ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

แนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน, แนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง, แนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน คือ, แนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน ความหมาย, แนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
แนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน

          การบริหารราชการแผ่นดินมี ๒  แนวทางคือ 
          ๑. รัฐมนตรีแต่ละคนแยกกันปฏิบัติภารกิจไปตามสายงานของตนในกระทรวงที่ตนรับผิดชอบ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขก็ดูแลกิจการภายในกระทรวง ดูแลการอนุมัติงบประมาณโครงการ การแต่งตั้งโยกย้าย และกำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายในสายงานการแพทย์สาธารณสุข สุขภาพอนามัย 
          ๒. ในกิจการบางเรื่อง รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งไม่อาจอนุญาต อนุมัติ หรือเห็น-ชอบได้เอง จำเป็นต้องเสนอเรื่องให้ที่ประชุม คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่วมกันตามที่กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี หรือระเบียบอย่างใดอย่างหนึ่งกำหนดไว้ ในกรณีเช่นนี้ต้องจัดให้มีการ ประชุมคณะรัฐมนตรีตามหลักเกณฑ์ดังนี้
          (๑) วันเวลาประชุม ให้เป็นไปตาม ที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีกำหนด ปกติจะนัดประชุมทุกวันอังคารเวลาเช้าเป็นต้นไป เพื่อสะดวกแก่การที่รัฐมนตรีต้องไปร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันพุธ วันพฤหัสบดี และร่วมประชุมวุฒิสภาในวันศุกร์  
          (๒) สถานที่ประชุม ปกติจะนัดประชุมในทำเนียบรัฐบาล ปัจจุบันประชุม ที่อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แต่คณะรัฐมนตรีอาจนัดประชุมนอกสถานที่ก็ได้ ดังที่รัฐบาลบางสมัยเคยจัดประชุมในต่างจังหวัดมาแล้ว เช่น สมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เคยจัดประชุมที่บ้านพักรับรองแหลมแท่น บางแสน จังหวัดชลบุรี สมัย พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เคยจัดประชุมที่จังหวัดสงขลา เชียงใหม่ และขอนแก่น สมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เคยจัดประชุมที่จังหวัดนครราชสีมา และเชียงราย สมัย พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เคยจัดประชุม ที่จังหวัดเชียงใหม่ และศรีสะเกษ เป็นต้น ซึ่งมีผู้เรียกว่า "การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร" 
          (๓) ผู้เข้าร่วมประชุม คือ รัฐมนตรี ทุกคน ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี อาจอนุญาตให้ข้าราชการประจำชั้นผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องบางคน มาร่วมประชุมและให้ข้อมูลหรือชี้แจงต่อที่ประชุมก็ได้  
          (๔) เรื่องที่ประชุม คณะรัฐมนตรีจะรับทราบ หรือพิจารณาเรื่องที่มีกฎหมายมติคณะรัฐมนตรี กฎ หรือระเบียบกำหนดให้ต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี บางเรื่องจะเป็นการเสนอเพื่อให้คณะรัฐมนตรี รับทราบเท่านั้น แต่บางเรื่องต้องให้คณะรัฐ- มนตรีพิจารณาเห็นชอบ อนุญาตหรืออนุมัติ  
          (๕) มติคณะรัฐมนตรี ผลจากการพิจารณาและลงมติของคณะรัฐมนตรี เรียกว่า มติคณะรัฐมนตรี มตินั้นไม่ใช่กฎหมาย แม้อาจมีผลเป็นการให้ไปออกกฎหมายก็ตาม  แต่มติคณะรัฐมนตรีก็มีความสำคัญ เพราะเป็นคำสั่งหรือผลการพิจารณาวินิจฉัยของผู้มีอำนาจสูงสุดในทางบริหาร ดังนั้น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในฝ่ายบริหารจึงต้องปฏิบัติตาม มิฉะนั้น อาจเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ในขณะเดียวกัน แม้มติคณะรัฐมนตรีจะสั่งการให้ประชาชนทั่วไปปฏิบัติตามโดยตรงไม่ได้  แต่ก็อาจจะมีผลกระทบต่อประชาชนในทางอ้อม เช่น ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ก็จะไม่ได้รับความสะดวก หรือเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงเป็นเรื่องที่บุคคลควรรู้ และทำความเข้าใจมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจการงานของตน  
          มติคณะรัฐมนตรีจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายไม่ได้ มติคณะรัฐมนตรีทั้งหลาย  ปกติแล้วจะมีการเปิดเผยทั่วไปหรือตรวจสอบได้ และมีการแถลงมติสำคัญทุกครั้งที่การประชุมสิ้นสุดลง ส่วนมติอื่นๆที่ไม่มีการแถลง ผู้ที่สนใจอาจขอทราบข้อมูล หรือตรวจสอบได้ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือส่วนราชการที่เป็นฝ่ายมีคำขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา จนมีมติคณะรัฐมนตรีนั้นๆ

แนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน, แนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง, แนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน คือ, แนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน ความหมาย, แนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu