ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

จากอำแดงถึงนาง?, จากอำแดงถึงนาง? หมายถึง, จากอำแดงถึงนาง? คือ, จากอำแดงถึงนาง? ความหมาย, จากอำแดงถึงนาง? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

จากอำแดงถึงนาง?

nbsp nbsp nbsp nbsp อ่านข่าวที่สตรีบางกลุ่มเสนอให้เปลี่ยนคำนำหน้านามสตรีเสียใหม่ มิให้ใช้คำที่บ่งบอกสถานะว่าโสดหรือแต่งงานแล้ว ดังที่ใช้คำนำหน้านามสตรีว่า นางสาว และ นาง อย่างในปัจจุบัน พลอยทำให้อยากรู้ว่า เท่าที่ผ่านมาเรามีคำนำหน้าสตรีกี่คำ ldquo ซองคำถาม rdquo จะรวบรวมมาให้ได้หรือไม่มีคำว่า อำแดง คำหนึ่งละทีเป็นคำเก่าแก่ ฟังแล้วน่ารักดีออก นารี ผู้ซึ่งไม่อยากใช้คำว่านาง nbsp กรุงเทพฯ

คำตอบ

            ข่าวที่คุณนารีกล่าวถึงนั้นได้ยินได้ฟังมานานแล้ว ล่าสุดเป็นข้อเสนอของคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ ว่าควรจะมีการเปลี่ยนคำนำหน้านามสตรีเสียใหม่แต่ก็ยังคิดหาคำที่เหมาะสมไม่ได้ ทราบว่าขณะนี้กำลังตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อหาคำนำหน้านามสตรีที่เหมาะสมเท่าที่ผ่านมามีผู้เสนอหลายคำ เช่น “ น quot   เลียนแบบ Ms ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นคำนำหน้านามสตรีโดยไม่เจาะจงว่าสตรี ผู้นั้นแต่งงานแล้วหรือไม่ “ นาถ quot   quot นารี ”   เป็นต้น             quot ซองคำถาม ” อยากจะเสนอบ้าง คือน่าจะใช้ “ นาง quot นั่นแหละเรียกสตรีทั้งที่ยังเป็นโสดและแต่งงานแล้ว เพราะคำนี้เป็นคำเก่าที่เราใช้กันมานานแล้วดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกและในวรรณคดีของไทยก็ล้วนแต่เรียกตัวละครสตรีในเรื่องว่า   “ นาง ” ทั้งสิ้น   อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ               คำนำหน้านามสำหรับสตรีไทยนั้นมีหลากหลาย นววรรณ   พันธุเมธา ให้รายละเอียดไว้ในวารสารศิลปกรรมปริทรรศน์ ปีที่ ๗ เล่ม ๓   ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๕ ดังนี้             คำนำหน้านามสตรีสมัยรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีปรากฏใน ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่าง ๆ พ ศ ๒๔๐๔ มีรายละเอียดเกี่ยวกับคำนำหน้านามสตรีดังนี้             ถ้าสตรีที่เป็นเจ้า   มีคำนำหน้านามตามลำดับชั้น คือ พระองค์เจ้า และ หม่อมเจ้า ถ้าเป็นเจ้าราชนิกุล ใช้คำว่า หม่อม   คุณ   เจ้าคุณ   ถ้าเป็นสตรีที่เนื่องในพระราชวงศ์   หรือพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้าที่ถูกถอดยศ ก็ใช้คำว่า   หม่อม             ถ้าเป็นสตรีที่รับราชการ   มีคำนำหน้านามตามหน้าที่และฐานะได้แก่ หม่อมพนักงาน   ท่านเฒ่าแก่   ท้าว   ทนายเรือน             ถ้ามิใช่เจ้า มีคำนำหน้านามตามฐานะของสามี   ซึ่งจะลดหลั่นลงมาตั้งแต่สตรีทีเป็นเจ้าจอมในพระเจ้าแผ่นดิน   จนถึงสตรีที่เป็นภรรยาคนสามัญ   คำนำหน้านามเหล่านี้ได้แก่   เจ้าจอม เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมเถ้าแก่ หม่อม ท่านผู้หญิง ท่าน   อำแดง             ถ้าเป็นหญิงมหันตโทษ ทาส เชลย ซึ่งนับเป็นคนระดับล่างในสังคม มีคำนำหน้านามอย่างไม่ยกย่อง ได้แก่   อี และถ้าเป็นหญิงที่ยังไม่มีสามีหรือเป็นเพียงอนุภรรยา ไม่มีคำนำหน้าชื่อ             หลังจากที่มีประกาศเกี่ยวกับคำนำหน้าชื่อบุคคลต่าง ๆแล้ว คำนำหน้านามสตรีคงจะมีระเบียบอยู่ได้ระยะหนึ่ง แต่ต่อมาก็คงจะฟั่นเฝืออีก ใน พ ศ   ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานพระราชกฤษฎีกาให้ใช้คำนำนามสตรี โดยมีพระราชปรารภว่า คำนำหน้านามสตรีซึ่งใช้เรียกกันในขณะนั้นใช้สลับสับสนกันไม่เป็นระเบียบ             ข้อความในพระราชกฤษฎีกามีโดยย่อว่า สตรีทั่วไปที่ยังไม่มีสามีให้ใช้คำนำหน้านามว่า นางสาว ถ้ามีสามีแล้วใช้คำนำหน้านามว่า นาง ถ้าสามีมีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาหรือชั้นเจ้าพระยาแต่ยังมิได้รับพระราชทานเครื่องยศ และเป็นเอกภรรยาให้ใช้คำนำหน้านามว่า คุณหญิง หรือถ้าเป็นสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน แม้สามีมีบรรดาศักดิ์ต่ำกว่าชั้นพระยา ก็ให้ใช้คำนำหน้านามว่า คุณหญิง             ถ้าสามีมีบรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยาและได้รับพระราชทานเครื่องยศแล้ว ให้ใช้คำนำหน้านามว่า ท่านผู้หญิง             สตรีที่เนื่องในพระราชวงศ์คือหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง แม้เมื่อมีสามีแล้วให้คงใช้บรรดาศักดิ์นำหน้านามของตนเว้นแต่ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศตั้งเป็นท่านผู้หญิงแล้ว จึงให้ใช้บรรดาศักดิ์ท่านผู้หญิงแทน               สตรีที่เป็นหม่อมห้ามเจ้านายและมิได้เนื่องในพระราชวงศ์ให้ใช้คำว่าหม่อมเป็นคำนำหน้านาม             ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยคำนำนามสตรีเพิ่มเติมพระพุทธศักราช ๒๔๖๔ มีข้อความเกี่ยวกับคำว่า คุณ ดังนี้ ข้อ ๑ สตรีที่เป็นนางกำนัล หรือ พนักงาน ถ้าบิดามีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่   “ พระยา quot   ขึ้นไปอย่างหนึ่ง หรือมีความดีความชอบ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าอีกอย่างหนึ่ง ให้ใช้คำนำหน้านามนางกำนัลหรือพนักงานนั้น ๆ ว่า “ คุณ ” ตลอดเวลาที่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณหรือดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อยู่นั้น ข้อ ๒ สตรีที่มีบิดามีบรรดาศักดิ์ดังความข้อ ๑ นั้น ถ้าได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ   ให้มีตำแหน่งเป็นนางกำนัล หรือพนักงานเป็นพิเศษแล้ว   ก็ให้ใช้คำนำนามว่า quot คุณ ” ประดุจเดียวกันตลอดเวลาที่ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพิเศษอยู่นั้น             สรุปแล้วคำนำหน้านามสตรีที่ปรากฏในประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาแล้วมีทั้งสิ้น ๒๐ คำ แต่คำนำหน้านามสตรีที่ใช้กันจริง ๆ   มีมากกว่านั้น เช่น แม่ ยาย หญิง เป็นต้น “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”  

จากอำแดงถึงนาง, จากอำแดงถึงนาง หมายถึง, จากอำแดงถึงนาง คือ, จากอำแดงถึงนาง ความหมาย, จากอำแดงถึงนาง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu