ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เนื้อทุเรียนมีจุดขาว?, เนื้อทุเรียนมีจุดขาว? หมายถึง, เนื้อทุเรียนมีจุดขาว? คือ, เนื้อทุเรียนมีจุดขาว? ความหมาย, เนื้อทุเรียนมีจุดขาว? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

เนื้อทุเรียนมีจุดขาว?

nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp เนื้อทุเรียนมีจุดขาว พบว่าในเนื้อทุเรียน มีจุดสีขาว เป็นจุดประ กระจาย บนเนื้อทุนเรียนอยากทราบสาเหตุ และมีวิธีป้องกันอย่างไร

คำตอบ

จุดประสีขาว ที่เนื้อทุเรียน เรียก อาการเนื้อแกน เกิดขึ้น เนื่องจาก อาหารในต้นทุเรียน ไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเนื้อ โดยมักพบปัญหานี้ในต้นทุเรียนที่ ไม่ค่อยจะสมบูรณ์และมีการแตกใบอ่อนในช่วงที่ผลทุเรียนมีอายุประมาณ 8-10 สัปดาห์ วิธีการป้องกันปัญหา คือ 1 บำรุงให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์ 2 จัดการใบอ่อนโดยถ้าต้นทุเรียนค่อนข้างสมบูรณ์ แต่มีการแตกใบอ่อนค่อนข้างมาก ควรพ่นสารชะลอการเจริญของใบอ่อน เพื่อให้ใบอ่อนเจริญอย่างช้า ๆ ในขณะเดียวกัน ก็แนะนำให้พ่นปุ๋ยทางใบเพื่อให้ มีอาหารเพียงพอที่จะให้ ใบอ่อน และผลพัฒนาไปพร้อมๆ กัน การชะลอการแตกใบอ่อน 2 1 การพ่นสารชะลอการเจริญเติบโต เช่น สารมีพิควอทคลอไรด์ ความเข้มข้น 37 5 พีพีเอ็ม ให้ทั่วต้น 2 2 การลดความเสียหาที่เป็นผลจากการแตกใบอ่อน ด้วยการพ่นปุ๋ยสูตรทางด่วน คาร์โบไฮเดรตสำเร็จรูป อัตรา 20 ซีซี ปุ๋ยเกล็ด 15-30-15 ที่มีธาตุรองและธาตุ ปริมาณน้อย อัตรา 60 กรัม กรดฮิวมิค อัตรา 20 ซีซี ผสมรวมในน้ำ 20 ลิตร quot quot 3 ในต้นที่สมบูรณ์น้อย แนะนำให้ปลิดใบอ่อน ด้วยการพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท 13-0-46 อัตรา 100-300 กรัม น้ำ 20 ลิตร ในระยะหางปลา quot quot -การปลูกชมพู่ ชมพู่ไม้ผลเขตร้อนซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพืชจัดอยู่ตระกูลเดียว กับฝรั่ง หว้า ยูคาลิปตัส เป็นพืชที่ชอบน้ำ จัดเป็นไม้ผลที่มีลำต้นขนาดใหญ่ ดอกมีกลิ่นหอม คล้ายกุหลาบ ผลมีรสชาติหวานกรอบ คนไทยจึงนิยมปลูกเป็นไม้มงคลประจำบ้าน ชมพู่เป็น ผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ผลนอกจากจะใชรับประทานสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้เช่น เยลลี่ แยม และแช่อิ่ม เป็นต้น สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชมพู่เป็นไม้ผลที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ดินที่เหมาะสมคืน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคตะวันตก สภาพความเป็นกรดเป็นด่าง อยู่ระหว่าง 6 5-7 การปลูกชมพู่ สถานการณ์การผลิต และการตลาดชมพู่ ชมพู่เป็นพืชที่ สามารถปลูกได้ทั่วไปในพื้นที่มีน้ำและดินอุดมสมบูรณ์ ในปี 2538 มีพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ 30 054 ไร่ ผลผลิต 36 309 ตัน จังหวัดที่ปลูกชมพู่มาได้แก่ จังหวัดนครปฐม ราชบุรี และสมุทรสาคร สำหรับตลาดชมพู่นั้น ส่วนใหญ่เป็นตลาดภายในประเทศ ได้แก่ ตลาด ประจำจังหวัดต่าง ๆ ตลาดกลางกรุงเทพฯ ได้แก่ ตลาดสี่มุมเมือง ปากคลองตลาด quot ตลาดไทย เป็นต้น ราคาชมพู่ในช่วงฤดูกาลอยู่ที่ประมาณ 20-25 บาท ส่วนนอกฤดูกาล ราคาประมาณ 50-80 บาท แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ ส่วนตลาดส่งออกยังมีไม่มากนักทั้งนี้ เพราะชมพู่เป็นผลไม้ที่อบช้ำและเน่าเสียง่าย แต่มีการส่งออกไปแถบฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย อยู่บ้าง ต้นทุนและผลตอบแทน ต้นทุนในการผลิตชมพู่ ประมาณ 3 400 บาท ไร่ ผลตอบแทน ประมาณ 23 400 บาท ไร่ ทั้งนี้คิดจากราคาจำหน่ายที่ 13 07 บาท การปลูก 1 การเตรียมแปลงปลูก ในการปลูกชมพู่สามารถปลูกได้ทั้งแบบยกร่องในที่ราบลุ่ม ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ซึ่งการปลูกแบบยกร่องนี้ส่วนหลัง ร่องประมาณ 3 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1-1 50 เมตร มีแนวชายร่องข้างละ 0 50 เซนติเมตร ซึ่งหลังยกร่องแล้วควรตากดินไว้ 1 เดือน แล้วจึงพลิกหน้าดินให้ดินล่างลงไปอยู่ ด้านล่าง และดินบนซึ่งถูกทับขณะขุดร่องกลับมาอยู่ด้านบนตามเดิม ช่วงพลิกดินนี้เอง ชาวสวนสามารถทำการปรับสภาพดินโดยใส่ปูนขาวและใส่ปุ๋ยคอกลงไปในดินได้เลย สำหรับพื้นที่ดอนควรไถพรวนพร้อมทำการปรับสภาพดินและใส่ปุ๋ยคอกไปเลย 2 กำหนดระยะปลูก 2 1 แบบยกร่องนั้น ส่วนใหญ่ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 4 เมตร quot quot 2 2 บนพื้นที่ดอนใช้ระยะ 4 4 เมตร หรือ 6 6 เมตร แล้วแต่สภาพความอุดมสมบูรณ์ ของดินด้วย ถ้า ดินอุดมสมบูรณ์ควรปลูกระยะ 6 6 เมตร 3 การเตรียมหลุมปลูกจะใช้ขนาด 50 50 50 กว้าง ยาว ลึก โดยแยกดินหน้าไว้ข้างหนึ่ง และดินล่างไว้อีกข้างหนึ่ง แล้วเอาปุ๋ยคอกประมาณ 50 กิโลกรัมผสมกับหน้าดินอัตราส่วน 1 1 และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 500 กรัม กลบลงในหลุมจนพูน 4 การปลูกนำต้นพันธ์ชมพู่ที่คัดเลือกไว้แล้ว นำมาถอดภาชนะเพาะชำออกแล้ว ตรวจดูว่า มีรากขดหรือไม่แล้วขยายรากออก หันทิศทางของกิ่งให้เหมาะสม แล้วฝังลงในหลุม ที่เตรียมไว้ โดยให้ระดับสุงกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อย แล้วนำดินล้างมาเติมบนปากหลุม จนพูน แล้วอัดดินให้แน่นปักไม้และผูกเชือกยึดลำต้น พร้อมปักทางมะพร้าวพรางแสงในทิศ ทางตะวันออกและตะวันตก เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นชมพู่ที่ปลูกใหม่ เหี่ยวเฉาได้ หลังจากชมพู่ตั้งต้วไดแล้วจึงค่อยนำทางมะพร้าวออก การปฏิบัติดูแลรักษา quot quot 4 1 การให้น้ำเนื่องจากชมพู่เป็นพืชชอบน้ำ ดังนั้นในการผลิตชมพู่จึงจำเป็นต้องมีการให้น้ำ ชมพู่อย่างสม่ำเสมอ วิธีการให้น้ำย่อมแตกต่างไปตามวิธีการปลูกและสภาพพื้นที่ซึ่ง จำแนกออกเป็น 3 วิธี ใหญ่ ๆ ดังนี้ 4 1 1 เรือพ่นน้ำ วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการให้น้ำในร่องสวนในที่ราบลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคตะวันภาคตะวันออก วิธีนี้ต้องคำนึงถึวความแรงน้ำที่จะพ่น ออกมาถ้าแรงเกินไปจะทำให้หน้าดินแน่นและเกิดการชะล้างปุ๋ยไปจากหน้าดิน 4 1 2 สายยางวิธีนี้เหมาะสำหรับการปลูกชมพู่ในที่ดอนและเป็นสวนขนาดเล็กเป็นวิธีที่ สะดวกแต่ต้องคอยเปลี่ยนตำแหน่ง และหลุมปลูกเป็นระยะ ๆ ไปต้องคำนึ่งถึง แรงดันน้ำและปริมาณที่ให้ ดยต้องคำนึงถึงการชะล้างที่อาจจะเกิดที่บริเวณ หน้าดินได้ 4 1 3 แบบหัวพ่นฝอย แบบมินิสปริงเกอร์ Mini springker วิธีนี้นิยมกันมากวิธีหนึ่ง เพราะประหยัดแรงงานและเวลา และยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ลดการชะล้าง ของแรงน้ำที่มีต่อปุ๋ยในแปลงอีกทั้งสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ถูกต้อง นอกจาก quot quot นี้วิธีนี้ยังสามารถให้ปุ๋ยผสมไปกับน้ำได้เลย แต่อย่างไรก็ตาม ในการใช้ระบบน้ำ ต้องเสียค่าติดตั้งมากกว่าวิธีอื่น ๆ ในการผลิตชมพู่เป็นการค้าเพื่อให้ได้ชมพู่ มีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรจำเป็นต้องมีการให้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับความต้องการของต้นชมพู่สามารถจำแนกเป็น2 ประเภท 1 ปุ๋ยคอก ซึ่งนอกจากใส่เตรียมหลุมปลูกแล้ว เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยคอกอีกประมาณ 5-10 กก ต้น ชนิดปุ๋ยคอกแล้วแต่จะสามารถจัดหามาได้ เช่น ปุ๋ยมูลไก่ มูลหมู และมูลวัว เป็นต้น แต่ที่สำคัญของการให้ปุ๋ยคอกนั้น ปุ๋ยคอกทุกชนิดต้อง สลายตัวเรียบร้อยแล้ว 2 ปุ๋ยเคมี สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีนี้เกษตรกรควรพิจารณาตามระยะการเติบโต และอายุของต้นชมพู่และปริมาณผลผลิตที่ให้ในฤดูกาลที่ผ่านมาด้วย ก็จะช่วย ให้สามารถคำนวณปริมาณได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงแบ่งออกเป็น quot quot 2 1 สำหรับต้นชมพู่ที่ยังไม่ให้ผล ช่วงนี้ชมพู่ต้องการปุ๋ยเพื่อการเจริญเติบโต โตทางด้านลำต้น กิ่ง ใบ เป็นหลัก ปุ๋ยเคมีควรใช้สูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 โดยให้ปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น ดังนั้นชมพู่ที่ปลูกปี แรกควรให้ปุ๋ย เคมีประมาณ 500 กรัม โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝน 1 ครั้ง และปลายฤดูฝนอีก 1 ครั้ง 2 2 ในต้นที่ให้ผลแล้วอายุ 2 ปี ขึ้นไป ช่วงก่อนหลังเก็บผล ต้องมีการบำรุงต้น กิ่ง ก้าน ใบ ควรใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ในอัตราครึ่ง หนึ่งของอายุต้นหรือประมาณ 500 กรัม ต้น ช่วงก่อนออกดอก เพื่อให้ ชมพู่ออกดอกมากขึ้นนั้น ควรใส่ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูง เช่น 12-24-12 หรือ 8-24-24 ในอัตราส่วน 200-300 กรัม ต้น ช่วงพัฒนาผล หลังจาก ชมพู่ติดผลแล้วนั้น ผลจะมีการพัฒนาในระยะแรกจะมีการขยายขนาดใหญ่ quot quot ขึ้น เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ปริมาณ 200-300 กรัม ต้น หลังผลใหญ่ขึ้นแล้วก่อนที่เก็บผล 1 เดือนเกษตรกร ควรใส่ปุ๋ยตัวท้ายสูงเช่น สูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 ปริมาณ 200-300 กรัม ต้น quot 3 ปุ๋ยทางใบ เป็นปุ๋ยที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ของการเจริญเติบโตของชมพู่ เช่น การใช้ไทโอยูเรีย เพื่อการเร่งให้ชมพู่แตกใบอ่อนพร้อมกัน หรือการพัฒนาผลชมพู่ให้มี คุณภาพดีในพื้นที่บางแห่งที่มีน้ำไม่เพียงพอก็สามารถใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 15-30-15 อัตรา 20 กัม น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ควรห่างกันครั้งละ 7 วัน และไม่ควรงดการใช้ ปุ๋ยก่อนเก็บเกี่ยว 2 สัปดาห์ วิธีการใส่ปุ๋ย 3 1 ปุ๋ยคอก นิยมหว่านในบริเวณทรงพุ่มและนอกทรงพุ่มเล็กน้อย ซึ่งควรมีการ พรวนดินห่างจากชายทรงพุ่มออกไปเล็กน้อยประมาณประมาณ 30 เซนติเมตร 3 2 ปุ๋ยเคมี ขุดเป็นวงแหวนรอบชายทรงพุ่ม หรือเจาะเป็นหลุ่ม ๆ ตามแนวพุ่ม แล้วโรยปุ๋ยลงไปแล้วกลบดินเพื่อป้องกันการสูญเสียปุ๋ยไป โดยการระเหิด หรือถูกชะล้างโดยน้ำที่ให้หรือฝนตก 3 3 ปุ๋ยทางใบ ควรผสมปุ๋ยตามฉลากแนะนำ ควรผสมสารจับใบ และควรทำการฉีดพ่น ในช่วงเช้าก่อนแดดจัดไม่ควรใช้ปุ๋ยทางใบในอัตราที่เข้มข้มมากเกินไป เพราะจะทำ ให้ชมพู่ใบใหม้ได้ การพรวนดิน การพรวนดินนั้นจะทำให้ดินร่วน รากชมพู่สามารถแผ่ quot ขยายไปหาอาหารได้กว้างขึ้นจากเดิม อีกทั้งช่วยให้เก็บปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดิน ในการ พรวนนั้นควรทำปีละ 1-2 ครั้ง ครั้งหนึ่งควรพรวนห่างแนวชายทรงพุ่มเดิมออกไปอีก ประมาณ30เซนติเมตรการพรวนแบบนี้ควรใช้จอบใบพรวนในระดับหน้าดินตื้นๆ การ กำจัดพืช การกำจัดวัชพืชช่วยให้ชมพู่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ลดปริมาณโรค แมลงที่อาศัยอยูกับวัชพืชได้ สามารถจำแนกออกเป็น 3 วิธ๊ดังนี้ 1 วิธีกล โดยการถอน ดาย ถาง วัชพืชออกจากทรงพุ่ม และแปลงปลูกชมพู่ วิธีนี้ควรหมั่นทำตั้งแต่วัชพืชขนาดเล็กไปเรื่อย ๆ เหมาะสมกับการปลูกชมพู่ แปลงเล็ก วิธีนี้นอกจากจะไม่ต้องลงทุนมากแล้ว ยังช่วยลดปัญหาสารพิษกค้าง ได้อีกด้วย 2 วิธีทางเขตกรรม วิธีนี้เป็นวิธีใช้การปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิด การสะสมของวัชพืชในแปลงปลูก สามารถใช้ได้กับชมพู่ที่มีขนาดเล็ก พืชที่นิยมื ปลูกกันได้แก่ พืชผักต่างๆ รวมทั้งพืชตระกูลถั่ว ซึ่งจะทำให้ดินมีไนโตรเจนมากขึ้น quot เมื่อชมพู่มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชหมุนเวียนอีกต่อไป 3 วิธีทางเคมี เป็นวิธีหนึ่งที่สะดวกรวดเร็ว อาจจะส่งผลให้มีสารพิษตกค้าง ในดินและน้ำได้ การกำจัดวัชพืชวิธีเคมีสามารถจำแนกเป็น 2 ระยะ 3 1 ก่อนทำการปลูกชมพู่ ซึ่งสามารถใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชได้ 3 2 ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเลือกทำลาย ในช่วงชมพู่โตแล้วควร ฉีดนอกชายพุ่ม ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้สารเคมีกำจัดวัชพืชนั้น อัตรา ความเข้มข้นควรเป็นไปตามคำแนะนำ การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่ง นอกจากทำให้ได้ทรงพุ่มตามต้องการแล้ว ยังช่วยลดปริมาณโรคแมลง อีกทั้งทำให้ชมพู่ออกดอกติดผลดีมีคุณภาพอีกด้วย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 3 2 1 การตัดแต่งเพื่อบังคับทรงพุ่มควรเริ่มทำเมื่อชมพู่มีขนาดเล็กหลังจาก ปลูกใหม่โดยการเลี้ยงลำต้นประธานเพียงต้นเดียวและที่ความสูงจาก quot quot พื้นดิน 50 เซนติเมตร ให้ตัดยอดชมพู่จะทำให้กิ่งที่แตกแขนงมาใหม่ 2 กิ่ง ที่ระยะ 6-12 นิ้วให้ตัดกิ่งทั้ง 2 แล้ว ให้แตกเพิ่มเป็น 4 กิ่ง ทำอย่างนี้ไปจะได้กิ่งแขนง 8 ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ต้นชมพู่มี โครงสร้างแข็งแรง และไปรอแสงส่องผ่านกิ่งโคนต้นได้ การปฏิบัติ งานใต้ทรงพุ่มสะดวก 3 2 2 การตัดแต่งเพื่อการออกดอกและติดผลที่มีคุณภาพ การตัด แต่งแบบนี้จะใช้ในชมพูที่ให้ผลแล้ว ซึ่งควรทำปีละ 2 ครั้ง โดยเลือกตัดแต่งกิ่ง ดังนี้ 3 2 2 1 กิ่งแก่ที่เคยให้ผลแล้วและไม่สามารถให้ผลอีกต่อไป 3 2 2 2 กิ่งแซมในทรงพุ่มขนาดเล็ก 3 2 2 3 กิ่งไขว้ หรือกิ่งซ้อนทับกัน ให้เลือกกิ่งที่เป็นโครง สร้างหลักไว้ quot quot 3 2 2 4 กิ่งที่โรคแมลงหรือการฝากอาศัย 3 2 2 5 กิ่งฉีกหัก หรือกิ่งแห้ง 3 2 2 6 กิ่งน้ำค้างหรือกระโดงที่เจริญเติบโตจากในทรงพุ่ม ทะลุออกเหนือทรงพุ่ม 3 2 2 7 ส่วนยอดที่สูงจากพื้นดินเกิน 2 เมตรการปลิดผล ในการออกดอกชมดพู่จะออกบริเวณกิ่งในทรงพุ่มหลังจากดอกได้รับการผสมแล้วก็จะติดเป็นผล ที่มีขนาดเล็กมีลักษระคล้ายถ้วย หลังจากนั้นผลจะขยายใหญ่มีสีเข้มขึ้น เกษตรกรควรทำการปลดผลที่ถูกโรคแมลงทำลาย ผลที่มีขนาดเล็กหรือรูปร่างผิดปกติออก โดยเหลือไว้ช่อละ 3-4 ผลเท่านั้น กรณีที่ช่อผลอยู่ติดกันมากไม่ควรเก็บไว้ ให้เลือกปลิดช่อที่มากเกินไปออก เสียบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งอาหารกันเองทำให้ผลมีขนาดเล็กการห่อผล การห่อนี้ควรจะทำควบคู่กับการปลิดเลยในเวลาเดียวกัน ในการห่อผลนี้เกษตรกรจะเลือกถุงพลาสติกกรอบแกรบ สีขาวขุ่นเจาะ 2 รู เพื่อให้น้ำออก ก่อนห่อควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงก่อน แล้ว quot quot จึงห่อด้วยถุงพลาสติกดังกล่าวโดยผูกปากถุงด้วยเงื่อนชั้นเดียว ขนาดถุงควรเป็นขนาด 6 11นิ้วในบางกิ่งที่ผลชมพู่อาจได้รับอันตราย จากแสงแดดเผาให้ผิวเสียหาย ควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ด้านนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยเทคนิคช่วยให้ชมพู่มีคุณภาพดี 1 ตัดแต่งช่อผลตั้งแต่เริ่มติดผล โดยไว้ผลประมา 3-4 ผลต่อช่อ และจำนวนช่อดอกไม้ควรมาก เกินไป โดยให้สัมพันธ์กับทรงพุ่มและความสมบูรณ์ของต้น 2 การใช้จีเอพ่นประมาณ 1-3ช่วง คือช่วงเริ่มออกดอก ดอกเริ่มบาน และหลังดอกบานแล้ว 2 สัปดาห์ เพื่อทำให้ทรงผลยาวและขยายขนาดขึ้น 3 การให้ปุ๋ยทั้งทางดินและทางใบอย่างเพียงพอ มิฉะนั้นอาจทำให้ผลร่วงได้ง่าย 4 การห่อผลทำให้ผิวสวยป้องกันการทำลายของแมลงอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือแมลงวันทอง 5 ควรงดการให้น้ำช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว 3-5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ถ้าดินเหนียวควรงด การให้น้ำนายกว่านี้อาจเป็น 5-7 วัน การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลชมพู่หลังการเก็บเกี่ยว หลังจากชมพู่อายุพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว คือ มีอายุ วันผลแต่งอวบ สีซีด ในบางพันธุ์มีสีขาว บางพันธุ์มีสีแดงหรือชมพู่ ผิวเป็นมันเงา มีความหวานสูง เกษตรกรควรทำการเก็บ หากทิ้ง quot quot ไว้เกินอายุการเก็บเกี่ยว จะทำให้ผลชมพู่แตกหรือร่วงเสียหายได้ การเก็บควรใช้กรรไกร ตัดขั้ว จะสะดวกและรวดเร็ว การเก็บนั้นเกษตรกรควรเก็บมาทั้งถุงที่ห่อชมพู่แล้วใส่เข่งที่ กรุด้วยกระสอบปุ๋ย เพื่อป้องกันความคมของภาชนะที่จะทำให้ผิวชมพู่บอกช้ำได้ จากนั้น จึงนำผลชมพู่มายังโรงพักผลผลิต แล้วทำการคัดเลือกชมพู่ โดยเริ่มที่ 1 แกะถุงห่อชมพู่ออก 2 คัดคุณภาพโดยคัดผลแตกผลเป็นโรคและแมลงทำลายทั้งนี้ร่วมทั้งผลที่มีรูปร่างผิดปกติออก 3 คัดเลือกขนาด 4 บรรจุลงเข่งไม้ไผ่ หรือตะกร้าพลาสติกที่ด้านข้ากรุด้วยใบตองหรือกระดาษ แล้วปิดทับ ด้านหน้าด้วยพลาสติก เพื่อรักษาความชื้นของชมพู่ไว้ 5 ชั่งน้ำหนักพร้อมเขียนป้ายประจำเข่งหรือตะกร้าพลาสติก เพื่อบอกน้ำหนัก ชื่อพันธุ์ และขนาดผล เก็บไว้ในที่ร่มพร้อมที่จะขนส่งตลาดต่อไป การผลิตชมพู่นอกฤดู ในประเทศ ไทยชมพู่จะออกดอกเป็น 2 รุ่นใหญ่ ๆ ดังนี้ รุ่นแรก ประมาณปลายเดือนธันวาคม-มกราคม เก็บผลในเดือนกุมภาพันธุ์ ถึงมีนาคม รุ่นที่ 2 จะออกดอกในเดือนกุมภาพันธุ์และเก็บผล ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม แต่เดิมเกษตรกรได้พยายามคิดค้นวิธีการทำนอกฤดู เช่น quot การตัดกิ่ง การกักน้ำ การใส่ปุ๋ย ตลอดจนการใช้สารเคมีการใช้สารเคมี สำหรับการใช้สาร เคมี กฤษฏา ทัสนารมย์ 2537 รายงานว่า มีการทดลองใช้สารพาโคลบิวทราโซล กับชมพู่พันธุ์ทูลเกล้าอายุ 3 ปี โดยใช้สารเข้มข่น 1 2 และ 4 กรัม ของสารออกฤทธิ์ และพ่นทางใบระดับความเข้มข้น 0 5 1 0 และ 2 ซีซี น้ำ 20 ลิตร ที่ใบมีอายุ 40-90 วัน หลังการตัดแต่งกิ่ง ทำให้ดอกในช่วง 60 วัน หลังใช้สารโดยระดับความเข้มข้น 4 กรัม ต้น โดยราดลงดิน 2 ซีซี น้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นทางใบให้ดอกสูงกว่าความเข้มข้นระดับอื่นๆ ในชมพู่เพชร ประทีป กุณาศล ได้ทำการทดลองใช้สารพาโคลบิวทราโซล กับชมพู่เพชรอายุ 7 ปีขึ้นไป และ 2-4 ปี โดยใช้สารจำนวน 30 ซีซี ผสมน้ำ 2 ลิตร กับทรงพุ่มที่มีขนาดผ่าศูนย์กลาง 2-3 เมตรโดยราดสารในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ชมพู่แทงช่อในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ซึ่งต้นที่ได้รับสารจะออกดอก 90 ขณะที่ต้นที่ไม่ได้รับสาร ออกเพียง 5 ชมพู่ไม่แสดงอาการผิดปกติ ยกเว้นข้อใบสั้นลงเท่านั้น อย่างไรก็ตามหลังให้สารแก่ต้นชมพู่แล้วประมาณ 1 เดือน ควรให้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงได้แก่ 12-24-12 8-24-24 หรือ 9-24-24 เพื่อให้ต้นชมพู่เตรียมพร้อม quot ในการสร้างตาดอก ซึ่งอาจจะทำให้ชมพู่สามารถออกดอกได้มากยิ่งขึ้นโรคและแมลงศัตรูชมพู่ 1 โรคชมพู่ สำหรับโรคที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชมพู่ได้แก่ 1 1โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยจะพบการทำลายบนผลชมพู่ที่ห่อไว้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่ต้นและใบไม่ค่อยพบร่องรอยการทำลาย ลักษณะที่ปรากฎบนผลจะมีการเน่าสีดำ แผลจะยุบตัวเล็กน้อย มีวงสปอร์สีดำเป็นวงๆ ซ้อนกันบางครั้ง อาจพบเมือกสีแสดด้วย การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นผลก่อนห่อด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราเบนโนมิล แคบแทน ค็อปเปอร์อ๊อกซี่คลอไรด์ 2 แมลงศัตรู ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เนื้อทุเรียนมีจุดขาว, เนื้อทุเรียนมีจุดขาว หมายถึง, เนื้อทุเรียนมีจุดขาว คือ, เนื้อทุเรียนมีจุดขาว ความหมาย, เนื้อทุเรียนมีจุดขาว คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu