ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วัดเบญจมบพิตรไม่ใช่วัดประจำรัชกาลที่ ๕?, วัดเบญจมบพิตรไม่ใช่วัดประจำรัชกาลที่ ๕? หมายถึง, วัดเบญจมบพิตรไม่ใช่วัดประจำรัชกาลที่ ๕? คือ, วัดเบญจมบพิตรไม่ใช่วัดประจำรัชกาลที่ ๕? ความหมาย, วัดเบญจมบพิตรไม่ใช่วัดประจำรัชกาลที่ ๕? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

วัดเบญจมบพิตรไม่ใช่วัดประจำรัชกาลที่ ๕?

ผมฟังรายการวิทยุ ชื่อ ldquo Sat and Sun rdquo ท้วงว่า ที่ ldquo ซองคำถาม rdquo ตอบว่า วัดเบญจมบพิตรเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๕ nbsp นั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ ldquo ซองคำถาม rdquo ช่วยตรวจสอบข้อมูลด้วยครับ อรรถ สัมฤทธิมรรค จ นนทบุรี

คำตอบ

                    “ ซองคำถาม ” ตรวจสอบข้อมูลแล้ว ได้ความดังนี้                     หนังสือของกรมศิลปากรและกรมการศาสนาหลายเล่มระบุตรงกันว่า วัดประจำรัชกาลที่ ๕ คือวัดราชบพิธ แต่หนังสืออีกหลายเล่ม โดยเฉพาะแบบเรียนวิชาสังคมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการได้ตรวจแล้วและอนุญาตให้ใช้ในโรงเรียนได้ บอกว่าวัดประจำรัชกาลที่ ๕ คือ วัดเบญจมบพิตร ทั้งนี้เพราะมีข้อมูลบางประการที่ชวนให้เข้าใจผิดไปเช่นนั้น เริ่มกันตั้งแต่ประวัติการสร้างวัดเบญจมบพิตรทีเดียว                     วัดเบญจมบพิตร เดิมเป็นวัดเก่าแก่เล็ก ๆ ชื่อว่า quot วัดแหลม quot เพราะอยู่ปลายแหลมที่สวนติดต่อกับทุ่งนา และมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ วัดไทรทอง ” เพราะมีต้นไทรทองปรากฏอยู่ ต่อมาเมื่อปี พ ศ ๒๓๗๐ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภู- เบนทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงตั้งกองทัพรับขบถเจ้าอนุวงศ์ที่วัดนี้ หลังเสร็จจากการ ปราบขบถเจ้าอนุวงศ์แล้ว ได้มีศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้น   โดยร่วมกับพระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องเธออีกสี่พระองค์ คือ                       ๑ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์                     ๒ กรมหลวงภูวเนตรนรินฤทธิ์                     ๓ พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล                     ๔ พระองค์เจ้าหญิงวงศ์                     การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ได้ซ่อมแซมเสนาสนะเดิมของวัดเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นได้ทรงสร้างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ห้า องค์เรียงรายด้านหน้าวัดด้วย ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “ วัดเบญจบพิตร ” หมายถึง quot วัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ ”                     สมัยรัชกาลที่ ๕ ปี พ ศ ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างสวนดุสิต พร้อมกับพระราชวัง ดุสิตขึ้นในที่ดินตอนเหนือของวัดเบญจบพิตร ทำให้สถานที่สร้างสวนดุสิตมีบริเวณกินเนื้อที่วัดดุสิตและวัดปากคลองร้าง ประ กอบกับวัดเบญจบพิตรกำลังทรุดโทรม   พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะสถาปนาขึ้นให้เป็นวัดใหญ่และให้มีความสวยสง่างาม ที่สุด จึงทรงสถาปนาวัดเบญจบพิตรขึ้นใหม่ โดยวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๔๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สม เด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นประธานออกแบบวางแผนผังและควบคุมดำเนินการก่อสร้าง วัดใหม่หมด พร้อมกับได้ขยายอาณาเขตวัดให้กว้างลงไปทางใต้เป็นการทดแทนผาติกรรมวัดทั้งสองวัดที่ถูกยุบไปและรวมเป็นเขตพระราชฐานด้วย พร้อมกับทรงเปลี่ยนนามวัดใหม่ว่า “ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ” หมายถึง “ วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ quot                     นอกจากความหมายของชื่อวัดแล้ว อีกประการหนึ่งที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า วัดเบญจมบพิตรเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๕ ก็คือข้อมูลที่ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เชิญพระสรีรังคารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาประดิษฐานในรัตนบัลลังก์พระพุทธชินราช   พระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ในขณะที่พระพุทธอังคีรส พระประธาน ในพระอุโบสถวัดราชบพิธ เป็นที่ประดิษฐานพระสรีรังคารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว                       ส่วนประวัติวัดราชบพิธนั้น เป็นพระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ                       ใต้ฐานบัลลังก์กะไหล่ทองที่ประดิษฐานพระพุทธอังคีรส พระเจ้าวรวงศ์เธอ   กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์     สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้บรรจุพระบรมอัฐิหกพระองค์   ซึ่งเป็นพระบรมอัฐิส่วนที่ทรงได้รับไว้ครอบครองส่วนพระองค์ คือ                       พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย                       พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว                     พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว                       พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว                       พระบรมอัฐิสมเด็จพระศรีสุลาลัย                       และพระบรมอัฐิสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร                                             ครั้นเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์   เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ ศ ๒๔๗๕ ได้ปรากฏว่าเจ้านายฝ้ายในหลายพระองค์ที่ได้รับส่วนแบ่งพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ เกรงว่าจะไม่สามารถรักษาพระบรมอัฐิไว้ได้อย่างสมพระเกียรติ จึงได้พร้อมใจกันนำมาถวายไว้ที่วัดราชบพิธ และสมเด็จพระสังฆราช โปรดเกล้าฯ ให้บรรจุไว้ใต้ฐานบัลลังก์กะไหล่ทองนี้เช่นกัน                     ให้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์เมื่อ พ ศ ๒๔๑๒ ตามโบราณราชประเพณีนิยมที่สมเด็จพระบรมราชบุพการีได้ทรงบำเพ็ญมา รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างวัดพระเชตุพนฯ รัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างวัดอรุณฯ รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างวัดราชโอรสฯ รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างวัดราชประดิษฐ์ฯ จึงถือว่าวัดราชบพิธเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๕ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงสร้างวัดประจำรัชกาล เพราะทรงเห็นว่าวัดมีอยู่มากแล้วพระองค์จึงทรงรับพระราชปฏิสังขรณ์วัดนี้เสมือนเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ด้วย ดังนั้นวัดราชบพิธจึงถือเป็นวัคประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งพระบรมราชวงศ์จักรีถึงสองพระองค์ ขอบคุณคุณณรงค์   ลัมมกานนท์   ผู้จัดรายการ “ Sat and Sun ” ที่ทักท้วงเรื่องนี้ และขอบคุณคุณอรรถที่แจ้งให้ทราบ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

วัดเบญจมบพิตรไม่ใช่วัดประจำรัชกาลที่ ๕, วัดเบญจมบพิตรไม่ใช่วัดประจำรัชกาลที่ ๕ หมายถึง, วัดเบญจมบพิตรไม่ใช่วัดประจำรัชกาลที่ ๕ คือ, วัดเบญจมบพิตรไม่ใช่วัดประจำรัชกาลที่ ๕ ความหมาย, วัดเบญจมบพิตรไม่ใช่วัดประจำรัชกาลที่ ๕ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu