ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หมอดมยาเป็นใคร ??, หมอดมยาเป็นใคร ?? หมายถึง, หมอดมยาเป็นใคร ?? คือ, หมอดมยาเป็นใคร ?? ความหมาย, หมอดมยาเป็นใคร ?? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

หมอดมยาเป็นใคร ??

วิสัญญีแพทย์ หรือทีชาวบ้านเรียกว่า หมอดมยา มีบทบาทหน้าที่อย่างไร ไม่ลงชื่อ กรุงเทพฯ

คำตอบ

พญ จริยา เลิศอรรฆยมณี อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า วิสัญญีแพทย์ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม quot หมอดมยา ” มีหน้าที่หลักคือ                   ให้การระงับความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยในระหว่างการผ่าตัด คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าเมื่อเข้ามาในห้องผ่าตัดแล้วจะได้รับการ “ ดมยา ” จนหลับใหลไม่รู้สึกตัว อันที่จริงการระงับความเจ็บปวดอาจแบ่งได้เป็น ๒ แบบ แบบหนึ่งให้ยาสลบ คือทำให้หมดสติ และอีกแบบหนึ่งให้ยาชาเฉพาะที่ ทำให้บริเวณที่จะผ่าตัดไม่รู้สึกเจ็บปวด โดยผู้ป่วยไม่หมดสติ                   วิสัญญีแพทย์ในปัจจุบันยังดูแลผู้ป่วยนอกห้องผ่าตัดอีกด้วยเช่น ดูแลผู้ป่วยหนักที่อยู่ในขั้นวิกฤตในหออภิบาล อยู่ในทีมช่วยกู้ชีวิตให้ฟื้นคืนชีพ   ให้การระงับความเจ็บปวดเรื้อรังในผู้ป่วยมะเร็ง   รับปรึกษาเรื่องการใช้เครื่องช่วยหายใจ   และเปิดทางหายใจ   ช่วยลดความกังวลหรือความหวาดกลัวในการทำฟันและการตรวจต่าง ๆ เป็นต้น                   การฝึกอบรมเป็นวิสัญญีแพทย์หลังจากจบแพทยศาสตร์บัณฑิตแล้ว ใช้เวลาศึกษาและปฏิบัติงานในภาควิชาวิสัญญีวิทยาของโรงเรียนแพทย์อีก ๓ ปี แล้วจึงสอบวุฒิบัตรวิสัญญีวิทยาซึ่งอนุมัติโดยแพทยสภา สำหรับราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยนั้น   เป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐาน ควบคุมดูแลการฝึกอบรมและจัดการศึกษาต่อเนื่องสำหรับวิสัญญีแพทย์   ตลอดจนเป็นตัวแทนแพทย์ไทยในชุมชนวิสัญญีแพทย์ของโลกในปัจจุบัน   จำนวนวิสัญญีแพทย์ในประเทศไทยยังน้อยเมื่อเทียบกับประชากร   จึงมีการฝึกอบรมวิสัญญีพยาบาลหลักสูตร ๑ ปี เพื่อปฏิบัติงานภายใต้การดูแลของศัลยแพทย์                   นอกจากต้องมีความรู้ความสามารถเหมาะสมเพียงพอและทันสมัยแล้ว วิสัญญีแพทย์ต้องมีการตัดสินใจที่ฉับไว เนื่องจากภาวะผิดปรกติที่เกิดกับผู้ป่วยต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว เช่น   ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น   ภาวะช็อก   เป็นต้น   ต้องสามารถสื่อความหมายให้ผู้ป่วยเข้าใจ   ร่วมมือ   และปลอดจากความกังวลเพราะผู้ป่วยไทยจำนวนไม่น้อยหวาดกลัวการดมยาสลบ และอาจมีความเข้าใจผิด ๆ ว่า การดมยาสลบทำให้เกิดผลเสียต่อระบบสมองและความจำ ในห้องผ่าตัด   วิสัญญีแพทย์หรือวิสัญญีพยาบาลจะเป็นเพื่อนผู้ป่วย คอยดูแลผู้ป่วยตลอดเวลาแม้ในขณะหมดสติ โดยวัดความดันเลือดและชีพจร สังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และดูแลออกชิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ เป็นต้น                   ว่ากันว่าในสมัยก่อนการแพทย์แผนปัจจุบัน   ศัลยแพทย์เริ่มต้นมาจากช่างตัดผมซึ่งใช้มีดช่วยบ่งฝีและทำแผลเล็ก ๆน้อย ๆ ถ้าเป็นการผ่าตัดใหญ่ต้องทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวน้อยลงเช่น   ดื่มเหล้า กินฝิ่น หรือให้ผู้ช่วยหลาย ๆ คนจับแขนขาผู้ป่วยตรึงไว้ไม่ให้สู้หรือหนี แล้วจึงจะทำการผ่าตัดได้                   ในปี พ ศ ๒๓๙๐ นายแพทย์แซมมวล   เรย์โนลต์ เฮาส์ SamueI ReynoldS House ได้ใช้ยาสลบอีเทอร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย   และอาจจะเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชียด้วย โดยท่านทำหน้าที่เป็นศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์ไปพร้อมกันด้วย                   เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีวิสัญญีแพทย์ในประเทศไทย ศัลยแพทย์ยังทำหน้าที่เช่นนี้เรื่อยมาโดยมีพยาบาลและคนงานเป็นผู้ช่วย จนกระทั่งมีการส่งแพทย์ไปฝึกอบรมด้านวิสัญญีวิทยาโดยตรงที่ต่างประเทศ และแยกหน่วยงานออกจากภาควิชาศัลยศาสตร์เป็นภาควิชาวิสัญญีวิทยาครั้งแรกในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อ พ ศ ๒๕๐๘ ในยุคนั้นอุปกรณ์ต่าง ๆ มีน้อยแพทย์ต้องช่วยกันผลิตเครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างเอง   “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

หมอดมยาเป็นใคร ?, หมอดมยาเป็นใคร ? หมายถึง, หมอดมยาเป็นใคร ? คือ, หมอดมยาเป็นใคร ? ความหมาย, หมอดมยาเป็นใคร ? คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu