ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

รีดเดอร์ไดเจส?, รีดเดอร์ไดเจส? หมายถึง, รีดเดอร์ไดเจส? คือ, รีดเดอร์ไดเจส? ความหมาย, รีดเดอร์ไดเจส? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

รีดเดอร์ไดเจส?

nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp ldquo ซองคำถาม rdquo มีประวัติความเป็นมาของหนังสือรีดเดอร์ไดเจสหรือไม่ nbsp ตอนนี้ผมกำลังฝึกฝนการอ่านภาษาอังกฤษจากหนังสือเล่มนี้อยู่ nbsp เพราะอ่านง่าย มีเนื้อหาหลากหลาย ชอบใจแนวคิดของหนังสือเล่มนี้ที่ย่อยเรื่องราวจากนิตยสารต่าง ๆ มารวมไว้ในฉบับเดียวกัน จ๊วด กรุงเทพฯ

คำตอบ

        เดอวิท วอลเลส   ลูกชายของพระนิกายเพรสไบทีเรียนจากเมืองเซนต์พอล   รัฐมินเนสโซตา   เกิดความคิคที่จะทำนิตยสารสำหรับครอบครัวเล่มเล็ก ๆ ที่ย่อยบทความดี ๆ จากที่ต่าง ๆ เขาคำนวณว่าอย่างดีที่สุดนิตยสารเล่มนี้คงทำรายได้ราว ๕ ๐๐๐ ดอลลาร์ต่อปี   วอลเลส เชื่อว่าคนส่วนใหญ่อยากรอบรู้ทันสถานการณ์ แต่ไม่มีผู้อ่านคนใดในปี ค ศ ๑๙๒๐ มีเวลาและเงินมากพอจะอ่านนิตยสารนับสิบ ๆ ฉบับที่ออกมาทุกสัปดาห์ วอลเลส อาสาคัดเลือกบทความเด่น ๆ ย่อยให้อ่านง่ายแล้วรวบรวมลงพิมพ์ในนิตยสารเล่มกะทัดรัดเท่ากับนวนิยายขนาดสั้น         วอลเลสตระเตรียมดัมมีของเขาจากนิตยสารต่าง ๆ ที่ออกจำหน่ายแล้ว   เขาทำนิตยสารฉบับทดลองขึ้น   ๒๐๐ เล่ม   ให้ชื่อว่า   quot รีดเดอร์ไดเจส ” แล้วส่งไปให้สำนักพิมพ์ทั้งหลายในรัฐนิวยอร์กรวมทั้งผู้ที่อาจจะให้ความสนับสนุนอีกหลายคน   ไม่มีใครแสดงความสนใจต่อนิตยสารของเขาเลยแม้แต่น้อย   ดังนั้นวอลเลสและคู่หมั้นของเขา   ไลลา   เบล   เอชสัน   ซึ่งก็เป็นลูกสาวของพระนิกายเพรสไบทีเรียนเช่นเดียวกัน จึงตัดสินใจเช่าสำนักงานในหมู่บ้านกรีนวิช   รัฐนิวยอร์ก   และก่อตั้งสมาคมรีดเดอร์ไดเจสขึ้นทั้งสองช่วยกันสรุปย่อบทความในนิตยสารต่าง ๆ   โรเนียวจดหมายเวียนเชิญชวนให้บอกรับเป็นสมาชิกรีดเดอร์ไดเจส แล้วส่งจดหมายทางไปรษณีย์ไปยังคนหลายพันคนในวันที่ ๑๕   ตุลาคม ๑๙๒๑ ซึ่งเป็นวันแต่งงานของเขา อีก ๒ สัปดาห์ต่อมาเมื่อทั้งสองกลับจากการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์   พวกเขาพบว่ามีผู้อ่านสมัครเป็นสมาชิกเข้ามาแล้วถึง ๑ ๕๐๐ ราย โดยแต่ละคน จ่ายเงินค่าสมาชิก ๓ ดอลลาร์ วอลเลสกับไลลาจึงเริ่มเดินหน้าทำนิตยสารรีดเดอร์ไดเจสฉบับแรก   ตีพิมพ์ออกจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ ๑๙๒๒         ปัญหาที่ไม่คาดคิดติดตามมาพร้อม ๆ กับความสำเร็จตอนแรกนิตยสารอื่นก็ยินยอมให้รีดเดอร์ไดเจสนำบทความไปตีพิมพ์ซ้ำโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ การตีพิมพ์บทความซ้ำถือเป็นการช่วยเผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสาธารณชนแต่เมื่อยอดจำหน่ายของนิตยสารน้องใหม่นี้พุ่งขึ้นเรื่อย   ๆ   รีดเดอร์ไดเจสจึงถูกมองว่าเป็นคู่แข่งที่มาแย่งรายได้จากค่าโฆษณารวมทั้งจำนวนผู้อ่าน ในไม่ช้านิตยสารชั้นนำของประเทศหลายฉบับต่างพากันปฏิเสธที่จะให้นำบทความของตนไปลงพิมพ์ซ้ำในรีดเดอร์ไดเจส         ในปี ๑๙๓๓ เพื่อคงไว้ซึ่งลักษณะเฉพาะของความเป็นนิตยสารที่ประมวลใจความสำคัญเพื่อผู้อ่าน   เดอวิท   วอลเลสจึงสร้างวิธีปฏิบัติใหม่ขึ้นในวงการหนังสือ   ซึ่งก่อให้เกิดข้อโต้แย้งอย่างกว้างขวาง   ก่ลาวคือ เขาทำข้อตกลงกับนักเขียนโดยตรงจ่ายเงินให้สำหรับบทความที่เขียนลงในนิตยสารอื่น   โดยมีเงื่อนไขว่า รีดเดอร์ไดเจสจะได้รับสิทธิในการตีพิมพ์บทคัดย่อของบทความนั้น ๆ การกระทำของวอลเลส ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากสำนักพิมพ์ใหญ่ ๆ ว่า เป็นการสกัดกั้นความคิดอิสระในการสร้างสรรค์งานเขียน ทั้งยังชี้นำและกำหนดเนื้อหาของนิตยสารฉบับอื่น วิธีปฏิบัตินี้เลิกไปในช่วง ค ศ ๑๙๕๐-๑๙๕๙   ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รีดเดอร์ไดเจสมีรายได้ ๓๐ ล้านดอลลาร์ต่อปี   มากกว่าที่วอลเลส คาดคะเนไว้ก่อนจะทำนิตยสารเล่มนี้ถึง ๖ ๐๐๐ เท่า เมื่อถึงทศวรรษถัดมา ยอดจำหน่ายของ รีดเดอร์ไดเจส สูงถึง ๑๕ ล้านฉบับ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”  

รีดเดอร์ไดเจส, รีดเดอร์ไดเจส หมายถึง, รีดเดอร์ไดเจส คือ, รีดเดอร์ไดเจส ความหมาย, รีดเดอร์ไดเจส คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu