ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เหตุใดเวลาเศร้า ดีใจ มนุษย์จึงมีน้ำตา?, เหตุใดเวลาเศร้า ดีใจ มนุษย์จึงมีน้ำตา? หมายถึง, เหตุใดเวลาเศร้า ดีใจ มนุษย์จึงมีน้ำตา? คือ, เหตุใดเวลาเศร้า ดีใจ มนุษย์จึงมีน้ำตา? ความหมาย, เหตุใดเวลาเศร้า ดีใจ มนุษย์จึงมีน้ำตา? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

เหตุใดเวลาเศร้า ดีใจ มนุษย์จึงมีน้ำตา?

 เหตุใดเวลาเศร้า ดีใจ มนุษย์จึงมีน้ำตา

คำตอบ

                    ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำให้มนุษย์มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัว นอกจากจะทำหน้าที่ในการมองเห็นแล้วดวงตายังสามารถแสดงอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ได้ด้วยจนมีคำเปรียบเปรยว่า | ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ | เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะดีใจ หรือเสียใจจะแสดงความรู้สึกออกมาทางสีหน้าและแววตา บางคนดีใจก็ร้องไห้ เสียใจก็ร้องไห้ เพราะเหตุใดเมื่อรู้สึกเศร้า ดีใจ เสียใจจึงมีน้ำตาไหลออกมาจากดวงตา                   ดร วัลลภ ปิยะมโนธรรม ที่ปรึกษาโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อธิบายว่า เวลาคนเราเกิดอารมณ์ดีใจ เสียใจ เศร้าใจ หรือ รู้สึกปลื้มปิติ น้ำตาก็จะไหลออกมา เนื่องจากส่วนของสมองที่ควบคุมอารมณ์ อยู่ที่บริเวณใต้ตาพอดี สมองส่วนนี้จะทำหน้าที่หลีกเลี่ยงความทุกข์ ต้องการที่จะปลดปล่อยความทุกข์ และต้องการความสุข เมื่อมีความทุกข์มนุษย์ก็ต้องการที่จะปลดปล่อยความทุกข์นั้นออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นทำให้เสียใจหรือเจ็บปวดมาก น้ำตาก็จะไหลออกมา เวลาดีใจมีความสุขก็จะมีอารมณ์มากระตุ้นทำให้น้ำตาไหลออกมาได้อีก                   เพราะฉะนั้นน้ำตาสามารถไหลออกมาได้ทุกๆ อารมณ์ เช่น เมื่อรู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกผิด หรือในขณะที่ดูภาพยนตร์หรือดู โทรทัศน์เมื่อเห็นพ่อแม่ลูกโอบกอดกันน้ำตาก็จะไหลออกมา เพราะเราไม่เคยปฏิบัติกับพ่อแม่ การร้องไห้ยังสามารถบ่งบอกได้ว่าอารมณ์ของคน คนนั้นเป็นเช่นไร เช่น น้ำตาที่ไหลลงมาจากปลายตามักจะเกิดจากความเครียด ถ้าเครียดมากๆ น้ำตาจะไหลออกมาจากบริเวณตรงกลางของดวงตา ถ้าเป็นโรคหรือซึมเศร้าน้ำตาก็จะไหลออกจากบริเวณมุมของดวงตา เมื่อเกิดความรู้สึกปลื้มปิติน้ำตาจะไหลออกมาเต็มทั้งดวงตา เพราะเรามีทั้งความสุข และความดีใจจึงปลดปล่อยความทุกข์ ความเจ็บปวด ความกดดัน ออกมาพร้อมๆกัน TIPS                   นักชีวเคมีแห่งศูนย์วิจัยน้ำตา William Frey ซึ่งศึกษาวิจัยเรื่องของน้ำตามานานกว่า 15 ปี รายงานว่าการหลั่งน้ำตาถูกควบคุมโดยต่อมน้ำตา ซึ่งจะกำหนดความเข้มของน้ำตา และควบคุมปริมาณการขับถ่ายธาตุแมงกานีสรวมทั้งแร่ธาตุอื่นๆ ที่ร่างกายสร้างขึ้นขณะ อารมณ์เปลี่ยนแปลง และพบว่า ปริมาณของแร่ธาตุต่างๆ ในน้ำตานั้น มากกว่าในกระแสเลือดถึง 30 เท่า ผู้ที่ร้องไห้จะรู้สึกสบายขึ้น เพราะร่างกายได้ขจัดสารเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีความทุกข์ออกไปจากร่างกายพร้อมน้ำตา ที่มา วิทยาศาสตร์รอบตัว จาก สสวท บทความ tabid 93 articleType ArticleView articleId 38 -- aspx

เหตุใดเวลาเศร้า ดีใจ มนุษย์จึงมีน้ำตา, เหตุใดเวลาเศร้า ดีใจ มนุษย์จึงมีน้ำตา หมายถึง, เหตุใดเวลาเศร้า ดีใจ มนุษย์จึงมีน้ำตา คือ, เหตุใดเวลาเศร้า ดีใจ มนุษย์จึงมีน้ำตา ความหมาย, เหตุใดเวลาเศร้า ดีใจ มนุษย์จึงมีน้ำตา คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu