ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ผู้พิพากษาสมทบ?, ผู้พิพากษาสมทบ? หมายถึง, ผู้พิพากษาสมทบ? คือ, ผู้พิพากษาสมทบ? ความหมาย, ผู้พิพากษาสมทบ? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ผู้พิพากษาสมทบ?

เคยได้ยินว่าการพิจารณาของศาลในบางคดี จะมีผู้พิพากษาสมทบเข้าร่วมพิจารณาคดีด้วย อยากทราบว่าผู้พิพากษาสมทบคือใคร มีบทบาทหน้าที่อย่างไร จุ๋งจิ๋ง กรุงเทพฯ

คำตอบ

                  ในการดำเนินคดีกับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด ศาลเยาวชนและครอบครัวมีบทบัญญัติให้ศาลคำนึงถึง สวัสดิภาพและอนาคตของเด็กและเยาวชนซึ่งควรจะได้รับการฝึกอบรมสั่งสอน และสงเคราะห์ให้กลับตัวเป็นพลเมืองดี   ยิ่งกว่าการลงโทษ ดังนั้นจึงมีการคัดเลือกตัวผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวอย่างรอบคอบ โดยยึดหลักว่า “ จะต้องเป็นผู้ซึ่งมีอัธยาศัยดี และมีความประพฤติเหมาะสมที่จะปกครองและอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชน ”                   แม้จะมีการคัดเลือกตัวบุคคลผู้เหมาะสมมาทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วก็ตาม ก็อาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ เพราะบุคคลผู้เป็นผู้พิพากษาที่ได้รับการคัดเลือกดังกล่าว อาจจะยังคงติดวิธีการหรือแนวความคิดที่มุ่งมั่นหรือมองปัญหาไปในด้านตัวบทกฎหมายเพียงอย่างเดียวโดยลืมคำนึงถึงปัญหาเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนนั้น หรืออาจจะขาดความรู้ความเข้าใจในความรู้สึกของเด็กและเยาวชนนั้นได้เช่น ผู้ขาดประสบการณ์ในการมีครอบครัว เป็นต้น กฎหมายจึงได้บัญญัติให้มีผู้พิพากษาสมทบขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อต้องการให้มีบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่นักกฎหมายได้มีโอกาสมองปัญหาเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดนั้นเช่นเดียวกับการมองปัญหาลูกหลานของตนเองพิจารณาหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาตามสภาพและความรู้สึกนึกคิดของบุคคลทั่วไป เพื่อช่วยให้ผู้พิพากษาได้ใช้ดุลพินิจในการมีคำสั่งหรือคำพิพากษา หาแนวทางแก้ไขได้ถูกต้องแท้จริง                   ผู้พิพากษาสมทบ เป็นตำแหน่งซึ่งได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ ศ ๒๕๓๔ ว่า “ ในศาลเยาวชนและครอบครัวทุกศาล   ให้มีผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบ   ตามจำนวนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนด ” มาตรา ๑๖                   และยังมีบทบัญญัติกำหนดว่า   ศาลเยาวชนและครอบครัวต้องมีผู้พิพากษาไม่น้อยกว่าสองคน และมีผู้พิพากษาสมทบอีกสองคน ซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรี   จึงเป็นองค์คณะพิพากษาคดีได้ มาตรา ๒๔                   แต่กฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า “ ผู้พิพากษาสมทบ ” ไว้โดยเฉพาะ ผู้พิพากษาสมทบจึงเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงและได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาสมทบ ผู้พิพากษาสมทบต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ๑   มีอายุไม่น้อยกว่า ๓๐ ปีบริบูรณ์ ๒   มีหรือเคยมีบุตรมาแล้วหรือเคยทำงานเกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์หรือการอบรมเด็กมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ๓   ได้รับการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลเยาวชนและครอบครัวและหน้าที่ตุลาการมาแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ๔ มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการตุลาการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ เว้นแต่ในเรื่องพื้นความรู้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ๕ ไม่เป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาหรือทนายความ ๖ มีอัธยาศัยและประพฤติเหมาะสมแก่การพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว                   ผู้พิพากษาสมทบให้ดำรงตำแหน่งคราวละสามปี แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบวาระให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกได้ ผู้พิพากษาสมทบที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบวาระ ให้คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าผู้พิพากษาสมทบคนใหม่จะเข้ารับหน้าที่บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาสมทบนั้นต้อง ๑ ได้ยื่นใบสมัครต่อศาลเยาวชนและครอบครัวเพื่อสมัครรับการคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาสมทบ ๒ พื้นความรู้ทั่วไปให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง คือ เป็นผู้ได้ประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่าประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญหรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า คือ ชั้น ม ๖ หรือ ม ศ ๓ หรือ ม ๓ หลักสูตรปัจจุบัน “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

ผู้พิพากษาสมทบ, ผู้พิพากษาสมทบ หมายถึง, ผู้พิพากษาสมทบ คือ, ผู้พิพากษาสมทบ ความหมาย, ผู้พิพากษาสมทบ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu