ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การควบคุมและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน, การควบคุมและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง, การควบคุมและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน คือ, การควบคุมและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน ความหมาย, การควบคุมและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การควบคุมและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน

          การบริหารราชการแผ่นดินนั้น มิใช่ว่าจะดำเนินการอย่างใดก็ได้ หากแต่จะต้องบริหารไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์กรต่างๆ ดังนี้ 
          ๑. คณะรัฐมนตรีต้องบริหารราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา 
          ๒. รัฐมนตรีแต่ละคนต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตนตามสายงานที่ตนได้รับมอบหมายให้ดูแล และต้องรับผิดชอบร่วมกันทั้งคณะต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี แม้ตนจะไม่ได้รับผิดชอบในสายงานนั้นก็ตาม แต่เมื่อ เป็นนโยบายทั่วไปหรือเป็นมติคณะรัฐมนตรีแล้วก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน 
          ๓. การรับผิดชอบ หมายถึง การที่สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาอาจใช้อำนาจควบคุมการบริหารราชการได้ดังนี้  
          (๑) ตั้งกระทู้ถามให้ตอบเป็น ลายลักษณ์อักษรในราชกิจจานุเบกษา หรือตอบด้วยวาจาในที่ประชุมสภา  
          (๒) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจเข้าชื่อยื่นญัตติเพื่อเปิดอภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจ  
          (๓) สมาชิกวุฒิสภาอาจเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลง ข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ 
          ๔. หากรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีบริหารประเทศหรือมีมติสั่งการใดเป็นความผิดต่อกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ อาจมีการฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีแพ่ง คดี อาญา หรือคดีปกครอง และอาจมีการยื่นเรื่องให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณา วินิจฉัย เป็นต้น 
          ๕. ถ้าปรากฏว่านายกรัฐมนตรีหรือ รัฐมนตรีมีพฤติการณ์ ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไป ในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการ ยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๔ ของจำนวนสมาชิกสภาเท่าที่มีอยู่ หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ คน อาจเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวน หากมีมูลก็จะได้ส่งเรื่องให้วุฒิสภามีมติถอดถอนต่อไป 
          ๖. นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องยื่น บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน ตลอดจนคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภายใน ๓๐ วัน เมื่อเข้ารับตำแหน่ง เมื่อพ้นจากตำแหน่ง และเมื่อ พ้นจากตำแหน่งแล้วเป็นเวลา ๑ ปี (รวมแล้วต้องยื่น ๓ ครั้ง)

การควบคุมและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน, การควบคุมและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง, การควบคุมและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน คือ, การควบคุมและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน ความหมาย, การควบคุมและการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu