ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เอาเงินไปฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หรือไม่?, เอาเงินไปฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หรือไม่? หมายถึง, เอาเงินไปฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หรือไม่? คือ, เอาเงินไปฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หรือไม่? ความหมาย, เอาเงินไปฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หรือไม่? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

เอาเงินไปฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หรือไม่?

nbsp ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เหมือนธนาคารทั่วไปหรือเปล่า nbsp ผมจะเอาเงินไปฝากที่นั่นได้ไหม nbsp ดนุพล nbsp พรวานิช กรุงเทพฯ

คำตอบ

                      ไม่ได้ เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ทำหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนดังเช่นธนาคารพาณิชย์ทั่วไปในฐานะที่เป็นธนาคารกลางของประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ ศ ๒๔๘๕ และตามพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พ ศ ๒๔๘๕ ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การพิมพ์ธนบัตรและนำออกใช้                         ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสถาบันการเงินที่มีอำนาจการพิมพ์และนำธนบัตรออกใช้แต่ผู้เดียว ทำให้สามารถควบคุมปริมาณการพิมพ์ธนบัตรให้มีเพียงพอแก่ความต้องการของเศรษฐกิจในประเทศได้ นอกจากนี้ยังทำให้ธนบัตรมีมาตรฐานเป็นระเบียบ และได้รับความไว้วางใจจากประชาชน การเก็บรักษาและจัดการทุนสำรอง                         การพิมพ์ธนบัตรและนำออกใช้จะต้องมีสินทรัพย์ที่มีค่าเป็นเครื่องค้ำประกันมูลค่าของธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นและนำออกใช้   สินทรัพย์ดังกล่าวเรียกว่า “ ทุนสำรองเงินตรา quot ในสมัยก่อนทุนสำรองเงินตราเป็นโลหะที่มีค่า ได้แก่ ทองคำหรือเงิน แต่ในปัจจุบันสินทรัพย์ที่เป็นทุนสำรองประกอบด้วยทองคำเป็นส่วนน้อย นอกจากนั้นเป็นเงินตราต่างประเทศที่มีค่ามั่นคงเป็นส่วนใหญ่และยังประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาลไทย และสิทธิพิเศษถอนเงินที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ สินทรัพย์เหล่านี้เป็นสินทรัพย์ใช้เป็นทุนสำรองเงินตราตามที่พระราชบัญญัติเงินตรา พ ศ ๒๕๐๑ ระบุไว้ โดยมีรายการต่าง ๆ มีมูลค่าเป็นสัดส่วนกับปริมาณธนบัตรที่นำออกใช้ การเป็นตัวแทนและที่ปรึกษาทางการเงินของรัฐบาล                       ธนาคารแห่งประเทศไทยติดต่อทำธุรกิจกับรัฐบาลไทยในฐานะเป็นนายธนาคารและที่ปรึกษาตลอดจนเป็นตัวแทนทางการคลังเนื่องจากมีความใกล้ชิดกับตลาดเงินและติดต่อกับธนาคารกลางสถาบันการเงินในต่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงทำหน้าที่รับฝากเงินของรัฐบาล องค์การต่าง ๆ ของรัฐบาลจำหน่ายพันธบัตรและตั๋วเงินคลังของรัฐบาล จ่ายดอกเบี้ยตลอดจนโอนและไถ่ถอนพันธบัตรและตั๋วเงินคลังแทนรัฐบาลนอกจากนี้ยังให้รัฐบาลกู้ยืมเงินอีกด้วย โดยถือเป็นประเพณีว่าจะให้กู้เงินเป็นการชั่วคราว และรัฐบาลต้องชำระหนี้จากเงินที่เก็บจากภาษีอากรหรือกู้จากประชาชนเพื่อมิให้เกิดสภาพเงินเฟ้อขึ้น การเก็บรักษาเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์                         โดยที่ธนาคารพาณิชย์รับฝากเงินจากประชาชนและต้องจ่ายคืนเมื่อถูกถอนเงิน เพื่อให้เป็นที่มั่นใจแก่ประชาชนที่เอาเงินไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ กฎหมายควบคุมธนาคารพาณิชย์จึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เก็บเงินสดไว้ในอัตราส่วนเป็นร้อยละต่อยอดเงินฝาก เพื่อสำรองไว้จ่ายคืนแก่ลูกค้าที่ถอนเงินเงินที่เก็บไว้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้นี้เรียกว่า เงินสดสำรอง และธนาคารพาณิชย์ต้องนำไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ที่เก็บไว้ในบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนี้มีประโยชน์ โดยใช้เป็นเงินที่จ่ายให้แก่ลูกค้าที่ถอนเงินด้วยวิธีการเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินเป็นส่วนใหญ่ และเช็คที่ลูกค้าสั่งถอนเงินนี้ ธนาคารพาณิชย์จะนำเข้าไปทำการหักบัญชีระหว่างธนาคารพาณิชย์ด้วยกันที่สำนักหักบัญชี Clearing House การให้กู้ยืมเป็นคนสุดท้าย                         การให้สินเชื่อแก่ประชาชนและธุรกิจนั้น ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ดำเนินกิจการ แต่ถ้าธนาคารพาณิชย์ให้กู้ยืมไปจนขาดแคลนเงินแล้ว ธนาคารพาณิชย์ก็สามารถกู้ยืมจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ธนาคารพาณิชย์ที่ขาดแคลนเงินที่จะให้สินเชื่อ แก่ธุรกิจและประชาชนสามารถกู้ยืมได้นั้น จะช่วยให้การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไม่สะดุดหยุดลง ธุรกิจต่าง ๆ ยังสามารถกู้ยืมเพื่อนำไปดำเนินธุรกิจต่อไปได้ตามปรกติเศรษฐกิจของประเทศย่อมไม่หยุดชะงักตามไปด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเป็นผู้ให้กู้ยืมคนสุดท้ายในระบบเศรษฐกิจของประเทศ   การให้กู้ยืมที่กล่าวนี้เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ธนาคารพาณิชย์ให้สามารถนำหลักทรัพย์บางชนิด เช่น พันธบัตรรัฐบาล มาวางเป็นประกันเงินกู้ หรือให้กู้ยืมโดยวิธีรับช่วยซื้อลดตราสารบางชนิดจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่นี้เพื่อช่วยให้การหมุนเวียนเงินของธนาคารพาณิชย์ไม่ติดขัดและช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องเก็บเงินสดสำรองไว้มากเกินความจำเป็น การควบคุมการขยายสินเชื่อ                         ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้มีพอดีกับความต้องการ ไม่มากไปจนเกิดสภาพเงินเฟ้อ และไม่น้อยไปจนเกิดสภาพเงินฝืด   ดังนั้นในภาวะที่เศรษฐกิจเจริญเร็วมากเกินไปจนมีปริมาณเงินในตลาดการเงินมากไป อำนาจการซื้อของเงินจะตกลง หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินมีค่าน้อยลง ทราบได้จากการแสดงออกมาในลักษณะที่ค่าครองชีพสูงขึ้น หรือเงินจำนวนเท่าเดิมซื้อสินค้าได้น้อยลงนั่นเอง ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะต้องควบคุมการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดปริมาณเงินที่ไหลออกจากระบบธนาคารพาณิชย์สู่ระบบการเงินให้น้อยลง แต่ถ้ามีการขยายสินเชื่อในระบบการเงินของประเทศน้อยไป การค้าและเศรษฐกิจก็จะชะงักและตกต่ำธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อให้มากขึ้น ด้วยนโยบายการเงินชนิดต่าง ๆ หน้าที่อื่น ๆ                         ธนาคารแห่งประเทศไทยยังดำเนินงานอื่น ๆ ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ระบบธนาคารพาณิชย์ ได้แก่   การจัดตั้งระบบการหักบัญชีและการโอนเงินระหว่างธนาคารการควบคุมและกำกับให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อให้มีการดำเนินงานที่ปลอดภัยและมีประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจเป็นส่วนรวม นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังทำหน้าที่ให้การส่งเสริมการพัฒนาประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจยังไม่พัฒนาเต็มที่ และยังขาดสถาบันการเงินอีกหลายประเภทในการช่วยระดมทุนในการพัฒนาประเทศ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

เอาเงินไปฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หรือไม่, เอาเงินไปฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หรือไม่ หมายถึง, เอาเงินไปฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หรือไม่ คือ, เอาเงินไปฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หรือไม่ ความหมาย, เอาเงินไปฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หรือไม่ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu