ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และแนวพระราชดำริในการแก้ไข, การเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และแนวพระราชดำริในการแก้ไข หมายถึง, การเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และแนวพระราชดำริในการแก้ไข คือ, การเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และแนวพระราชดำริในการแก้ไข ความหมาย, การเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และแนวพระราชดำริในการแก้ไข คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และแนวพระราชดำริในการแก้ไข

          กรุงเทพมหานครตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มตอนปลายแม่น้ำเจ้าพระยา  ไม่ไกลจากปากอ่าวไทยเท่าใดนัก    ดังนั้น   ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพมหานครจึงอยู่ในอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงอันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลหนุน สภาพของกรุงเทพมหานครในอดีต  ประกอบด้วยลำคลอง หนอง บึง และพื้นที่ว่างจำนวนมาก  ปัญหาน้ำท่วมที่ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนหรือเกิดอุทกภัยจนถึงขั้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศได้รับความเสียหายจึงเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก  ครั้นต่อมาความเจริญเติบโตของกรุงเทพมหานครซึ่งปราศจากการวางผังเมืองให้ถูกต้องไม่มีการวางแผนการใช้ที่ดินและการจัดการด้านสาธารณูปโภคให้เหมาะสม ประกอบกับไม่มีมาตรการในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ต่างๆ ตลอดจนขาดระบบการป้องกันน้ำท่วมเขตชุมชนที่มีประสิทธิภาพ เมื่อร่วมกับปัญหาการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้โดยปราศจากการควบคุม  จนเป็นเหตุให้แผ่นดินทรุดเป็นแอ่งในบริเวณกว้างด้วยแล้วจึงก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมและน้ำขังพื้นที่ทั่วกรุง-เทพมหานครอย่างรุนแรงมากกว่าแต่ก่อน
          สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้แก่
          ๑) ฝนซึ่งตกหนักจนระบายน้ำฝนออกจากถนนและบริเวณบ้านเรือนไม่ทัน ทำให้น้ำท่วมขัง
          ๒) น้ำจากพื้นที่ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกไหลเข้าสู่กรุงเทพมหานครตามคลองต่างๆ ทำให้เกิดน้ำบ่าตลิ่งเข้าไปท่วมพื้นที่ในเขตชุมชนซึ่งมีระดับต่ำ
          ๓) น้ำที่ไหลลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมาก  ทำให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีระดับสูงไหลเข้าไปตามคลองต่างๆ  เข้าไปท่วมในเขตพื้นที่ชุมชน
          ๔) น้ำทะเลหนุน เป็นเหตุให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงขึ้นๆ เพราะไม่สามารถระบายน้ำจำนวนมากที่ไหลลงมาตามแม่น้ำลงสู่อ่าวไทยได้สะดวก
          ๕) ระบบระบายน้ำซึ่งประกอบด้วยท่อระบายน้ำและคลองระบายน้ำในเขตชุมชนต่างๆ ไม่สามารถระบายน้ำฝนจำนวนมากออกไปจากพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          ๖) แผ่นดินทรุด  เป็นเหตุให้พื้นที่บริเวณต่างๆ เป็นแอ่งมีระดับต่ำเมื่อฝนตกจึงทำให้เกิดน้ำท่วมขังนาน เพราะระบายน้ำออกไปได้ยาก
           ในระะยะสิบกว่าปีที่ผ่านมาก ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ปริมณฑลรวม ๔ ครั้งด้วยกัน คือ ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ พ.ศ. ๒๕๒๑ พ.ศ. ๒๕๒๓  และ  พ.ศ. ๒๕๒๖  ทำให้ประชาชนทั่วทั้งกรุงเทพมหานครได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยในแต่ละครั้งเป็นอย่างมาก ซึ่งนับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยปรากฏแก่กรุงเทพมหานครมาก่อนเลย
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยต่อปัญหาน้ำท่วมที่เกิดในเขตกรุงเทพมหานครเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ และวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยราชการต่างๆ เฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดาโหฐาน เพื่อพระราชทานพระราชดำริ ในการหาทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและพื้นที่ปริมณฑลทางฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้บังเกิดผลสมบูรณ์ยิ่ง ดังนี้
          ๑) ให้เร่งระบายน้ำทางด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครในฤดูน้ำหลาก  ออกสู่อ่าวไทยโดยผ่านตามคลองต่างๆ และในขณะเดียวกันให้ควบคุมปริมาณน้ำจากพื้นที่ด้านทิศตะวันออกที่จะไหลเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครให้เหลือน้อยลงด้วย
          ๒) จัดให้มีเขตพื้นที่สีเขียว  ในเขตพื้นที่ปริมณฑลทางด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร  ซึ่งพื้นที่สีเขียวดังกล่าวนี้จะสามารถแปรสภาพเป็นทางระบายน้ำฉุกเฉินออกสู่อ่าวไทยได้เมื่อต้องการ
          ๓) สร้างระบบป้องกันน้ำท่วมในเขตชุมชนของกรุงเทพมหานครให้สมบูรณ์
          ๔) สร้างสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครตามความเหมาะสม
          ๕) ขยายทางน้ำหรือเปิดทางน้ำในจุดที่ผ่านทางหลวงหรือรถไฟ เพื่อให้สามารถระบายน้ำจำนวนมากผ่านไปได้อย่างสะดวกหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กรมชลประทาน กรมทางหลวง และการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันศึกษาถึงแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างละเอียด    แล้วทำการก่อสร้างระบบการแก้ไขป้องกันน้ำท่วมดังกล่าวเพื่อสนองพระราชดำริในระยะต่อมา  จนถึงปัจจุบันแต่ละหน่วยราชการได้ดำเนินการเสร็จตามโครงการ ซึ่งสามารถบรรเทาปัญหาการเกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ตามที่ต้องการ

          (ดูเพิ่มเติมเรื่อง การชลประทาน เล่ม ๗  และเรื่อง การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร หมวดเดียวกันเล่มเดียวกัน)

การเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และแนวพระราชดำริในการแก้ไข, การเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และแนวพระราชดำริในการแก้ไข หมายถึง, การเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และแนวพระราชดำริในการแก้ไข คือ, การเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และแนวพระราชดำริในการแก้ไข ความหมาย, การเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และแนวพระราชดำริในการแก้ไข คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu