ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ประวัติศาสนาพุทธ, ประวัติศาสนาพุทธ หมายถึง, ประวัติศาสนาพุทธ คือ, ประวัติศาสนาพุทธ ความหมาย, ประวัติศาสนาพุทธ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 3
ประวัติศาสนาพุทธ

           พระพุทธศาสนาคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดในประเทศอินเดีย ก่อนพุทธศักราช  ๔๕  ปี (พระพุทธศาสนาเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน) ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนาคือเป็นศาสนาแห่งความรู้และความเป็นจริง  เพราะเป็นศาสนาแห่งการตรัสรู้จากพระปัญญาอันยิ่งของพระพุทธองค์เอง พระธรรมที่ทรงตรัสรู้ คืออริยสัจ ๔  ก็เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ กล่าวคือในกระบวนการคิดของโลกศาสนา  พระพุทธศาสนาได้รับยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามในนามศาสนาหรือการเผยแผ่ศาสนา เพราะให้เสรีภาพในการพิจารณาด้วยปัญญา และพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความอิสระเสรีภาพ กล่าวคือไม่ผูกติดกับผู้ดลบันดาลหรือพระผู้เป็นเจ้า เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่ามีศักยภาพในการปลดเปลื้องทุกข์โดยไม่ต้องรอการดลบันดาล พระพุทธศาสนานับว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง ซึ่งมีผู้นับถือจำนวนมากหลายร้อยล้านคน โดยเฉพาะในประเทศทางเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

          พระศาสดาของพระพุทธศาสนาคือ พระพุทธเจ้า พระนามว่า สิทธัตถะ  แปลว่า "ผู้มีความสำเร็จสมประสงค์ในทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนตั้งใจจะทำ" พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ทรงมีพระปัญญาอันเลิส สามารถศึกษาเล่าเรียนได้ว่องไว ทรงมีความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาการหลายสาขา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา มีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า พระราหุล แม้ชีวิตในฆราวาสวิสัยจะทรงสมบูรณ์ด้วยสุขสมบัติเพียงใด พระองค์ก็ทรงมีพระราชหฤทัยน้อมไปในทางที่จะทรงผนวชเพื่อแสวงหาสัจธรรม เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของโลก ทั้งมีพระกรุณาประสงค์ที่จะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์ จึงทรงสละความสุขนานาประการเสด็จออกผนวชขณะที่มีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา หลังจากทรงผนวชพระองค์ได้ทรงศึกษาความรู้จากสำนักอาจารย์ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญ ทั้งได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยวิธีการต่าง ๆ ก็ยังมิได้บรรลุถึงซึ่งทางพ้นทุกข์ พระองค์จึงทรงหันมามุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง จึงได้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ  ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลกขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้เสด็จสั่งสอนแนะนำประชาชนในแคว้นต่างๆในประเทศอินเดีย เป็นเวลาถึง ๔๕ ปี ประชาชนในสมัยนั้นหันมานับถือพระพุทธศาสนา และเข้ามาบรรพชา อุปสมบทเป็นจำนวนมาก 
 
          การบำเพ็ญกรณียกิจทั้งของพระพุทธเจ้าและของพระสาวก มีวัตถุประสงค์และขอบเขตกว้างขวางดังจะเห็นได้จากพุทธพจน์ แต่ครั้งแรกที่ีทรงส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย” ด้วยพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณอันเลิศของพระพุทธองค์ ยังผลให้มหาชาชาวโลกได้ผ่องใสพ้นทุกข์เป็นอันมาก พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนประชาชนจนพระชนมายุ ๘๐  พรรษา จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน

         หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระพุทธสาวกทั้งหลายได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อมา จนกระทั่งถึงประมาณ พุทธศักราช ๓๐๐ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งเมืองปาฏลีบุตรร่วมกับคณะสงฆ์ ได้ส่งพระสงฆ์ออกประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ  พระสงฆ์คณะหนึ่งได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ  อันได้แก่ดินแดนในเขตประเทศพม่าและประเทศไทยในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้เจริญขึ้น ณ  ดินแดนแห่งนี้ตามลำดับ จนกระทั่งถึงสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ทรงรับเอาศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นศาสนาประจำชาติไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ตราไว้ว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก คือ แม้พระองค์จะทรงนับถือพระพุทธศาสนา แต่พระองค์ก็พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นๆในประเทศไทยด้วยเช่นกัน พระพุทธศาสนาได้ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของชนชาติไทยมาเป็นเวลาช้านาน ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติไทยล้วนได้รับการหล่อหลอมจากพระพุทธศาสนา  และดำรงมั่นคงคู่ไทยตลอดมา

ประวัติศาสนาพุทธ, ประวัติศาสนาพุทธ หมายถึง, ประวัติศาสนาพุทธ คือ, ประวัติศาสนาพุทธ ความหมาย, ประวัติศาสนาพุทธ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu