ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ศิลาแลงเกิดขึ้นได้อย่างไร?, ศิลาแลงเกิดขึ้นได้อย่างไร? หมายถึง, ศิลาแลงเกิดขึ้นได้อย่างไร? คือ, ศิลาแลงเกิดขึ้นได้อย่างไร? ความหมาย, ศิลาแลงเกิดขึ้นได้อย่างไร? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ศิลาแลงเกิดขึ้นได้อย่างไร?

มีข้อสงสัยว่า nbsp ศิลาแลงที่นำมาก่อสร้างตามโบราณสถานต่าง ๆ นั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร นิ้งหน่อง จ นนทบุรี

คำตอบ

          ศิลาแลงมีความแปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือเมื่อขุดขึ้นมาใหม่ ๆ   จะมีความหยุ่น ต่อเมื่อสัมผัสอากาศจึงแข็งตัว           ศิลาแลงเกิดในเขตที่มีอากาศร้อนชื้น   เช่นประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคใต้   ทั้งนี้เนื่องจากมีอุณหภูมิและความชื้นสูงทำให้เกิดการละลายและการชะล้างของแร่ธาตุต่าง ๆ ออกไปจากดินมาก ยังคงเหลือพวกสารประกอบของแร่เหล็ก แมงกานีสและอะลูมิเนียมสะสมอยู่ในดินมาก แร่เหล่านี้จะสะสมกันหนาแน่นบริเวณเหนือระดับ น้ำใต้ดิน การจบตัวของแร่ทั้ง ๓ ชนิดกับดินมีความแน่นมาก เรียกว่า “ ดินแลง quot   ลักษณะของดินแลงมีสีแดงสลับขาว เมื่อขุดดินนี้ขึ้นมาอาจใช้เครื่องมือตัดตกแต่งเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ง่าย ภายหลังเมื่อทิ้งก้อนดินแลงให้สัมผัสกับอากาศนาน ๆ จะแข็งแกร่งเรียกว่า “ ศิลาแลง ” ดินแลงซึ่งสัมผัสกับอากาศโดยการสึกกร่อนของผิวดินหรืออากาศแทรกซึมเข้าไปในดินใต้ ทำให้ดินแลงแข็งแกร่งไปเองตามธรรมชาติมีรูปร่างเป็นก้อนลักษณะต่าง ๆ ปนอยู่กับดิน เรียกก้อนที่แข็งนี้ว่า “ ลูกรัง ” ถ้ามีดินปนอยู่ด้วยเรียกว่า “ ดินลูกรัง ”           ศิลาแลง นำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอุโบสถ วิหารและเจดีย์ในสมัยโบราณ ศิลาแลงจะใช้เป็นส่วนก่อสร้างที่ไม่ต้องการความประณีต เพราะนำมาสลักไม่ได้ เนื่องจากเนื้อศิลาแลงมีรูพรุนทั่วไป ใช้ในการก่อสร้างผนังกำแพงหรือส่วนที่ถือปูน   สิ่งก่อสร้างสมัยทวารวดีและศรีวิชัยในภาคใต้ส่วนมากจะใช้ศิลาแลงเป็นส่วนประกอบ สิ่งก่อสร้างสมัยสุโขทัยก็ใช้ศิลาแลงเป็นอันมาก ปัจจุบันใช้ศิลาแลงกันน้อย แต่จะใช้ดินลูกรังกันมาก ส่วนมากนำมาใช้ถมที่ทำพื้นถนน “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

ศิลาแลงเกิดขึ้นได้อย่างไร, ศิลาแลงเกิดขึ้นได้อย่างไร หมายถึง, ศิลาแลงเกิดขึ้นได้อย่างไร คือ, ศิลาแลงเกิดขึ้นได้อย่างไร ความหมาย, ศิลาแลงเกิดขึ้นได้อย่างไร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu