดถึงระดับของความเป็นมนุษย์ของเราครับ มี ๖ ระดับ ความรักใน ๘ มิติจริงๆแล้วก็จะไป match เข้ากับระดับของความเป็นมนุษย์ ๖ ระดับนั่นเอง กล่าวคือ มิติที่ ๑ ความรักของสัตว์นรก - เป็นความรักในระดับที่ต่ำที่สุด ลักษณะของสัตว์นรกคือความโกรธและความพยาบาทครับ ความรักแบบนี้จึงเป็นความรักที่รุนแรง เปรียบดังสภาพของนรกภูมิ เช่น ถ้าฉันไม่ได้เธอ คนอื่นก็ต้องไม่ได้เธอเช่นกัน การข่มขืนแล้วฆ่า การกระทำชำเรา ใช้ความรุนแรง เต็มไปด้วยความคิดอาฆาตพยาบาทและการทำลาย การมีความรักแบบนี้ก็เป็นการบอกภูมิของตัวเองเช่นกันครับ ว่าเมื่อก่อนเราเคยเป็นอะไรมา มิติที่ ๒ ความรักของเปรต - ลักษณะของเปรตคือความโลภครับ โลภจนเกินขอบเขต โลภจนเกินพอดี ความรักแบบนี้มีแต่อยากจะได้ อยากจะครอบครอง แม้ไม่ได้ก็ต้องหาวิธีเอาให้ได้ ถือประโยชน์ในความโลภเป็นใหญ่ เช่น หากเราแต่งงานกัน ทรัพย์สินของเขาต้องมาเป็นของเราส่วนหนึ่ง หรือเราจะได้มีผลประโยชน์ในธุรกิจของเขา เมื่อไหร่ที่ขัดแย้งผลประโยชน์กันก็พร้อมที่จะทำผิดเอารัดเอาเปรียบหรือทำลายกัน เอาเป็นว่าลักษณะเด่นที่แผดเผาอยู่ในใจคือความโลภนั่นเอง มิติที่ ๓ ความรักของอสุรกาย - ลักษณะของอสูรคือความต้องการอำนาจครับ หลงอยู่ในเรื่องของอำนาจ ถ้าไม่มีอำนาจซะเองก็อยากอยู่ในอำนาจปกครองที่ทำให้ตัวเองเป็นใหญ่ได้หรืออุ่นใจได้ เช่น ต้องการคนที่มีอำนาจมากกว่าตนมาดูแลปกครองตน หรือหากได้รักกัน เราจะกลายเป็นผู้มีอำนาจปกครองทันที เป็นความรักที่ต้องการอำนาจอิทธิพลครับ สามมิติที่ผ่านมานี้เป็นรากเหง้าของกิเลสคือโลภโกรธหลงทั้งสิ้นครับ มิติที่ ๔ ความรักของเดรัจฉาน - ลักษณะนั้นสังเกตุได้จากสัตว์ต่างๆที่อยุ่รอบตัวเราได้เลยครับ สัตว์ทั้งหลายทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นธรรมดา สมสู่กันอย่างไม่เลือกอาวุโสและสายอุทร พร้อมที่จะชักจูงกันไปในทางที่ไม่ดีเช่นการเล่นการพนัน การกินเหล้าเมายา การเสพยาเสพติด ซึ่งสิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะชักนำไปสู่ความไม่เจริญทั้งหลายต่อไป มิตืที่ ๕ ความรักของมนุษย์ - ลักษณะของมนุษย์คือ ใจสูงครับ เคยอธิบายไว้แล้วว่า ใจสูงในที่นี้หมายถึงเคารพสิทธิของผู้อื่น ความรักในการเคารพสิทธิของผู้อื่นนั้นอย่างหยาบๆคือจะไม่ทำร้ายกันถึงชีวิต จะไม่โลภลักทรัพย์ใครมา จะไม่ข่มเหงน้ำใจแย่งชิงคนรักของผู้อื่น จะไม่โกหกกันเพราะสิทธิของผู้อื่นในการได้รับรู้ความจริง และจะไม่ทำตัวเองให้หลงสติด้วยการดื่มสุราหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด นอกจากนั้น ความรักของมนุษย์นั้นให้เกียรติซี่งกันและกัน มีคู่เพียงคนเดียวและชักนำกันไปสู่ความเจริญต่อไปครับ ดังนั้นคนที่มีความรักในมิติที่ ๕ จะไม่ใช้ความรุนแรง หรือรังสีแห่งการทำลายล้างและอานุภาพจะเจือจางกว่ามิติที่ ๑ มาก แม้จะผิดหวังแค่ไหนก็ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน มิติที่ ๖ ความรักของเทพ - เทพมีคุณธรรมเหมือนมนุษย์ เพียงแต่เพิ่มคุณธรรมเพิ่มอีกสองข้อคือความละอายต่อบาปที่ทำลงไปแล้ว กับละอายต่อบาปที่กำลังจะทำ คุณธรรมสองข้อนี้สะท้อนความรักของเทพคือไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อนและมีความปรองดองในหมู่คณะ ฉะนั้นความรักแบบนี้จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมเพรียงกันและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นความรักที่สวยงามยิ่งขึ้น มิติที่ ๗ ความรักของพรหม - ลักษณะของพรมหที่ชัดเจนคือพรหมวิหารธรรมมีสี่อย่างคือเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ครับ ดังนั้นเมื่อกลับไปดูระดับของความรักข้างบน เราจะทราบได้ว่าความรักระดับนี้ทั้งสูงส่งและสวยงามเพราะบริสุทธิ์ด้วยปรารถนาดีต่อผู้อื่นโดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง ความรักแบบนี้ใช่ว่าจะหายากซะทีเดียวนะครับ ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆก็เช่น พ่อแม่รักลูก ครูบาอาจารย์รักศิษย์ เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินรักพสกนิกร พสกนิกรรักแผ่นดินที่อาศัยรักประเทศชาติ หรือการรักป่าเขารักธรรมชาติต้องการฟื้นฟูรักษา หรือนักการเมืองรักประชาชน แม้แต่เราเองกระทำความตั้งใจไว้ให้ดี แล้วทำทานกับขอทานก็ยังเข้าข่ายข้อนี้ได้ครับ มิติที่ ๘ ความรักของพระอริยเจ้า - พระอริยเจ้าไถ่ถอนตนเองจากกิเลสแล้ว เมื่อกิจที่ต้องทำของตนเองหมดแล้ว ความเป็นอยู่ต่อจากนั้นไปก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนเดียวครับ เพราะไม่ว่าจะพัฒนาตนเองอย่างไรมันก็ล้นออกมาเสียแล้วเพรามันเต็มแล้ว ดังนั้นส่วนที่ล้นออกมานั้นสามารถนำไปให้ประโยชน์กับผู้อื่นได้ครับ ความรักของพระอริยเจ้าสูงสุดเพราะบริสุทธิ์โดยไม่มีกิเลสเกาะ ต่างกับมิติที่ ๗ เพราะมิติที่ ๗ ยังมีกิเลสอยู่ และกิเลสเหล่านั้นอาจรบกวนความเพียรของผู้มีความรักในมิติที่ ๗ ให้เศร้าหมองได้ นี่เป็นความรักในมิติที่ ๘ ครับ เมื่อได้เห็นได้รับรู้ระดับของความรักต่างๆแล้ว เราก็จะทราบว่าตัวเองนั้นอยู่ตรงจุดไหน มนุษย์นั้นได้เปรียบสิ่งมีชิวิตอื่นตรงความสามารถในการพัฒนาตนเองครับ เราตัดสินใจเปลี่ยนแปลงตนเองได้ตั้งแต่ตอนนี้ และสามรถประกอบความเพียรได้ทันทีตั้งแต่ในเวลาที่ตัดสินใจลงไป วิธีการพัฒนาตนเองนั้น หากพิจารณาย้อนกลับไปดูความรักเหล่านี้อีกรอบ เราก็จะพบว่าต้นเหตุที่จะทำให้ความรักของเราหม่นหมองนั้นก็คือกิเลสนั่นเอง หากคุณอยากมีเงินเก็บ คุณก็ต้องเริ่มฝากเงินเข้าธนาคาร หากคุณไม่ถอนซะอย่าง ยังไงๆคุณก็ต้องมีเงินจนได้ การกำจัดกิเลสก็เหมือนกันครับ คนเราพัฒนาตนเองได้ด้วยการไม่ทำให้กิเลสตนเองเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มน้อยๆ และในขณะเดียวกันก็พยายามกำจัดกิเลสที่มีอยู่ให้หมดไป ทั้งหมดทั้งปวงจะทำได้ก็ด้วย ความเพียรครับ และพื้นฐานของความเพียรนั้นก็คือ ความอดทนนั่นเอง ขอให้มีสติในทุกๆวันนะครับ โชคดีครับ ศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ โกรธ หลง ต้องแก้ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา

คำตอบ

อ่อนเยาว์วัย ห่างไกลโรคภัย ฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ   สัดส่วนรูปร่าง ระบบเผ่าผลาญ   โรคกระเพาะ   ปวดท้องประจำเดือน ภูมิแพ้   หอบหืดชิส   ปวดหัวไมเกรน ผมหงอก   นอนไม่หลับ   ระบบขับถ่าย คืนความเยาว์วัย   เป็นหนุ่มสาว 10-20 ปี       คลิ๊กเลยค่ะ คลิ๊กเลยค่ะ

ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนาศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ,โกรธ,หลง,ต้องแก้ด้วยศีล,สมาธิ,ปัญญา, ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนาศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ,โกรธ,หลง,ต้องแก้ด้วยศีล,สมาธิ,ปัญญา หมายถึง, ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนาศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ,โกรธ,หลง,ต้องแก้ด้วยศีล,สมาธิ,ปัญญา คือ, ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนาศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ,โกรธ,หลง,ต้องแก้ด้วยศีล,สมาธิ,ปัญญา ความหมาย, ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนาศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ,โกรธ,หลง,ต้องแก้ด้วยศีล,สมาธิ,ปัญญา คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu