ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ประวัติการบินของไทย, ประวัติการบินของไทย หมายถึง, ประวัติการบินของไทย คือ, ประวัติการบินของไทย ความหมาย, ประวัติการบินของไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ประวัติการบินของไทย

          ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นในเรื่องการพัฒนา เมื่อโลกเริ่มมีเครื่องบิน ไทยก็ได้พยายามให้มีบ้าง ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้มีผู้นำเอาเครื่องบินแบบ ออร์วิลล์ ไรท์ มาบินแสดงให้ประชาชนชมที่สนามม้าสระปทุม (ปัจจุบันเป็นราชกรีฑาสโมสร) พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบรรพบุรุษของกองทัพอากาศ นักบินคนแรกของไทยก็ได้ทดลองบินในการแสดงครั้งนี้ด้วย
          พลเอกสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ได้ดำริจัดตั้งหน่วยบินขึ้นเพื่อป้องกันประเทศไทยตามความจำเป็น ดังนั้นพระองค์จึงทรงเลือกนายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) นายร้อยเอก หลวงอาวุธลิขิกร (หลง สินสุข)และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จ
          ในระหว่างนี้ ประเทศได้สั่งซื้อเครื่องบินเบรเกต์ (breguet) ปีกสองชั้น ๓ เครื่องเครื่องบินนิเออปอร์ต (nieuport) ปีกชั้นเดียว ๔ เครื่อง เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)ซื้อเบรเกต์ให้อีก ๑ เครื่อง ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ เครื่องบิน ๘ เครื่องนี้ พร้อมทั้งนายทหารไทยทั้งสามนายซึ่งเป็น "มนุษย์อากาศไทยชุดแรก" จึงจัดเข้าประจำการเป็นหน่วยบิน แรกของกองทัพไทย
          ที่สนามม้าสระปทุม วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ นักบินไทยได้ทดลองบินเครื่องบินของไทยเป็นครั้งแรก
          ปรากฏว่าสนามม้าสระปทุมไม่สะดวกเพราะแคบไป และเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมในฤดูฝน พระยาเฉลิมอากาศจึงเสาะแสวงหาพื้นที่อื่นรอบๆ พระนคร ในที่สุด ท่านก็เลือกดอนเมืองซึ่งไม่ไกลนักและตามปกติน้ำก็ไม่ท่วม ใช้ทำการบินได้สะดวกตลอดปี ดังนั้นในวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๗เครื่องบินของกองบินไทยก็ร่อนลงเป็นปฐมฤกษ์ เปิดสนามบินดอนเมือง อันเป็นฐานทัพอากาศมาจนถึงปัจจุบันนี้
          ด้วยอุตสาหะและวิริยะอย่างแรงกล้าของผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ทุกคน เครื่องบินปีกสองชั้นของเราลำแรกซึ่งผลิตออกมาจากโรงงานที่ดอนเมือง ได้บินขึ้นสู่อากาศใช้ราชการได้ดี ด้วยวัตถุพื้นเมืองและฝีมือช่างไทย เว้นเครื่องยนต์ซึ่งต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมและเสด็จประทับเสวยพระกระยาหารกลางวันที่หน่วยบินดอนเมืองเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงมีพระราชดำรัสชมเชยและขอบใจเจ้าหน้าที่ทุกคนผู้ร่วมงานการผลิตขึ้น จนใช้ในราชการได้เป็นผลสำเร็จ
          กิจการการบินของไทยได้พัฒนาและขยายจากเครื่องบิน ๘ เครื่อง นักบิน ๓ นาย ในสมัยเริ่มแรกจนกลายเป็นกองทัพอากาศ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๐ และได้มีหน่วยเครื่องบินไอพ่นเป็นครั้งแรก โดยคณะนายพลอากาศไทย ๓ นาย ได้ไปรับมอบเครื่องบินไอพ่นหนึ่งหมู่จากฐานทัพอเมริกันในประเทศญี่ปุ่น แล้วต่างก็ขับมาเองคนละเครื่องเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
          ขณะนี้เรามีกำลังทางอากาศหลายร้อยเครื่อง มีข้าราชการทหารอากาศหลายหมื่นคน และสามารถทำการรบทางอากาศ ทำการรบร่วมกับกองทัพบก กองทัพเรือ เพื่อป้องกันประเทศได้เป็นอย่างดี เครื่องบินรบไอพ่นสองเครื่องยนต์มีความเร็วเหนือเสียง มีอาวุธจรวด ปืน และลูกระเบิดที่ทันสมัย เป็นเครื่องบินแบบใหม่ที่ใช้ประจำการอยู่ในกองทัพอากาศปัจจุบัน
          เมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ กองทัพอากาศก็ได้สร้างเครื่องบินปีกชั้นเดียวขึ้นใช้เองอีกคำรบหนึ่ง
          ทางด้านขนส่ง ไทยริเริ่มทดลองใช้เครื่องบินเบรเกต์ ส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒๓ ปีต่อมา การบินรับส่งผู้โดยสารและพัสดุก็เริ่มขึ้น การสงครามเป็นอุปสรรคให้เกิดการขาดแคลนอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ไประยะหนึ่ง แต่แล้วกระทรวงคมนาคมก็ได้ลงทุนจัดตั้งบริษัทเดินอากาศไทยขึ้น เพื่อบริการประชาชนในการขนส่งทางอากาศทั่วประเทศ โดยใช้เครื่องบินไอพ่นสองเครื่องยนต์ แบบแอฟโร ๗๔๘ (avro 748) ต่อมาได้นำเครื่องบินที่มีสมรรถนะสูงขึ้นเข้ามาใช้เช่นเครื่องบินแบบโบอิง ๗๓๗ (boeing 737) และเครื่องบินสำหรับบริการผู้โดยสารตามเส้นทางย่อย(shorts 330) ส่วนการบินระหว่างประเทศนั้น ขณะนี้บริษัทการบินไทย จำกัด มีเครื่องบินไอพ่นสี่เครื่องยนต์ บริการไปประเทศเพื่อนบ้านทั้งในทวีปเอเซีย ออสเตรเลีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ

ประวัติการบินของไทย, ประวัติการบินของไทย หมายถึง, ประวัติการบินของไทย คือ, ประวัติการบินของไทย ความหมาย, ประวัติการบินของไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 1

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu