ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สรีรวิทยา, สรีรวิทยา หมายถึง, สรีรวิทยา คือ, สรีรวิทยา ความหมาย, สรีรวิทยา คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
สรีรวิทยา

          สรีรวิทยา (Physiology) มีต้นกำเนิดมาจากนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสรีรวิทยาคนแรกของโลกตะวันตก คือ ฮีโรฟิลัส (Herophirus) ซึ่งอยู่ในสมัยประมาณ 335-280 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยนั้นวิชาสรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ (anatomy) ยังไม่มีการแบ่งแยก แต่มักศึกษาไปด้วยกัน ซึ่งวิชาทั้งสองเป็นพื้นฐานที่สำคัญของความรู้ความเข้าใจทางการแพทย์ ต่อมาวิชาสรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ ร่วมกับวิชาอื่นๆ เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ จิตวิทยา ฯลฯ ก่อให้เกิดสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ใหม่ๆ ขึ้นมากมายซึ่งมีขอบเขตซ้ำซ้อนพอกันสมควร จนบางครั้ง อาจแบ่งแยกกันลำบาก ตัวย่างเช่น ชีวเคมี พันธุศาสตร์ เภสัชวิทยา วิศวกรรม การแพทย์ ชีวฟิสิกส์ ชีววิทยาระดับโมเลกุล ชีววิทยาของเซลล์ และประสาทวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

          โดยทั่วไป สรีรวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ กลไก และกระบวนการควบคุมการทำงานของเซลล์ อวัยวะ หรือระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ในคนปกติสภาวะแวดล้อมภายในร่างกาย อาทิเช่น ความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย น้ำตาลในเลือด pH หรือความดันย่อยของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด จะได้รับการควบคุมโดยกระบวนการที่สลับซับซ้อนให้อยู่ในระดับที่เกือบคงที่อยู่ตลอดเวลา แม้จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมภายนอกก็ตาม ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า "การทรงสภาพปกติในกาย" (homeostasis) การศึกษาค้นคว้าเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความกระจ่างในกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทรงสภาพปกติในกายเป็นหัวใจของการศึกษาวิจัยทางสรีรวิทยา

          ความเจริญก้าวหน้าในสาขาวิชาใหม่ ๆ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในปัจจุบัน เช่น ชีววิทยาระดับโมเลกุลและชีววิทยาของเซลล์ ทำให้นักสรีรวิทยาจำนวนหนึ่งมุ่งเน้นที่จะศึกษาลึกลงไปในระดับเซลล์และโมเลกุล จนบางครั้งไม่ให้ความสำคัญ หรือสนใจปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับร่างกาย เนื่องจากกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกายมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน และยังอาจมีปัจจัยและตัวแปรที่ยังไม่รู้อยู่อีกมาก อย่างไรก็ตามในการศึกษาทางสรีรวิทยา ยังมีความจำเป็นที่จะต้งจำแนกแจกแจงและวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ของร่างกายออกเป็นระบบ อวัยวะ และเซลล์ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ

สรีรวิทยา, สรีรวิทยา หมายถึง, สรีรวิทยา คือ, สรีรวิทยา ความหมาย, สรีรวิทยา คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu